ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ประจาปี 2564

กรุงเทพฯ 18 มิ.ย.-สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยเผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ประจาปี 2564 TMA เผยผลการจัดอันดับฯ โดย IMD ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 28


รายงานข่าวจากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจาปี 2564 โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีขึ้น 1 อันดับจากปี 2563 มาอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจในปีนี้ ทั้งนี้ ผลจากวิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ทำให้คะแนนสุทธิเฉลี่ยของทั้ง 64 เขตเศรษฐกิจลดลงจาก 71.82 ในปี 2563 เหลือเพียง 63.99 จากคะแนนเต็ม 100 ในปี 2564 ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีคะแนนสุทธิในปีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยอยู่ที่ 72.52 โดยลดลงเล็กน้อยจาก 75.39 ในปี 2563

 เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับของไทยในปัจจัยหลัก 4 ด้าน พบว่ามีผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้านเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ประกอบด้วยด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ซึ่งดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 20 ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ที่ดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 23 มาอยู่ที่อันดับ 21 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ซึ่งดีขึ้น 1 อันดับ จากอันดับที่ 44 มาอยู่ที่อันดับ 43 ในขณะที่ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับลดลงถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 21 โดยประเด็นสำคัญมาจากด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 5 เป็นอันดับที่ 21 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกภาคบริการที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักมีอันดับลดลงค่อนข้างมากจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19  ในระดับอาเซียน IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นาถึงแม้จะมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 1 ในปีที่แล้วมาอยู่ในอันดับที่ 5 ในปีนี้ ในขณะที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีอันดับดีขึ้นโดยอยู่ในอันดับที่ 25 และ 37 ตามลาดับ ส่วนฟิลิปปินส์มีอันดับลดลงจากอันดับที่ 45 ไปอยู่ในอันดับที่ 52 ในปีนี้


เมื่อมองภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2564 ได้แก่ อันดับ 1 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 2 สวีเดน อันดับ 3 เดนมาร์ก อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ และอันดับ 5 สิงคโปร์ โดย 4 ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เขตเศรษฐกิจทั้ง 5 ข้างต้น มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในปีนี้ ได้แก่ การ ลงทุนในนวัตกรรม (Innovation) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Digitalization) ระบบสวัสดิการที่ดี (Welfare benefits) และความสมานฉันท์ในสังคม (Social cohesion)

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า “ในปีนี้ถึงแม้ไทยจะยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่ายังคงรักษาสถานการณ์ได้ดีในระดับหนึ่ง ทำให้อันดับความสามารถในการแข่งขันในปีนี้ดีขึ้น 1 อันดับหลังจากที่ลดลงไป 5 อันดับในปีที่แล้ว ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าปัจจัยหลักที่ได้รับผลกระทบคือด้านเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวกว่าด้านอื่นๆ อยู่แล้วเป็นปรกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกทั้งสินค้าและบริการที่มีการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลัก ซึ่งทำให้เราต้องมาคิดทบทวนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศหลังผ่านวิกฤตินี้ไปว่า นอกเหนือจากการเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักแบบดั้งเดิม เราควรจะเร่งพัฒนาธุรกิจภาคบริการสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงและมีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตเช่น ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจที่สร้างทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ”

นอกเหนือจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆ ที่ถึงแม้จะเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ก็ยังคงมีหลายปัจจัยย่อยที่ยังอยู่ในอันดับต่ำ ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ที่ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยย่อยทางสถาบัน (Institutional Framework) และทางด้านสังคม (Societal Framework) ที่มีประเด็นที่สะท้อนผ่านการสำรวจความคิดเห็น ได้แก่ การติดสินบนและการคอร์รัปชั่น การบังคับใช้กฎหมาย ความเสี่ยงจากความขาดเสถียรภาพทางการเมือง การมีโอกาสที่เท่าเทียม นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับอัตราการเกิดอาชญากรรม ความเท่าเทียมระหว่างเพศและบทบาทสตรีในทางการเมือง การกระจายรายได้ และเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นต้น


ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ เรื่องผลิตภาพ (Productivity) ยังคงเป็นประเด็นที่ไทยมีอันดับต่ำทั้งในภาพรวมและทุกภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และภาคบริการ ส่วนในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประเด็นสำคัญด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาที่ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีประเด็นสำคัญในด้านสุขภาพได้แก่ ด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ อัตราส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ ความสิ้นเปลืองของการใช้พลังงาน อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ มลพิษทางอากาศ และการบาบัดน้าเสียและประสิทธิภาพการใช้น้า เป็นของการพัฒนาในด้านอื่นๆ มีประเด็นที่ต้องให้ความสนใจตั้งแต่ในเรื่องของงบประมาณด้านการศึกษา อัตราส่วนครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ไปจนถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่วัดโดยสถาบันต่างๆ อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่านจากการวัดผล PISA ภาษาอังกฤษจากคะแนนเฉลี่ย TOEFL และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูลจาก Time Higher Education เป็น ต้น ทั้งนี้ ในด้านการศึกษาซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญ

   “เรื่องการศึกษาหรือการพัฒนาคนควรเป็นวาระเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาต้องให้ความสำคัญและร่วมมือการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเพื่อเตรียมคนของเราให้พร้อมสำหรับสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลกที่นับวันจะเปลี่ยนแปลงเร็วและแรงยิ่งขึ้น ผมคิดว่าเราตระหนักและมีการพูดถึงเรื่องนี้กันมามากแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องลงมือทำโดยจัดลำดับความสำคัญ เราต้องปลดล็อกข้อจำกัดเพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการสร้างระบบการศึกษาที่มีความคล่องตัวสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของโลกได้อย่างทันสถานการณ์มากยิ่งขึ้น” นายธีรนันท์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน