Q1/ 67 ยอดจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลทะลุ 2.5 หมื่นราย

นนทบุรี 2 เม.ย.-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย ปี 2567 เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณโตต่อเนื่อง ภาคเอกชนเข้าลงทุนในธุรกิจคึกคัก ยอดจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลไตรมาสแรกทะลุ 2.5 หมื่นราย ทุนจดทะเบียน 6.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ธุรกิจสายมูน่าจับตามอง  นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาโดดเข้าร่วมแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาด หลายจังหวัดชูท่องเที่ยวสายมูดึงรายได้เข้าท้องถิ่น


นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดเผยว่า ไตรมาสแรกของปี 2567 (มกราคม – มีนาคม) เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงเวลาที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยเป็นปีที่เริ่มเข้าสู่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสภาวะปกติ หลังจากการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกรมฯ ขอฉายภาพเศรษฐกิจที่เติบโตผ่านตัวเลขการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ไตรมาสแรกของปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 25,003 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 67,940.55 ล้านบาท 

ทั้งนี้ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 1,957 ราย ทุน 4,193.26 ล้านบาท 2) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,907 ราย ทุน 8,093.65 ล้านบาท 3) ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 1,093 ราย ทุน 2,302.26 ล้านบาท  ทั้งนี้ การจดทะเบียนจัดตั้งรวมกันของ 3 ธุรกิจในไตรมาส 1/2567 มี จำนวน 4,957 ราย คิดเป็น 19.83% ของจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งทั้งหมดในไตรมาส 1/2567 และมีทุนจดทะเบียน 14,589.17ล้านบาท คิดเป็น 21.47% ของจำนวนทุนจดทะเบียนทั้งหมดในไตรมาส 1/2567


เมื่อเปรียบเทียบรายไตรมาส พบว่า การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจรวมลดลง 1,179 ราย หรือ 4.50% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสแรกของปี 2566 และทุนจดทะเบียนลดลง 271,645.88 ล้านบาท หรือ 79.99% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสแรกของปี 2566 (ไตรมาสแรกปี 2566 จัดตั้งธุรกิจ 26,182 ราย ทุนจดทะเบียน 339,595.43 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในไตรมาส 1/2567 ยังถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นรองเพียงยอดจดทะเบียนในไตรมาส 1/2566 เท่านั้น (ไตรมาส 1/2566 จดทะเบียน 26,182 ราย)

ข้อมูลการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจสะสมแบ่งตามภาคธุรกิจ ไตรมาส 1/2567 เป็นธุรกิจ ภาคบริการ 14,257 ราย ภาคขายส่ง/ขายปลีก 8,288 ราย ภาคการผลิต 2,458 ราย คิดเป็น 57.02% 33.15% และ 9.83% ของการจดทะเบียนรวมทั้งประเทศตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) ภาคบริการ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,957 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,907 ราย


และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 1,093 ราย

   2) ภาคการผลิต ได้แก่ ธุรกิจปลูกพืชอื่นๆ ประเภทเครื่องเทศเครื่องหอมยารักษาโรค 135 ราย ธุรกิจผลิตเครื่องหอม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำ 115 ราย และ ธุรกิจการติดตั้งเครื่องจักรอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ 78 ราย

   3) ภาคขายส่ง/ขายปลีก ได้แก่ ธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต 643 ราย ธุรกิจขายปลีกสินค้าอื่นๆ 

ในร้านค้าทั่วไป 465 ราย และ ธุรกิจขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ 347 ราย

สำหรับเดือนมีนาคม 2567 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ จำนวน 7,733 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 22,146.14 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 มีอัตราการจัดตั้งลดลง 1,446 ราย หรือ ลดลง 15.75% และทุนจดทะเบียนลดลง 277,462.39 ล้านบาท หรือ ลดลง 92.61% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566

โดยมีการกระจายตัวของการเติบโตธุรกิจอยู่ทุกพื้นที่ แบ่งเป็น พื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 7,296 ราย และจัดตั้งในพื้นที่ภูมิภาค จำนวน 17,707 ราย โดยจังหวัดในส่วนภูมิภาคที่มีการจัดตั้งธุรกิจสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ชลบุรี 2,211 ราย ทุน 9,874.49 ล้านบาท 2) นนทบุรี 1,420 ราย ทุน 2,918.91 ล้านบาท และ 3) สมุทรปราการ 1,340 ราย ทุน 3,573.47 ล้านบาท

 ข้อมูลจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจ

ไตรมาส 1/2567 ธุรกิจเลิกประกอบธุรกิจ จำนวน 2,809 ราย โดยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเลิกสะสมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 296 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 154 ราย และ ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 107 ราย

อย่างไรก็ดี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 การจดทะเบียนธุรกิจมีจำนวนทั้งสิ้น 1,902,239 ราย ทุนจดทะเบียน 29.83 ล้านล้านบาท โดยมีนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่จำนวน 912,297 ราย ทุน 22.10 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็น บริษัทจำกัด 709,556 ราย ทุน 15.88 ล้านล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 201,283 ราย ทุน 0.48 ล้านล้านบาท และ บริษัทมหาชนจำกัด 1,458 ราย ทุน 5.74 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 77.78% , 22.06% และ 0.16% ของนิติบุคคลดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ ตามลำดับ

โดยประเภทธุรกิจที่มีการเติบโตที่น่าสนใจในไตรมาส 1/2567  ได้แก่ 

1) กิจกรรมด้านความบันเทิง มีการเติบโตของการจัดตั้งอยู่ที่ 64.00% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 เนื่องจากการขยายตัวของการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อความบันเทิง และกิจกรรมการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันที่เน้นความบันเทิง (Shoppertainment) สำหรับอัตราการเติบโตของมูลค่าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 777.23% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566

2) ธุรกิจขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ มีการเติบโตของการจัดตั้งอยู่ที่ 57.78% เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ไทยเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ และไทยยังมีจุดแข็งด้านวัตถุดิบ เช่น ไม้ หวาย และยางพารา เป็นต้น สำหรับอัตราการเติบโตของมูลค่าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 46.83%

3) ธุรกิจขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของยานยนต์ มีการเติบโตของการจัดตั้งอยู่ที่ 47.62% 

ซึ่งจะเติบโตตามปริมาณการจดทะเบียนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น ที่มีการตกแต่งอุปกรณ์เสริมต่างๆให้กับยานยนต์ เพื่อความสวยงามและการใช้งาน อีกทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่มีความผันผวนทำให้ผู้บริโภค เลือกซ่อมแซมยานยนต์เดิม รวมทั้งการทดแทนอะไหล่หรือชิ้นส่วนยานยนต์ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน แทนการซื้อยานยนต์ใหม่

4) กิจกรรมสปา มีอัตราการเติบโตของจำนวนอยู่ที่ 35.59% เนื่องจากไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุต้องการกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ประกอบกับต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทย ชื่นชอบกิจกรรมสปาและสมุนไพรไทย สำหรับอัตราการเติบโตของมูลค่าทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 30.29% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566

5) ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด โดยมีอัตราการเติบโตของจำนวนอยู่ที่ 37.75% โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) กว่า 99.00% เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จากอุปสงค์การท่องเที่ยวทั่วโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับมาตรการท่องเที่ยวของภาครัฐที่มีมาอย่างต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเหล่านี้ ส่งผลให้จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเป็นไปในทิศทางบวก โดยไตรมาส 1/2567 มีการจัดตั้งธุรกิจเป็น 9 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเลิกประกอบกิจการ (ไตรมาส 1/2566 มีการจัดตั้งธุรกิจเพียง 8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเลิกประกอบกิจการ)

ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า คาดว่า การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลครึ่งปีแรก 2567 มีแนวโน้มทิศทางบวก โดยคาดการณ์จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในครึ่งปีแรกของปี 2567 อยู่ที่ 46,000 – 50,000 ราย

อย่างไรก็ดี นอกจากธุรกิจด้านความบันเทิงแล้ว ยังมี “ธุรกิจความเชื่อและความศรัทธา” หรือ “ธุรกิจสายมู” ที่เติบโตอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  โดยธุรกิจได้เปลี่ยน ‘ความเชื่อความศรัทธา’ ให้เป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม โดยนำศาสตร์สายมูมาใช้วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด (Muketing : MU + Marketing) ทั้งการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการ โดยจัดแคมเปญให้เข้าถึงผู้บริโภคทุกกลุ่มมากขึ้น ผ่านอินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ความเชื่อ หรือ ผู้มีชื่อเสียงมาสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมด้านอารมณ์/ความรู้สึกกับผู้บริโภค เช่น วอลเปเปอร์หน้าจอโทรศัพท์มือถือ เครื่องแต่งกาย กระเป๋า ของใช้ของตกแต่งบ้าน เช่น ผ้าปูที่นอนที่นำสีมงคลตามวันเกิดเดือนเกิดและปีเกิดเข้ามาเป็นจุดขายทางการตลาด

เครื่องประดับต่างๆ สร้อยข้อมือ สร้อยคอ ที่มีการนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพิฆเนศ ท้าวเวสสุวรรณ หินมงคลต่างๆ มาออกแบบดีไซน์ในรูปแบบแฟชั่น เครื่องสำอาง ที่นำทองคำปลุกเสกหรือว่านที่มีความเชื่อว่าเสริมศิริมงคลต่างๆ มาเป็นส่วนผสม หมายเลขโทรศัพท์มงคล รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร ได้นำศาสตร์ความเชื่อความศรัทธามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การออกแบบให้ตรงตามหลักฮวงจุ้ย การปรับเปลี่ยนสีของตัวบ้านและห้องต่างๆ ให้ถูกโฉลกกับผู้ซื้อ หรือ การตกแต่งบ้านที่ตรงกับดวงชะตาของผู้บริโภค เป็นต้น  

ปี 2562 – 2566 ธุรกิจด้านความเชื่อและความศรัทธามีอัตราการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยปี 2562 จดทะเบียนจัดตั้ง 11 ราย ทุนจดทะเบียน 15.4 ล้านบาท ปี 2563 จัดตั้ง 11 ราย ทุน 7.59 ล้านบาท (ลดลง 7.81 ล้านบาท หรือ 50.71%) ปี 2564 จัดตั้ง 20 ราย (เพิ่มขึ้น 9 ราย หรือ 81.81%) ทุน 13.41 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.82 ล้านบาท หรือ 76.70%) ปี 2565 จัดตั้ง 24 ราย (เพิ่มขึ้น 4 ราย หรือ 20.00%) ทุน 27.45 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 14.04 ล้านบาท หรือ 104.70%) และ ปี 2566 จัดตั้ง 33 ราย (เพิ่มขึ้น 9 ราย หรือ 37.50%) ทุน 26.88 ล้านบาท (ลดลง 0.57 ล้านบาท หรือ 2.08%) ขณะที่ เดือนมกราคม-มีนาคม 2567 จัดตั้ง 12 ราย ทุน 7.51 ล้านบาท

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) ธุรกิจความเชื่อความศรัทธามีนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่จำนวนทั้งสิ้น 134 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 135.89 ล้านบาท เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) ทั้งหมด แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 108 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 26 ราย คิดเป็นสัดส่วน 80.60% และ 19.40% ของนิติบุคคล ที่ดำเนินกิจการอยู่ ตามลำดับ ในขณะที่ทุนจดทะเบียนรวมแบ่งเป็น บริษัทจำกัด 116.64 ล้านบาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 19.25 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 85.83% และ 14.17% ของนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ ตามลำดับ โดยทั้งหมดเป็นการลงทุนโดยสัญชาติไทย

นอกจากนี้ หลายจังหวัดใช้กระแสความเชื่อความศรัทธาเป็นไฮไลท์ท่องเที่ยวดึงรายได้เข้าท้องถิ่น เป็นการท่องเที่ยว ‘เชิงศรัทธา’ โดยกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวเอเชีย ที่นิยมมาท่องเที่ยวเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย เนื่องจากมีรากฐานทางวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาถือเป็นรายได้สำคัญสำหรับไทย สามารถกระจายรายได้สู่ธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าชุมชุม เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่นช่วย “กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ” โดยรวมของประเทศได้เป็นอย่างดี

ธุรกิจความเชื่อความศรัทธา หรือ ศาสตร์มูเตลู ได้รับความนิยมจากทุกกลุ่มอายุ โดยแต่ละกลุ่มอายุจะมีวิธีการ มูเตลูที่แตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มที่มีความเชื่อค่อนข้างสูงได้แก่ กลุ่ม Gen Z โดยการเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ่จะมาจากสื่อโซเซียลมีเดีย ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่ม Gen Z ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงสุดกว่าทุกช่วงกลุ่มวัย หากธุรกิจสามารถพัฒนาสินค้า และส่งเสริมการตลาดได้ตรงกลุ่ม ย่อมส่งผลต่อโอกาสในการขายสินค้าและบริการได้สูงขึ้นเช่นกัน.-517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร