ครม.อนุมัติโครงการประกันรายได้มันสำปะหลังปี 63/64

ทำเนียบรัฐบาล 18 ส.ค. – ครม.อนุมัติโครงการประกันรายได้ผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 63/64 ช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 5.3 แสนครัวเรือนทั่วประเทศ และมาตรการคู่ขนานจ่ายเยียวยากำจัดโรคใบด่างทุกพื้นที่


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติโครงการและมาตรการเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่ราคาตกต่ำ ครอบคลุมเกษตรกรกว่า 530,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 2563/2564 วงเงินรวม 9,789.98 ล้านบาท  ซึ่งเป็นการดำเนินการลักษณะเดียวกันกับโครงการประกันรายได้ปี 2562/2563 เป็นการประกันรายได้หัวมันสำปะหลังสด เชื้อแป้ง 25% ราคากิโลกรัมละ 2.50 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 100 ตัน ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศและไม่ซ้ำแปลง ซึ่งต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกมันสำปะหลังปี 2563/2564 กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564 สำหรับการจ่ายเงินงวดแรก รัฐบาลจะเริ่มจ่ายในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 และจะจ่ายต่อไปในทุกวันที่ 1 ของเดือน  โดยใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และรัฐบาลจะชำระคืนตามที่จ่ายจริงภายใน 2 ปี ทั้งนี้ ระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2565


สำหรับผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ ปี 2562/2563 ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2563  ธ.ก.ส.จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างแก่เกษตรกรไปแล้วรวม 8 ครั้ง จำนวน 535,759 ครัวเรือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,836.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69.13 ของวงเงินชดเชยทั้งหมด คงเหลืองบประมาณอีก 3,053.97 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดการจ่ายเงินชดเชยงวดสุดท้ายเดือนพฤศจิกายน 2563

2.มาตรการคู่ขนานเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง ปี 2563/2564 ซึ่งเป็นมาตรการเสริมที่ดำเนินการควบคู่กันไประหว่างโครงการประกันรายได้ และการบริหารปริมาณสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เป็นการดึงอุปทานออกจากตลาดและเพิ่มช่องทางเลือก เสริมสร้างความเข้มแข็ง และเพิ่มอำนาจต่อรองในการจำหน่ายมันสำปะหลังของเกษตรกร ประกอบด้วยมาตรการที่ใช้เงินงบประมาณและไม่ใช้เงินงบประมาณ ดังนี้

มาตรการที่ใช้เงินงบประมาณ วงเงินรวม 114 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง วงเงิน 69 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้ออกสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม วงเงินสินเชื่อรวม 1,150 ล้านบาท ให้เกษตรกู้รายละไม่เกิน 230,000 บาท จำนวน 5,000 ราย ชำระคืนไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันกู้  คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.50 ต่อปี  โดยเกษตรกรผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ต่อปี ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 ต่อปี รัฐจะเป็นผู้ชดเชยให้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือน (ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2566) คิดเป็นวงเงินอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยรวม 69 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2566


และโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร วงเงิน 45 ล้านบาท  โดย ธ.ก.ส. จะเป็นผู้ออกสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรที่มีการประกอบธุรกิจมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด มันสำปะหลังเส้น วงเงินสินเชื่อรวม 1,500 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3 ต่อปี รัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยให้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน (ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) คิดเป็นวงเงินอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยรวม 45 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2565

ส่วนอีก 2 มาตรการที่ไม่ใช้เงินงบประมาณเพิ่มเติม คือโครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสตอกมันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง (ลานมัน/โรงแป้ง) ที่เข้าร่วมโครงการฯ เก็บสตอก เพื่อดูดซับผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยตั้งเป้าหมายวงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท รัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต๊อกไว้ตั้งแต่ 60 – 180 วัน คิดเป็นวงเงินอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยรวม 225 ล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และมาตรการบริหารจัดการการนำเข้าและส่งออก โดยให้กรมการค้าต่างประเทศกำกับดูแลการส่งออกและนำเข้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์อย่างจริงจัง ด้วยการตรวจสอบคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานและลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ อนุมัติแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการป้องกันและการกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขโครงการที่ ครม.อนุมัติไปแล้ว เมื่อ 24 กันยายน 2562 ใน 2 ประเด็น คือ 1.ขยายพื้นที่ดำเนินโครงการฯ จากเดิมที่กำหนดไว้ 11 จังหวัด ปรับเป็นให้ดำเนินการโครงการฯ ในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งมีอยู่ 50 จังหวัดทั่วประเทศ และ 2.การจ่ายเงินชดเชย จากเดิมจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร เฉพาะพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น ปรับเป็นจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรทุกพื้นที่ที่มีการทำลายแปลงมันสำปะหลัง ทั้งพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ โดยใช้งบประมาณเดิม 234.26 ล้านบาท ตามที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น