แนะปลดล็อกปล่อยกู้ซอฟท์โลน

กรุงเทพฯ 29 ก.ย. – กมธ.เศรษฐกิจฯ สว.ร่วมมือหลายหน่วยงานช่วยอุ้มเอสเอ็มอี แนะปลดล็อกแก้ไข พ.ร.ก.ปล่อยกู้ซอฟท์โลน ธปท. หลังปล่อยกู้เพียงแสนล้านบาท  ขณะที่สมาคมธนาคารไทยใกล้ครบกำหนดมาตรการพักหนี้  22 ตุลาคมนี้ ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจอาจก่อปัญหาสึนามิรอบใหม่ เอกชนแนะขยายเวลาพักหนี้ต่อลมหายใจ  


นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “ SMEs เดินหน้าสู้วิกฤติโควิด-19 : หมดมาตรการพักชำระหนี้ ยังมีทางรอด” ว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศ 3 ล้านราย เมื่อรวมกับผู้ค้า เอกชนรายย่อยมีกว่า 5 ล้านคน หากรวมถึงผู้ประกอบการภาคเกษตรมีกว่า 10 ล้านครัวเรือน จึงเป็นกลุ่มสำคัญที่รัฐบาลต้องเข้าไปดูแลในช่วงปัญหาโควิด โดยเฉพาะเมื่อมาตรการพักหนี้ครบกำหนด เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้มีเงินทุนหล่อเลี้ยงกิจการ ยอมรับว่าหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนดูแลเอสเอ็มอีและผู้ค้ารายย่อย 25 หน่วยงาน หากบูรณาการร่วมกันจะทำให้ช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจฯ สว.จึงต้องการเปิดเวทีรับฟังเสียงสะท้อนเหล่านี้ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือเอสเอ็มอีเพิ่มเติม  

นายลักษณ์ วจนานวัช ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงิน วุฒิสภา กล่าวว่า ช่วงมีปัญหาโควิด-19 สถาบันการเงินพักหนี้ ลดการชำระเงินระยะเวลา 6 เดือน ตาม พ.ร.ก.พักหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับลูกหนี้ไม่เกิน 100 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการกว่า  8.8 ล้านราย มูลหนี้กว่า 7 ล้านล้านบาท  และสถาบันการเงินปล่อยกู้เพิ่มเติมวงเงิน 180,000 ล้านบาท ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้  12 ล้านราย วงเงิน 68,000 ล้าบาท เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ดีช่วงนี้อาจมีปัญหาหนี้เสียมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือดูแลใกล้ครบกำหนดเดือนตุลาคมนี้  จึงต้องหาช่องทางดูแลเพิ่มเติมด้วยการขยายเวลามาตรการ เพื่อให้เอสเอ็มอีและรายย่อยกลับมาฟื้นตัว


สำหรับสินเชื่อซอฟท์โลนของ ธปท.ปล่อยออกสู่ระบบวงเงินกู้กว่า 100,000 ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 500,000 ล้านบาท  เวทีสัมมนาจึงได้เสนอแนะว่าควรมีการแก้ไข พ.ร.ก.ของแบงก์ชาติ เพื่อปลดล็อกเงื่อนไขบางส่วนในการปล่อยสินเชื่อผ่านสถาบันการเงิน  เพื่อให้เอสเอ็มอีมีสภาพคล่องมากขึ้น เช่น ข้อกำหนดให้ปล่อยกู้ร้อยละ 20 ของวงเงินกู้ที่เหลือ และเงื่อนไขอื่น ๆ หลายด้าน เอสเอ็มอียังเรียกร้องให้สถาบันการเงินทำการแยกประเภทลูกหนี้ออกให้ชัดเจน เพื่อเลือกช่องทางเข้าไปดูแลผ่านการค้ำประกันโดย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อให้เอสเอ็มอีเติมสภาพคล่องและช่วยเหลือถูกฝา ถูกตัว

นายมงคล ลีลาธรรม ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ปัญหาโควิด-19 กระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงินกว่า 650,000 ล้านบาท นับว่าเป็นมูลค่าสูงมาก เพราะกระทบทั้งเจ้าของกิจการ พนักงาน แรงงาน ยอดรวมกว่า 3.25 ล้านราย แม้กระทบเพียงปีเดียว แต่เสียหายรุนแรงมาก หน่วยงานรัฐจึงต้องเป็นหัวหอกคอยช่วยเหลือทั้งการบ่มเพาะกิจการ  การปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน และต้องระวังไม่ให้ปัญหาลุกลามไปยังลูกหนี้การค้าระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เพื่อไม่ให้ปัญหาสภาพคล่องลุกลามไปยังการปล่อยกู้ของแบงก์ต่าง ๆ  ยอมรับว่าซอฟท์โลน ธปท.ปล่อยกู้ 2 ปี ผ่อนชำระ 2 ปีแรก เอสเอ็มอีอาจไม่มีกำลังผ่อนชำระ

นางชุลีพร น่วมทนง รองเลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ตาม พ.ร.ก.พักหนี้ ลดภาระหนี้ของ ธปท. เพื่อช่วยเหลือการพักเงินต้นและดอกเบี้ยจะครบกำหนด 6 เดือน วันที่ 22 ตุลาคมนี้ เมื่อเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น แต่มาตรการพักหนี้ครบกำหนดอาจทำให้เป็นปัญหาสึนามิรอบใหม่ จึงแนะนำให้เอสเอ็มอีรีบมาติดต่อกับแบงก์ เพื่อหาทางอออกร่วมกัน ขณะที่สถาบันการเงินต้องเตรียมตั้งสำรองหนี้หากมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มเติม หากขยายเวลามาตรการออกไปจะช่วยผ่อนคลายได้มากขึ้น


สำหรับมาตรการซอฟท์โลน ธปท.ปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ 5-500 ล้านบาท  จากวงเงินทั้งหมดเตรียมรองรับ  500,000 ล้านบาท แต่ปล่อยกู้แล้วกว่า 100,000 ล้านบาท จำนวน  69,000 ราย เฉลี่ยได้รับเงินกู้ 1.7 ล้านบาทต่อราย ยอมรับว่าปล่อยกู้ออกไปได้น้อยมาก สาเหตุลูกหนี้เข้ามาได้รับการช่วยเหลือไม่ได้  เพราะติดเงื่อนไขหลายอย่าง  อีกทั้งช่วงนี้เอสเอ็มอียังไม่สบายใจ คุยกับเจ้าหนี้หลายราย ธนาคารจึงไม่อยากให้ผู้ประกอบการปล่อยเวลาจนครบกำหนด  22 ตุลาคม 2563 เพื่อหาทางออกร่วมกัน

นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเจอปัญหาโควิดผู้ประกอบการโรงแรมต้องยอมลดราคาห้องพัก เช่น จากเดิมขายห้องพักให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ 20,000 บาทต่อคืน แต่ขณะนี้ลดราคาเหลือ 2,000 บาทยังยอมขาย เพื่อนำเงินมาดูแลพนักงานโรงแรม เพราะกลุ่มนี้เป็นผู้ให้บริการต้องดูแลรักษาไว้ เมื่อ ธปท.มีสินเชื่อเตรียมไว้ 500,000 ล้านบาท แต่ปล่อยกู้เพียง 100,000 ล้านบาท จึงต้องหาทางช่วยเหลือเพิ่มเติม ยอมรับว่ารัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเยอะมาก แต่วางเงื่อนไขข้อกำหนดจนเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการเข้าถึงการช่วยเหลือได้น้อย

ขณะนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาไม่ได้ ทำให้ยอดเดินทางเข้าประเทศหดหายไปตลอดทั้งปี ดังนั้น เมื่อรัฐบาลหาช่องทางเปิดทางให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความพร้อมเดินทางเข้ามาเที่ยวไทย และเป็นกลุ่มมีกำลังซื้อสูง เมื่อวางมาตรการคุมเข้มด้านสาธารณสุข หากติดเชื้อรีบนำรักษาและกักตัว 14 วัน จะดึงรายได้นักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือภาคท่องเที่ยวได้บางส่วน แม้จะไม่ดีเท่าเดิม.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ

ระทึก! เรือคณะนายอำเภอคว่ำ ขณะช่วยผู้ประสบภัย

กู้ภัยเข้าช่วยเหลือ เรือคณะนายอำเภอฮอดพลิกคว่ำ ขณะฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่จุดอื่นในเชียงใหม่ เร่งอพยพประชาชนที่ยังตกค้าง