กรุงเทพฯ 10 ก.พ.-ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน ม.ค.64 ลดต่อเนื่องต่ำสุดรอบ 25 เดือน จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ แนะรัฐคุมโควิดให้ได้พร้อมอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือนมกราคม 2564 พบว่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 21.7 จากเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 23.7 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 25 เดือน เนื่องจากปัจจัยการ lockdown พื้นที่เสี่ยงสูง ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาคธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องจากการ lockdown / ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด19 รอบใหม่ ที่มีการระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว และมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ / สศค.ปรับลดการประมาณเศรษฐกิจไทบในปี 2564 โดยคาดว่าจะขายตัวร้อยละ2.8เนื่องจากเศรษฐกิจมีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของฝโควิด-19 รอบใหม่ / ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศประบตัวเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับ 30.094บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.2563 เป็น 30.006 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นเดือน ม.ค.2564 ซึ่งอาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
ส่วนปัจจัยด้านบวก ประกอบด้วย มาตรการของรัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี-ต้นปีหน้าในโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ และเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ประบตัวดีขึ้น / การส่งออกของไทยเดือน ธ.ค.63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 มูลค่าอยู่ที่ 20,082.74ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 มีมูลค่าอยู่ที่ 19,119.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล963.58ล้านดอลลาร์สหรัฐ /set index เดือน ม.ค.64 ประบตัวเพิ่มขึเน 17.63 จุด จาก 1,449.35 ณ สิ้นเดือน ธ.ค.63 เป็น 1,466.98 ณ สิ้นเดือน ม.ค.64 และการเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ของต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐและแนวทางดำเนินการของภาคเอกชน ประกอบด้วย เร่งควบคุมสถานการณ์โควิด-19 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศ /เร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชน /บนรเทาความเดือดร้อนของธุรกิจ และเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่องโดยเน้นและให้ความสำคัญการท่องเที่ยวแบบปลอดเชื้อ / มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ต้องหยุดกิจการเนื่องจากโควิด-19 และ ออกมาตรการและหาแนวทางเพื่อจูงใจการลงทุนนักลงทุนต่างชาติแบบครบวงจร.-สำนักข่าวไทย