เร่งรถเก่าแลกรถใหม่เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย


กรุงเทพฯ 26 พ.ย. – สุริยะ เผยรถเก่าแลกรถใหม่ จะเป็นนโยบายที่ออกมาเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทย ส่วนเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว นโยบายรถเก่าแลกรถใหม่อยู่ระหว่างพิจารณามาตรการที่เป็นรูปธรรมโดยจะต้องหารือกับค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ด้วย โดยเชื่อว่า นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ จะเร่งรัดโครงการนี้ออกมาให้ทันเป็นของขวัญปีใหม่นี้ พร้อมมองว่า รองนายกรัฐมนตรีดูแลกระทรวงการคลังอยู่แล้วเมื่อออกนโยบายมา ก็จะสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว


นายสุริยะ กล่าวด้วยว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และเชื่อว่า การที่สหรัฐฯได้นายโจ ไบเดนมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ และได้แถลงนโยบายชัดเจนว่า ไม่เน้น นโยบายต่างประเทศ “อเมริกามาก่อน (America first policy)” แต่จะไปร่วมมือกับทุกประเทศ นโยบายใหม่นี้ จะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการขยายโอกาสในการพัฒนาเศรฐษกิจและการส่งออกด้วย



นายสุริยะ ยังกล่าวเปิดงานสศอ. (OIE FORUM) พ.ศ. 2563 จัดขึ้นในหัวข้อ New Perspective of Thailand Industry มองมุมกลับ ปรับมุมคิด พลิกวิกฤตอุตสาหกรรมไทย พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “มุมมองใหม่ของอุตสาหกรรมไทย หลังสถานการณ์โควิด-19” ว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็นทั้งวิกฤตและประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการที่ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ได้ดี สร้างความเชื่อมั่นและสร้างโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารเติบโตส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และยังสามารถปรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตหน้ากากอนามัยและชุด PPE ช่วยสร้างโอกาสส่งออกแก่ไทย แต่จะต้องร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขออกใบรับรองสร้างความมั่นใจประเทศผู้ซื้อต่อไป

สำหรับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังสถานการณ์โควิด-19 ควรส่งเสริมการผลิต การส่งออกสินค้าศักยภาพที่สร้างสายการผลิตและมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นในประเทศ อาทิ สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหาร สินค้าที่เกี่ยวกับการรักษาและป้องกันโรค ทั้งเครื่องมือแพทย์และสิ่งทอทางการแพทย์ (Medical Textile) พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม เช่น ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการพัฒนายกระดับทักษะความสามารถของแรงงานไทย พัฒนาบุคลากรให้มี Digital Skills, Highly-skilled และ Multi-skilled รวมถึงจูงใจให้ภาคธุรกิจลงทุนพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอนาคต



ขณะเดียวกันเป็นต้องขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสอดคล้องกับโลกยุคใหม่ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและช่วยเพิ่มศักยภาพของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ (Smart Products) ด้วยการนำงานวิจัยมาต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Design) และการออกแบบระบบสมองกลฝังตัว (Embedded system) เชื่อมโยงกับระบบเครือข่าย IoT (Internet of Things) โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ New Normal อย่างกลุ่ม Medical Service Robot หรือกลุ่ม Smart Farming เป็นต้น


ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนนำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ตาก สงขลา และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ใน EEC ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาสแรกของปี 2564 เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เน้นใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยคาดว่าการลงทุนในนิคมฯ นี้จะสามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ต่อปีได้ประมาณ 52,000 ล้านบาท และสร้างการจ้างงานได้กว่า 7,400 คน ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ประมาณ 1,300 ล้านบาท


ด้านการส่งเสริมการประกอบการที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการผ่านโครงการ Factory 4.0 การยกระดับสถานประกอบการสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ด้านการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาในทิศทางที่สมดุล และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก


ประเด็นสุดท้าย แต่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ การปฏิรูปกระทรวงอุตสาหกรรมไปสู่ Smart Government โดยเร่งนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการบริการและปฏิบัติงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในทุกมิติ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวนโยบายข้างต้น จะมุ่งเน้นการบูรณาการทำงานภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรภาคเอกชน สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคประชาชน จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับกระทรวงฯ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันปรับปรุงและขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการประกอบการต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก