สวทช.ช่วย “บริหารจัดการอาหารส่วนเกิน” หนุนตั้งธนาคารอาหารไทย

กรุงเทพฯ 11 ก.ย. – ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์ นักวิจัยนโยบาย สวทช. ในฐานะหัวหน้าโครงการ การจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย กล่าวว่า สวทช. ได้ร่วมกับมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อสร้างต้นแบบการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food surplus) ของประเทศ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ผลักดันการจัดตั้งธนาคารอาหารของประเทศไทย (Thailand’s Food Bank) เพื่อช่วยลดการเกิดขยะอาหาร


สวทช.ได้นำองค์ความรู้ของทีมวิจัยต่าง ๆ มาบริหารความเสี่ยง ดูแลกระบวนการส่งต่ออาหารส่วนเกิน ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดย ไบโอเทค มีทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร (IFBT) ที่มีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ด้านอาหารปลอดภัย (Food safety) สามารถประยุกต์ใช้ความเชี่ยวชาญในการทดสอบความปลอดภัยของอาหารส่วนเกิน

ดร.นิภา โชคสัจจะวาที นักวิจัยอาวุโสและคณะผู้วิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) กล่าวเสริมว่า การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยเสริมการจัดการ ดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการรับอาหาร การเก็บรักษาอาหาร การขนส่ง การแจกจ่ายอาหาร หลักปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสอาหาร เช่น การแช่แข็งอาหารส่วนเกินและติดฉลากใหม่ การระบุวันที่และระยะเวลาที่แนะนำ ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและการควบคุมอันตราย เช่น สารเคมี สารก่อภูมิแพ้ หลักปฏิบัติในการเตรียมอาหาร เช่น การทำละลายอาหารแช่แข็ง การทำให้สุก ทำให้เย็น อุ่นร้อน การรักษาความปลอดภัยอาหารระหว่างขนส่ง เป็นต้น


ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (TIIS) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) กล่าวว่า เอ็มเทค โดยทีมวิจัย TIIS ได้พัฒนาแนวทางและการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอาหารส่วนเกิน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12.3 การลดขยะอาหารของประเทศ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss and Waste) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ตามหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)

ดร.ปัทมาพร กล่าวด้วยว่า สวทช.ได้ขับเคลื่อนโครงการการศึกษาแนวทางบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน หรือ Food surplus โดยที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาและทบทวนกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และมีการประชุมรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าข้อมูลจุดสำคัญของอาหารส่วนเกิน คือ 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นมา จะถูกทิ้งซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต รวมถึงยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย โดยที่ผ่านมาโครงการฯ ได้มีความพยายามพัฒนาแนวทางการบริจาคอาหารส่วนเกินออกมาให้เหมือนกับประเทศอื่น ๆ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี มาตรการด้านคาร์บอน เพื่อส่งเสริมการบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับ Food Bank เหมือนเช่นในหลายๆ ประเทศ ซึ่งทั้ง 2 มาตรการ ถือเป็นแนวทางเพื่อให้การจัดตั้ง Food Bank เกิดขึ้นได้จริงและไปต่อได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น

“เรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์และคาร์บอนเครดิต ซึ่งการมีคาร์บอนเครดิตกับการบริจาคอาหารส่วนเกินนั้น โครงการฯ อยากเห็นภาพของ Food Bank ในประเทศไทยที่ขายคาร์บอนเครดิต จากการลดปริมาณขยะอาหารดังที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศเม็กซิโก ซี่งจะช่วยพลิกโฉมการดำเนินงาน Food Bank จากเดิมในรูปแบบการกุศล เป็นการขายคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งในส่วนนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ (audit) ที่จะเกิดขึ้นด้วย” ดร.ปัทมาพร กล่าวทิ้งท้าย.-515- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย