ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ค.67 ลงต่อเนื่องมีหลายปัจจัยกังวล

กรุงเทพฯ 6 ส.ค. – ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ค.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ยังความกังวลการเมือง เศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง ความกังวลสงครามต่างประเทศ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยต่อเสียงสะท้อนภาคเอกชนทุกภาคกังวลใจเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก แนะภาครัฐเร่งหามาตรการดูแลหนี้ครัวเรือน ค่าครองชีพแพง และการเข้าแหล่งเงินทุนเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ หวังเร่งเบิกจ่ายงบปี 67 และปี 68 รวมถึงดิจิทัลวอลเล็ตจะดันความเชื่อมั่นกลับมาดีขึ้นได้ ขณะที่วันแม่ปีนี้ยอดใช้จ่ายไม่คึกคักกังวลหลายด้าน แต่ศูนย์พยากรณ์ฯประเมินเศรษฐกิจไทยทั้งปีโต 2.6-2.8%


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจกล่าวถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนกรกฎาคม 2567 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมากังวลว่าการเมืองไทยเริ่มขาดเสถียรภาพเกี่ยวกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะตัดสินเรื่องการยุบพรรคก้าวไกลและความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีอย่างไร ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต และกังวลเของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า เพราะยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน และผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางที่ยังคงยืดเยื้อบานปลาย อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวล่าช้าของเศรษฐกิจไทย

PR_UTCC

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 51.3 54.9 และ 66.8 ตามลำดับ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในรอบ 11  เดือนทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนมิถุนายน ที่อยู่ในระดับ 52.6 56.1 และ 67.9 ตามลำดับ การที่ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่า ผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคต เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ราคาพลังงานและค่าครองชีพที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าในอนาคต ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคมีความไม่แน่นอนสูง


ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงจากระดับ 58.9 เป็น 57.7 เป็นการปรับตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน  2566 เป็นต้นมา การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าและค่าครองชีพสูง ตลอดจนสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กับอิสราเอลกับฮามาสในฉนวนกาซาที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 42.8 เป็น 41.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 66.7 มาอยู่ที่ระดับ 65.4 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5ในรอบ 11 เดือนทุกรายการ แสดงว่า ผู้บริโภคเริ่มไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันเริ่มมีความผันผวนมากขึ้นในมุมมองของผู้บริโภค ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคตอันใกล้ หากรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและกระตุ้นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในไตรมาสที่สี่ของปีนี้

ส่วนความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนกรกฎาคม 2567 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 52.2 แต่ยังเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยงทั่วไทย การเมืองในประเทศโดยเฉพาะรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนายกรัฐมนตรี หนี้ครัวเรือนที่สูง ค่าครองชีพสูง


ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลแก้ไขไขหนี้ครัวเรือน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจโดยรวม และรวมถึงมาตรการกำกับแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน พื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การดูแลปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจ SME ควบคุมราคาของปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมเพราะจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้เข้าถึงโอกาสของตลาดใหม่ๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ แนวทางการสนับสนุนภาครัฐช่วยเหลือด้านมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น มาตรการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นที่สามารถเพิ่มยอดคำสั่งซื้อสินค้าบริการในทุกสาขาธุรกิจ การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ส่วนผลโพลล์สำรวจวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.67 นี้ โดยรวมจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงประกอบกับเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ส่งผลให้ยอดกาใช้จ่ายในวันแม่ปีนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปีนี้มียอดใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันแม่อยู่ที่ 15,400.88 ล้านบาทลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมามียอดรวมทั้งสิ้น 15,926.45 ล้านบาท ซึ่วจะเป็นกิจตกรรมพาแม่ไปทำบุุญ ทานข้าว ไปเที่ยวต่างจังหวัดและอื่นๆเป็นต้น ซึงเหตุผลสำคัญที่ทำให้ยอดค่าใช้จ่ายวันแม่ปีนี้ลดลงมาจากภาระค่าครองชีพแพง เศรษฐกิจปัจจุบันไม่ค่อยดี ภาระหนี้สินมีมาก ความมั่งคงทางการเงินและรายได้ไม่มั่นคงรวมถึงความมั่นคงในอาชีพ อัตราดอกเบี้ยสูงและอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ฯคาดว่า เศรษฐกิจไทยแม้จะมีปัจจัยบวกดีอยู่บ้าง แต่ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 น่าจะโตใกล้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 %และไตรมาสที่ 3 จะต้องมีดูว่าแนวทางการเร่งเบิกจ่ายงบปี 67 จะต้องเร่งให้ก่อนจบงบปี 67 และต่อเนื่องในปี 68 ได้ก็เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 โตเกินกว่า 2 % และไตรมาสที่ 4 จะมีเม็ดเงินจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในวงเงินรวม 450,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในเดือน ธ.ค.67 เม็ดเงินส่วนนี้จะถูกใช้จ่ายกว่า 250,000 ล้านบาทโดยประชาชนจะใช้เงินครั้งเดียวหมดและที่เหลือจะทยอยใช้ในช่วงไตรมาสแรกปี 68 ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2.6-2.8 % แต่หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ตเศรษฐกิจไทยจะโตเพียงแค่ 2.4-2.6 % เท่านั้น

ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ ชี้แจงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตให้ทุกฝ่ายให้มีความเข้าใจมากกว่านี้ และต้องจับตาผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญต่อตัวนายกรัฐมนตรี หากออกมาต้องเปลี่ยนหรือหานายกรัฐมนตรีใหม่ก็ต้องมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าตัวนายกรัฐมนตรีใหม่ร่วมถึงหน้าตาคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างไร โดยระยะสั้นมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยบ้างและก็ไม่มากและหากนโยบายไม่เปลี่ยนอะไรเศรษฐกิจก็จะเดินหน้าต่อไปได้.-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก