กระทรวงการคลัง
4 ก.ย.- คณะกรรมการสตาร์ทอัพ ยกร่างกฎหมายหนุนคนรุ่นใหม่ ทั้งยกเว้นภาษี
การร่วมทุน เตรียมเสนอหัวหน้าคสช.ใช้มาตรา 44 เร่งรัดกฎหมายให้ทันภายในปีนี้
เร่งเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ Start Up ไทยแข่งขันในเวทีโลก
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง
เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (Start Up) ก่อนเปิดเผยว่า
คณะกรรมการเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ
เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ Start Up ด้วยการกำหนดนิยามชัดเจนสำหรับการได้รับช่วยเหลือและส่งเสริม
โดยต้องเป็นผู้ประกอบการมีแนวคิดริเริ่มใหม่ได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญหา ( IP) เป็นบุคคลที่มีทักษะสูง
และมีผลงานวิจัยและพัฒนา
โดยมีความแตกต่างจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างชัดเจน
หวังรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ ทั้งผ่านหลายมาตรการ เพื่อลดปัญหาเด็กไทยสมองไหลถูกกองทุนต่างชาติ
มาร่วมทุนดึงไปอยู่ต่างประเทศจำนวนมากมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงต้องการเสนอ หัวหน้า คสช.ออกประกาศมาตรา 44
เร่งรัดดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้ภายปีนี้
นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ร่าง
พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ
ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการ Start Up เพื่อจดทะเบียนนิติบุคคลระยะเวลา 5
ปี
และได้รับการยกเว้นภาษีทั้งเงินปันผลและกำไรจากการร่วมลงทุนจากการขายหุ้น
เมื่อกองทุน Angel
Fund ตั้งโดยบริษัทเอกชนขนาดใหญ่
เข้ามาร่วมลงทุน เพื่อลดปัญหาต้องการใช้ทุน แต่ไม่มีทรัพย์สินค้ำประกันจากแบงก์
แต่กองทุน Angel
Fund จะมาร่วมรับความเสี่ยงเข้ามาลงทุนร่วมกันคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดด้านนวัตกรรมใหม่ๆ
ปรับใช้ในเชิงพาณิชย์
เพื่อเป็นการสนับสนุนทั้งผู้ลงทุน และสตาร์ทอัพเจ้าของแนวคิด
คาดว่าเสนอร่างกฎหมายได้ในเร็ว ๆ นี้
นอกจากนี้มีการเสนอจัดตั้งคณะกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
เพื่อกำหนดนโยบายและส่งแสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ
เพราะปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับ รวมถึงการตั้ง “ศูนย์ทดสอบและพัฒนานวัตกรรม” เพื่อรับรองมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ
เพิ่มความรู้ ให้คำแนะนำในทุกด้าน ทั้งบริหารจัดการ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจดทะเบียนตั้งบริษัท การปิดบริษัทผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปแข่งขันในระดับสากล และยังมีห้องทดลอง
Sand Box เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทดลองโมเดลหรือแนวคิดนวัตกรรมใหม่
ก่อนนำออกไปใช้งานได้จริงในเชิงพาณิชย์
นายชินาวุธ ชินะประยูร
ผู้อำนวยการด้านธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม กล่าวว่า ปัจจุบัน ภาคเอกชนรายใหญ่ตั้ง กองทุน Angel Fund จำนวนมากมูลค่ากว่า 28,000 ล้านบาท
เตรียมเข้าร่วมลงทุนกับคนรุ่นใหม่มีแนวคิดนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ
ขณะที่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของไทยหลายรายได้มีต่างชาติมาร่วมทุนมีชื่อเสียงโด่งดังในเวทีโลก
มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น มันนีดิจิตอลในญี่ปุ่น คนคิดค้นโดยเด็กไทย จึงทำให้ขยายโอกาสคนรุ่นใหม่มากขึ้น
ปัจจุบันผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจดทะเบียนนิติบุคคล
1,500 ราย
อยู่ระหว่างการศึกษานวัตกรรมมีไอเดียแนวคิดดี ๆ ประมาณ 8,500 ราย มีกองทุนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนแล้วในตลาด
500 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมตั้งแต่ในระดับโรงเรียนมัธยม มหาวิยาลัย
เพื่อตั้งชมรมสตาร์อัพ ส่งเสริมให้มีแนวคิดเป็นผู้ประกอบการใหม่ตั้งแต่อยู่ในสถาบันการศึกษา
กระจายการตั้งชมรมไปทั่วประเทศ
เมื่อภาครัฐได้ออกกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมจะทำให้เด็กไทยแข่งขันได้ในเวทีโลก.-สำนักข่าวไทย