หอการค้าไทยย้ำจุดยืน กกร.ค้านค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

9 ธ.ค. – หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ย้ำจุดยืน กกร. ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ชี้ควรขึ้นตามทักษะฝีมือและกลไกไตรภาคี


ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เห็นด้วยกับการกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีความผันผวนและเปราะบาง อันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศและภาคธุรกิจให้ต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายประการ จึงได้มีการส่งจดหมายนำเสนอ แนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ถึงรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น

ดร.พจน์ กล่าวเสริมว่า การดำเนินนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ย่อมไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จังหวัด จึงอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการจ้างงานของทุกภาคธุรกิจที่ใช้แรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการภาคเกษตร ภาคบริการ และภาคธุรกิจในทุกระดับ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งจากการรวบรวมข้อมูลผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐในจังหวัด มากกว่าร้อยละ 90 ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ และร้อยละ 30 มีมติไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้าง


ดังนั้น หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ขอแสดงจุดยืนและข้อเสนอแนะต่อนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของ กกร. ที่ส่งไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567 โดยให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้

  1. หอการค้าฯ ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เพราะการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต้องคำนึงถึงมติของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ซึ่งเป็นการปรับตามตัวเลขที่เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม (The Rule of Law)
  2. หอการค้าฯ มีความคิดเห็นว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อย่างเคร่งครัด สอดคล้องกับแนวทางที่ได้รับการยอมรับมาโดยตลอดจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)โดยใช้กลไกคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด โดยได้มีการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ  ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวม และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความสามารถของประเภทกิจการ/อุตสาหกรรมของแต่ละพื้นที่  ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลและ
    เป็นธรรมโดยทั่วกัน
  3. หอการค้าฯ มีความคิดเห็นว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ควรจะปรับเมื่อมีเหตุจำเป็น และปัจจัยทางเศรษฐกิจบ่งชี้แต่ไม่ควรเกินปีละ 1 ครั้งเท่านั้น และจะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครังเคร่งครัด
  4. หอการค้าฯ สนับสนุนการจ่ายอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงาน (Pay by Skills) ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill , Multi-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) สามารถลดต้นทุนและสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  5. หอการค้าฯ สนับสนุนให้เร่งรัดการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือให้ครบตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติซึ่ง 280 สาขา จากปัจจุบันที่มีการประกาศไว้เพียง 129 สาขา พร้อมทั้งให้มีการขยายสาขาอาชีพมาตรฐานฝีมือรวมทั้งอัตราค่าจ้างตามารฐานฝีมือให้ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับแรงงานไทย
  6. หอการค้าฯ ขอให้รัฐบาลมีมาตรการดูแลค่าครองชีพเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย ตลอดจนเร่งรัดมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ โดยการส่งเสริมมาตรการทางภาษี มาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรการส่งเสริมการปรับปรุงเครื่องมือและเครื่องจักร มาตรการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ฯลฯ เพื่อลดผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น

“การดำเนินนโยบายปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมและเป็นธรรมภายใต้กรอบกฎหมาย และตามมติของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ที่ได้สะท้อนข้อเท็จจริงจากพื้นที่จังหวัด อันเป็นการไม่ลิดรอนสิทธิตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และสร้างความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป” ดร.พจน์ กล่าว.-516-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เร่งล่า 4 คนร้ายซุ่มยิงตำรวจ สภ.ยะรัง เสียชีวิต 2 นาย

เร่งล่า 4 คนร้ายซุ่มยิงตำรวจ สภ.ยะรัง เสียชีวิต 2 นาย ขณะที่ ผบ.ตร. อาลัยตำรวจกล้า สั่งต้นสังกัดดูแลสิทธิประโยชน์ เลื่อนเงินเดือนและชั้นยศ

นักโทษกลับใจ

อดีตนักโทษกลับใจ หลังติดคุก 30 ปี โทรคุยกับพ่อทั้งน้ำตา

อดีตนักโทษชีวิตโตมาในคุก ตั้งแต่อายุ 19 จนตอนนี้ อายุ 49 ปี ร่ำไห้กับตำรวจ ขอให้ช่วยพากลับบ้านที่จากมา 30 ปี ตำรวจโทรศัพท์หาพ่อ ให้ 2 พ่อลูกคุยกันทั้งน้ำตา

ตำรวจจีนพาผู้ต้องสงสัยฉ้อโกง 200 ราย กลับจากเมียนมา

พลเมืองจีน 200 รายที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง ถูกส่งตัวจากเมืองเมียวดีในเมียนมากลับจีนแล้วเมื่อวานนี้ ภายใต้การคุ้มกันของเจ้าหน้าที่ตำรวจจีน

เด็ก 12 สูบบุหรี่ไฟฟ้า-ดื่มน้ำกระท่อม ทำปอดหาย

ย่าช็อก หลานวัย 12 ปี อาการวิกฤติ ปอดหายเกือบทั้งหมด ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังสูบบุหรี่ไฟฟ้าและดื่มน้ำกระท่อมตั้งแต่ ป.4

ข่าวแนะนำ

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทำบุญครบรอบแตงโมเสียชีวิต

เพื่อนสนิททำบุญครบรอบ 3 ปี “แตงโม” เสียชีวิต

กลุ่มเพื่อนสนิทของ “แตงโม ภัทรธิดา” นักแสดงสาวผู้ล่วงลับ จัดพิธีทำบุญครบรอบ 3 ปี การเสียชีวิตของนางเอกคนดัง ที่วัดปากน้ำ ซ.พิบูลสงคราม 1 อ.เมือง จ.นนทบุรี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง