ส.อ.ท. ชี้ทรัมป์ขึ้นภาษี 36% ทำไทยสูญรายได้กว่า 8 แสนล้าน

กรุงเทพฯ 4 เม.ย.-ส.อ.ท.ถกด่วนกลุ่มผู้ส่งออกสหรัฐ ชี้ทรัมป์ขึ้นภาษีเป็น 36% ทำไทยสูญรายได้กว่า 8 -9 แสนล้านบาท จี้รัฐเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯด่วน และต้องเร่งแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ไม่ใช่แค่ลดการเกินดุลการค้าสหรัฐฯ เท่านั้น รวมถึงเร่งป้องกันสินค้าจากต่างประเทศทุ่มตลาด

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดประชุมเร่งด่วนร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือแนวทางรับมือหลังทรัมป์ประกาศภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ที่ไทยโดนเก็บภาษีสูงถึง 36% มากกว่าที่ภาครัฐและเอกชนคาดการณ์ไว้เกือบ 3 เท่าตัว คาดมูลค่าเสียหายจากการขึ้นภาษีดังกล่าว ราว 8-9 แสนล้านบาท


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ได้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุปสรรคทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้
อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers -NTB)
1.อัตราภาษีสูงและข้อจำกัดด้านการนำเข้า
•สินค้าเกษตร: อัตราภาษีนำเข้าสูงในสินค้าเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นมและอาหารแปรรูป
•ยานยนต์และชิ้นส่วน: เผชิญภาษีนำเข้าสูง
•เครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ภาษีนำเข้าไวน์สูงถึง 400%
2.มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS Measures)
•จำกัดการนำเข้าเนื้อวัวที่มีอายุมากกว่า 30 เดือน (BSE)
•ห้ามนำเข้าเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดง (Ractopamine)
•ห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากบางรัฐของสหรัฐฯ (HPAI)
3.ขั้นตอนศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
•กระบวนการศุลกากรซับซ้อน ประเมินมูลค่าไม่แน่นอน มีความเสี่ยงในการทุจริต
อุปสรรคด้านการลงทุน
1.ข้อจำกัดภายใต้พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA)
•ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ในภาคบริการการเกษตร และโทรคมนาคม
2.ข้อจำกัดด้านการเปิดเสรีการลงทุน
•แม้ BOI ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ยังมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนในการขออนุญาต
3.การค้าดิจิทัลและข้อกําหนดด้านข้อมูล (Digital Trade & Data Localization)
•พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ข้อมูลบางประเภทต้องถูกจัดเก็บในไทย
•ข้อจำกัดการถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดน สร้างความไม่แน่นอนต่อบริษัท Fintech และ Cloud

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (IP Protection)
1.ประเทศไทยอยู่ใน “บัญชีเฝ้าระวังพิเศษ” (Special 301 Watch List)
2.ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ เว็บไซต์ผิด กฎหมายส่งผลเสียต่อผู้ผลิตเนื้อหาสหรัฐฯ
3.สินค้าลอกเลียนแบบ เสื้อผ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
4.การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพ


อุปสรรคด้านการค้าเกษตร
1.ข้อจำกัดเกี่ยวกับสารกำจัดศัตรูพืชและพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ระบบใบอนุญาตนำเข้าและโควต้ากระบวนการยุ่งยาก โดยเฉพาะเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากนม

สำหรับ 20 อันดับมูลค่าสินค้าที่สหรัฐนำเข้าจากไทย ปี 2567 ได้แก่ อาหารสุนัขหรือแมว ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ วงจรอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณทำด้วยเงิน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรวมถึงคอมพิวเตอร์ที่พกพาได้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไม่รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่พกพาได้ และอุปกรณ์หน่วยเก็บความจำชนิดโซลิดสเตท

นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร พลาสติก และเคมีภัณฑ์ เนื่องจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นทำให้สินค้าไทยเสียเปรียบคู่แข่ง


ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลัก
มาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อหลายกลุ่มอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งถูกเก็บภาษีในอัตรา 25% ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2568 อาจส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทแม่ในการย้ายฐานการผลิต ขณะที่รถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มากกว่ารถยนต์ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากประเทศคู่แข่ง
อุตสาหกรรมอาหาร ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะอาหารแปรรูปและสินค้าประมง เช่น ปลาทูน่าและกุ้งแปรรูป ซึ่งเดิมมีอัตราภาษี 0% แต่ถูกปรับขึ้นเป็น 36% ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
อุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าธุรกิจระหว่าง 5-6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็กำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก หากอัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 36% อาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
อุตสาหกรรมเคมี มีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 11% ของทั้งหมด ซึ่งอาจลดลงหากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ยังคงดำเนินต่อไป อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน โดยมูลค่าการค้าลดลงจาก 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจต้องชะลอการผลิตและการส่งออก เนื่องจากผู้ซื้อต่างประเทศอาจปฏิเสธรับมอบสินค้าไทยเพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีนำเข้าสูง ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมรองเท้า อาจได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นี้ เนื่องจากประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามและกัมพูชา ถูกเก็บภาษีสูงกว่า ทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ดีขึ้น

ในขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม ก็ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากถูกเก็บภาษี 25% ตั้งแต่แรกแล้ว ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สูงขึ้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้อาจต้องเผชิญกับการคำสั่งซื้อที่ลดลงของคำสั่งซื้อและความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล เนื่องจากคู่แข่งจากประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่ายังคงสามารถรักษาต้นทุนที่ต่ำกว่าได้

นอกจากนี้ วานนี้ ส.อ.ท. ยังได้มีการประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อหามาตรการรับมือและหารือกับสหรัฐฯ อาทิ
1.เจรจาสร้างความสมดุลการค้าสหรัฐฯ ทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยจะเสนอแนวคิดที่สร้างสรรค์ เช่น การนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เพื่อมาแปรรูปและส่งออกมากยิ่งขึ้น
2.แก้กฎหมายและภาษีนำเข้าไทย เพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยประเทศไทยมีความพร้อมที่จะนำเข้าจากสหรัฐฯ ประมาณ 4-5 รายการ เช่น ข้าวโพด และปลาทูน่า เป็นต้น
3.ออกมาตรการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการผลิตจากในประเทศไทยจริง เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และแผงโซล่าเซลล์ เป็นต้น
4.ทบทวนภาษีและมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers) เช่น กรณีรถมอเตอร์ไซค์ที่ไทยมีการตั้งภาษีไว้สูง

ทั้งนี้ นายเกรียงไกร ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ไปศึกษาข้อมูลภายในกลุ่มเพิ่มเติมว่าได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด และหาจุดยืนร่วมกัน เพื่อ ส.อ.ท. จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางให้แก่รัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ดี ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมเจรจา เพื่อเตรียมรับมือนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว เพื่อพิจารณาแลกเปลี่ยนสินค้าต่อรองกับสหรัฐฯ เบื้องต้นมีกรอบสินค้าเกษตรหลายตัวที่จะเปิดให้มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสินค้าหนัก อาทิ อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องบินรบ โดรน เป็นต้น ดังนั้นภาครัฐต้องเร่งเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ อย่างเร่งด่วน ไม่ใช่แค่ลดการเกินดุลการค้าสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ต้องเร่งแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาและต้องออกมาตรการเร่งด่วนเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่ให้เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศเหมือนเช่นปัจจุบัน.-517.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด

ภาษีสหรัฐ

นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปแก้ปัญหาภาษีสหรัฐ 8 เม.ย.นี้

“จิรายุ” ระบุฝ่ายค้านบางพรรคน่าจะตกข่าว เพิ่งมาเสนอให้นายกฯ ตั้ง คกก.แก้ปัญหาภาษีสหรัฐฯ ทั้งที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “ทรัมป์” ยังไม่ได้รับตำแหน่ง บอก 8 เม.ย.นี้ นายกฯ เรียกประชุม กก.สรุปทั้งหมด ที่ทำเนียบฯ