fbpx

บีทีเอส ร่อนหนังสือถึงนายกฯ ชะลอประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม

กรุงเทพฯ9 มี.ค.- ไม่จบ!!  บีทีเอส ร่อนหนังสือ 5 หน้า ถึงนายกรัฐมนตรี ร้องให้ตรวจสอบโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี และให้นายกฯสั่งการ รฟม. หยุดทุกการกระทำที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  ในขณะที่ยังมีปัญหาข้อพิพาทอยู่  


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564  นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  หรือบีทีเอส ส่งหนังสือความยาว 5 หน้าถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)  ที่ รฟม.ยกเลิกประมูลและจัดประมูลขึ้นมาใหม่   แม้อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง และมีข้อพิพาท   จึงขอให้นายกรัฐมนตรีได้ สั่งการไปยัง รฟม. ให้หยุดการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นกรณีพิพาทนี้จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป

หนังสือดังกล่าว ระบุว่าตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36  แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2526 (“คณะกรรมการคัดเลือกฯ”) ได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1  ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (“โครงการฯ”)โดยออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 จนเป็นเหตุให้บีทีเอส  มีหนังสือสอบถามและขอความเป็นธรรมถึงบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ จำนวน 5 ฉบับ  แต่ปรากฏว่าบริษัทฯ มิได้รับการชี้แจงในผลการตรวจสอบเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในการดำเนินโครงการฯ แต่อย่างใด


จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 บริษัทฯ ได้ฟ้อง รฟม. และ คณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นคดีปกครอง คดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 เพื่อให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการกระทำทางปกครองและ/หรือคำสั่งทางปกครองทั่วไป และขอให้ศาล

ปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติที่เห็นชอบเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ด้วย ซึ่งศาลปกครองกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งในคดีปกครองดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563โดยศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การแก้ไขวิธีการประเมินข้อเสนอน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของ รฟม. ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มครั้งที่ 1 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

โดยในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 รฟม. มีหนังสือที่ รฟม 007 (คกกสม/ว32 ถึงกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยแจ้งว่า “คดีปกครองดังกล่าวอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา และยังคงกำหนดการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 คือ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่ เวลา 9.00 นาฬิกา – 15.00นาฬิกา และมีกำหนดเปิดซองข้อเสนอซองที่ 1 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ตามเดิม” ทำให้บริษัทฯ ร่วมกับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชิโน – ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุนในโครงการฯ ในนาม กิจการร่วมการค้า บีเอสอาร์ (BSR Join Venture) ตามวันเวลาดังกล่าว


ต่อมาเมื่อวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2564รฟม. ได้ประกาศในเว็บไซต์ WWW.กาrta.co.th ว่า “เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐ รฟม. จึงขอยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว..” และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์  2564 ศาลปกครองสูงสุดได้มีหมายแจ้งว่ารฟม. ได้ขอถอนอุทธรณ์คำสั่งทุเลาฯ และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์ เท่ากับว่าคำสั่งทุเลาฯ ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยไว้ รฟม. ไม่ขอโต้แย้ง

 ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างรอฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองกลาง บริษัทฯ เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวของ รฟม. ไม่ถูกต้องทั้งข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากประเด็นข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่าง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กับบริษัทฯ ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง ซึ่งทุกฝ่ายที่เป็นคู่ความที่เกี่ยวข้องจะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่เป็นที่สุดเสียก่อนเพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง ต่อไป

ดังนั้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องยื่นฟ้อง ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นคดีอาญา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในฐานความผิดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นคดีหมายเลขดำที่ อท 30/2564

 ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าในวันที่ 9 มีนาคม 2564 ระหว่างรอฟังคำพิพากษาของศาลปกครองกลางและการดำเนินกระบวนการทางอาญาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ที่บริษัทฯ ฟ้อง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ว่าได้กระทำความผิด ทาง รฟม.  โดยนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ได้เริ่ม กระบวนการคัดเลือกเอกชนด้วยการประกาศรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนใหม่ โดยให้กรอกความเห็นใน เอกสารตามแบบสอบถามและจัดส่งให้ รฟม. ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ของ รฟม. ตั้งแต่วันที่ 17-19มีนาคม 64 ซึ่งปรากฎว่าข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ มีสาระสำคัญของวิธีการประเมินข้อเสนอ กล่าวคือ “การพิจารณาข้อเสนอของที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม.จะประเมินข้อเสนอซองที่ 2และซองที่ 3 เป็นคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 600 คะแนน แบ่ง

สัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2ข้อเสนอด้านเทคนิค 30คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70คะแนน และนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดจะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด”

 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอในข้างต้น เป็นหลักเกณฑ์เดียวกับหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่ให้ รฟม.นำมาใช้บังคับในการคัดเลือกเอกชน โดยศาลปกครองกลางชี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินข้อเสนอในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ และการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 น่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย…”จากข้อเท็จจริงข้างต้น จะเห็นได้ว่า ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ โดยการออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ก็ดี การยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ รวมถึง การเปิดให้รับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อจัดทำร่างเอกสาร

สำหรับการคัดเลือกเอกชนใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็ดี มิอาจกระทำได้เช่นที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ กำลังดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของโครงการฯ และความล่าช้าที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากการกระทำของ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีมูลเหตุจูงใจที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนทั้งๆที่กรรมการผู้แทนสำนักงบประมาณใน

คณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ร่วมประชุมด้วยได้ทักท้วงแล้วว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญ ต้อง เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีก่อน แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ กลับไม่รับฟัง และยิ่งปรากฏหลักฐานชัดเจน เมื่อ รฟม. ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกขึ้นใหม่ โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ ที่นำเสนอล้วนเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม. ประสงค์จะให้มีการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การกระทำที่ผิดกฎหมายต่างๆ ที่ผ่านมาของ รฟม. และ

คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีจุดประสงค์เพียงเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชน ที่ผ่านความเห็นชอบมาโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว นำไปสู่หลักเกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต้องการ โดยไม่คำนึงว่าหลักเกณฑ์เดิมเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม ไม่เคารพต่อคำสั่งของศาลปกครองกลาง และไม่ใส่ใจต่อคำทักท้วงของสื่อมวลชนที่ติดตามโครงการฯ นี้มาอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ รฟม. ได้เริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนเพื่อนำไปจัดทำร่างประกาศเชิญชวนฯ ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน เพื่อส่งให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ ให้ความเห็นชอบตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562มาตรา 39 โดยไม่เสนอปัญหาที่เกิดขึ้นต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามกฎหมายก่อนว่า กระทำได้หรือไม่ ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร

 เรื่องนี้มีขั้นตอนตามกฎหมาย และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว บริษัทฯ ได้พยายามอย่างที่สุดตามกฎหมาย และประกาศที่บัญญัติไว้ เพื่อระงับยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบของกลุ่มบุคคลดังกล่าว จนนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลฯ  เพื่อให้การประมูลเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม  เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม แต่ปรากฏว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวไม่มีท่าทีที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่เป็นสาระสำคัญโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว และเริ่มต้นกระบวนการคัดเลือกเอกชนใหม่โดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินที่ยังมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทำลายกระบวนการประกวดราคาครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน  ทั้งที่เป็น International Bidding

อีกทั้งการที่ รฟม. ใช้หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอตามที่ปรากฏในข้อมูลสำหรับการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนฯ มีการชี้นำในหัวข้อที่วิธีการประเมินข้อเสนอที่ระบุถึงการใช้คะแนนด้านเทคนิคที่สอดรับกับการแก้ไขหลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัยเป็นเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากปล่อยให้หน่วยงานของรัฐมีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องในลักษณะที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนผู้ลงทุนทั้งภายในประเทศและโดยเฉพาะผู้ลงทุนจากต่างประเทศ จนอาจทำให้ประเทศชาติได้รับความเสื่อมเสียและขาดความน่าเชื่อถือ

บริษัทฯ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2563 ได้โปรดตรวจสอบการกระทำของผู้ว่าการ รฟม. คณะกรรมการคัดเลือกฯ และผู้เกี่ยวข้องตามข้อเท็จจริงรายละเอียดที่นำเสนอข้างต้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากปรากฏผลทางการพิจารณาคดีว่า การกระทำที่ผ่านมาเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามฟ้อง จึงขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้โปรดสั่งการไปยัง รฟม. ให้หยุดการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นกรณีพิพาทนี้จนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชายถูกยิงในซิดนีย์หลังมีรายงานเหตุแทงกันในห้างฯ

ตำรวจของนครซิดนีย์ ของออสเตรเลียรายงานว่า ชายคนหนึ่งถูกยิงที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ในวันนี้หลังมีรายงานข่าวว่า มีผู้ถูกแทงหลายคนในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว

ลำปาง เสาไฟฟ้าแรงสูงล้มกว่า 20 ต้น ทับรถ 7 คัน

พายุฝนถล่มลำปาง เสาไฟฟ้าแรงสูงล้มกว่า 20 ต้น ทับรถ 7 คัน รถยังไม่สามารถออกได้ เจ้าหน้าที่ระดมกำลังเร่งเคลียร์เพื่อสะดวกในการจารจรช่วงสงกรานต์ คาดใช้เวลา 5 วัน พร้อมตั้งศูนย์บัญชาการแก้ปัญหาที่ไทวัสดุแล้ว

แม่ร้องลูกชายโดนกลุ่มโจ๋หัวร้อนรุมทำร้ายกะโหลกศีรษะร้าว

แม่ร้องสื่อลูกชายถูกกลุ่มวัยรุ่นหัวร้อนยกพวกนับสิบรุมทำร้ายจนสลบคาที่ วอนตำรวจเร่งจับตัวกลุ่มวัยรุ่นมาดำเนินคดี

ข่าวแนะนำ

จับตาโผ ครม. ‘เศรษฐา 2’ คาดชัดหลัง 18 เม.ย.นี้

โผปรับคณะรัฐมนตรี ‘เศรษฐา 2’ จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือนพฤษภาคม หลังนายกรัฐมนตรีได้หารือที่พรรคร่วมรัฐบาลแล้ว

ทองทุบสถิติครั้งใหม่ เปิดตลาดขึ้น 600 บาท รูปพรรณทะลุ 42,000 บาท

ทองเปิดตลาด ขึ้น 600 บาท ทองในประเทศทุบสถิติสูงสุดครั้งใหม่ ทองคำแท่ง ขายออก 41,550 บาท ทองรูปพรรณ 42,050 บาท พุ่งตามตลาดโลกและเงินบาทอ่อนค่า

สีสันส่งท้ายสงกรานต์ สุดชุ่มฉ่ำ

เก็บตกสีสันส่งท้ายสงกรานต์ หลายพื้นที่จัดกิจกรรมเล่นน้ำ สุดชุ่มฉ่ำ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเนืองแน่น ช่วงเย็นถึงค่ำคึกคักเป็นพิเศษ