“ภูเก็ต” ศูนย์กลางการล่องเรือยอชต์ในเอเชีย

“ภูเก็ต” ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลก โดยธุรกิจเรือยอชต์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ดึงดูดเม็ดเงินเข้าสู่ จ.ภูเก็ต และประเทศไทย ปีละนับหมื่นล้านบาท

Over 200 Rohingya arrive by boat in Indonesia

โรฮีนจากว่า 200 คน ล่องเรือขึ้นฝั่งอินโดนีเซีย

เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียแจ้งว่า ชาวโรฮีนจามากกว่า 200 คน ล่องเรือ 2 ลำ มาขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ บนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เมื่อวันอาทิตย์

นายกฯ ล่องเรือชมความงาม “วิจิตรเจ้าพระยา 2024”

“นายกฯ แพทองธาร” นำ ครม. ล่องเรือชม “วิจิตรเจ้าพระยา 2024” หนุนการท่องเที่ยวช่วงปลายปี อยากเห็นคนไทยออกมาเที่ยวชมเยอะๆ

ล่องเรือชมธรรมชาติ 2 ฝั่งคลอง สัมผัสวิถียอยักษ์ชาวพัทลุง

จ.พัทลุง หนุนชุมชนใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว ชวนล่องเรือชมธรรมชาติ 2 ฝั่งคลอง สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านกับ “ยอยักษ์” เครื่องมือประมงพื้นบ้านดั้งเดิม หวังเพิ่มรายได้ควบคู่การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

ลอยกระทงล่องเรือเจ้าพระยา ชมความงดงามพระปรางค์วัดอรุณฯ

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลลอยกระทง ล่องเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ชมความงดงามของพระปรางค์วัดอรุณฯ และบรรยากาศยามค่ำคืน โดยมี จนท.กรมเจ้าท่า ดูแลความปลอดภัยเข้มงวด

ล่องเรือชมธรรมชาติตามสายน้ำอารยธรรมคลองปูลาไซร์

ชวนเที่ยวชิลๆ ล่องเรือชมธรรมชาติตามสายน้ำอารยธรรม “คลองปูลาไซร์” จ.นราธิวาส สัมผัสเสน่ห์ริมน้ำ ชมวิวสองข้างทาง เล่นน้ำคลายร้อน พักผ่อนหย่อนใจ สร้างรายได้ให้ชุมชน

เผยเหตุที่ทำให้โรฮีนจาหนีจากค่ายในบังกลาเทศ

อาเจะห์ 29 พ.ย. – ชาวโรฮีนจาที่หนีจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศมายังอินโดนีเซียเผยสาเหตุที่ยอมเสี่ยงชีวิตล่องเรือนาน 12 วันว่า ต้องการหนีจากการถูกลักพาตัว กรรโชกทรัพย์และถูกฆ่า เฉพาะเดือนพฤศจิกายนนี้เดือนเดียว มีชาวโรฮีนจาล่องเรือมาถึงจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกของอินโดนีเซียมากกว่า 1,000 คน มากที่สุดนับจากปี 2558 ชายโรฮีนจาวัย 27 ปีเผยว่า เขาและอีกหลายคนหนีความโหดร้ายในค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ทั้งในและรอบเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศ ที่ซึ่งมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 1 ล้านคน และแก๊งอาชญากรรมมักก่อเหตุลักพาตัวและทรมานเพื่อเรียกค่าไถ่ เขาถูกแก๊งลักพาตัวเรียกค่าไถ่ 500,000 ตากา (ราว 158,600 บาท) เพื่อนำเงินไปซื้อปืน ไม่เช่นนั้นจะถูกฆ่า ในที่สุดหาเงินไถ่ตัวได้ 300,000 ตากา (ราว 95,200 บาท) เมื่อเดือนตุลาคม จึงรีบหาทางหนีพร้อมกับครอบครัว โดยเสี่ยงชีวิตล่องเรือมาถึงอินโดนีเซียในวันที่ 21 พฤศจิกายน อินโดนีเซียเผยว่า ไม่มีพันธกิจที่จะต้องรับผู้ลี้ภัยจากเมียนมา เพราะไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ แต่เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ไม่ยอมให้เรือโรฮีนจาขึ้นฝั่ง อินโดนีเซียจึงกลายเป็นทางเลือกเดียว ขณะที่คนท้องถิ่นพยายามลาดตระเวนและผลักดันเรือผู้ลี้ภัยออกไป กลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์รายงานในปีนี้ว่า แก๊งอาชญากรรมและแก๊งสาขาของกลุ่มติดอาวุธอิสลามสร้างความหวาดกลัวตอนกลางคืนตามค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ โดยที่ทางการบังกลาเทศไม่ได้ดำเนินการเท่าที่ควร ขณะที่กระทรวงกลาโหมบังกลาเทศเผยว่า […]

บริษัทสิงคโปร์จัดบริการล่องเรือหรูสำหรับแมว

บรรดาทาสแมวในสิงคโปร์ สามารถเอาใจสัตว์เลี้ยงแสนรักด้วยการพาลงเรือหรูล่องชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น พร้อมอาหารเลิศรสที่จัดเตรียมไว้ให้สำหรับเจ้าของแมว

ล่องเรือชิลๆ เที่ยวกรุงเทพฯ ลัดเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า | คู่ข่าวออนทัวร์ กำภู-รัชนีย์ (4 พ.ค.66)

คู่ข่าวออนทัวร์ กำภู-รัชนีย์ (4 พ.ค.66)

-ล่องเรือชิลๆ เที่ยวกรุงเทพฯ ลัดเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า

-ปลาทูนึ่งโฮมเมด ร้านเก่าแก่ วิถีชีวิตที่ซ่อนตัว “คลองด่าน”

-แวะบ้านศิลปิน คลองบางหลวง

สุดว้าว! มนต์เสน่ห์ยามค่ำคืน ล่องเรือแม่น้ำตรังชมหิ่งห้อย

สุดว้าว! มนต์เสน่ห์ยามค่ำคืน ล่องเรือแม่น้ำตรังชมหิ่งห้อยนับแสนตัวระยิบระยับเต็มต้นลำพู เดือนหนึ่งมีให้ชมแค่ 10 วันเท่านั้น

บังกลาเทศเผยพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาแล้ว

ธากา 27 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่รัฐบาลบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เสี่ยงชีวิตล่องเรือไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากมีความกังวลว่าปีนี้อาจมีชาวโรฮีนจาเสียชีวิตกลางทะเลมากที่สุดปีหนึ่ง นายโมฮัมหมัด มิซานูร์ ราห์มาน กรรมาธิการบรรเทาทุกข์และส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยว่า บังกลาเทศพยายามทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งชาวโรฮีนจาไม่ให้เดินทางเสี่ยงอันตราย และจะตระเวนคุยกับแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยเพื่อให้เข้าใจถึงอันตรายของการเสี่ยงล่องเรือ ขณะที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย กองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งได้เฝ้าระวังและจับกุมผู้ที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี เขาคิดว่าชาวโรฮีนจาที่ออกไปเสี่ยงชีวิตกลางทะเลไม่ได้เดินทางออกจากบังกลาเทศทุกคน เพราะสถานการณ์ในเมียนมาเลวร้ายกว่าในค่ายผู้ลี้ภัยมากนัก ชาวโรฮีนจาคนหนึ่งที่เคยเป็นแกนนำกลุ่มในค่ายผู้ลี้ภัยและเดินทางไปถึงมาเลเซียแล้ว แต่ได้กลับมาบังกลาเทศเพื่อมาอยู่กับน้องสาว 2 คน เผยว่า ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้คนล้วนแต่สิ้นหวัง ขณะที่แกนนำชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศ เผยว่า ชาวโรฮีนจาจำนวนมากพร้อมเสี่ยงชีวิตบนเรือของแก๊งค้ามนุษย์ เพราะท้อแท้กับชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัย และไม่มีหวังจะได้กลับบ้าน ชาวโรฮีนจาถูกทอดทิ้งจากประชาคมโลกที่ไม่สามารถกดดันบรรดานายพลในเมียนมา ปัจจุบันมีชาวโรฮีนจาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หลายคนหลบหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 เมื่อกองทัพยกกำลังขึ้นไปปราบปราม สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ประเมินว่า ปีนี้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 2,400 คนล่องเรือหรือพยายามล่องเรือไปยังประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี 2564 ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเหตุใดตัวเลขดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้นมาก บางคนเชื่อว่า อาจเป็นเพราะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด.-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...