กรุงเทพฯ 21 มี.ค. – บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด หรือ HMC Polymers ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน หรือ PP รายแรกและใหญ่ที่สุดของประเทศไทยชูแนวคิด “ENDLESS SOLUTIONS FOR MORE” หรือ “ยิ่งสร้างสรรค์ ยิ่งล้ำหน้า ยิ่งใช้งาน ยิ่งยั่งยืน ไม่รู้จบ” ตั้งเป้าปี 2567 จะสร้างรายได้มากกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท
นายคอร์โซ อูซีลลี่ ประธานบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัดกล่าวย้ำความเป็นผู้นำการผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติก PP เกรดพรีเมียมแตกต่างจากผู้ผลิตอื่น ๆในตลาด ผ่านกลยุทธ์ความยั่งยืนทั้ง 3 Pilars ประกอบด้วย Circularity, Carbon Neutrality และ Connectivity ด้วยเทคโนโลยีระดับโลกที่ทันสมัยหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่สิ้นสุด ช่วยลดการใช้ทรัพยากรโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายในวันนี้ เพื่อโลกยุคใหม่ที่ยั่งยืนถึงวันหน้า และหากดูตัวเลขผลประกอบการปี 2566 รายได้รวม 2.5 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าปี 2567 จะกวาดรายได้มากกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่จะก้าวสู่ปีที่ 41 ยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศทั้งในด้านฐานการผลิตและการดำเนินธุรกิจทุก ๆ มิติอย่างต่อเนื่อง มุ่งผลักดันให้สายการผลิตที่ 4 ของโรงงานโพลีโพรพิลีน (PP4) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปลายปี 2565 ดำเนินการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ พร้อมนำเทคโนโลยี Spherizone อันทันสมัยที่สุดในการผลิตเม็ดพลาสติก PP จากบริษัท LyondellBasell ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ HMC Polymers สู่การผลิตเม็ดพลาสติก PP เกรด พิเศษ (Specialty) และเกรดคุณภาพสูง (Differentiated) เพื่อการนำไปใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการแพทย์และสุขอนามัย กลุ่มบรรจุภัณฑ์ทั้งแบบแข็งและแบบยึดหยุ่น และกลุ่มชิ้นส่วน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
นายพรชัย พิชิตวุฒิกร รองประธานอาวุโส สายงานกลยุทธ์ นวัตกรรม และพาณิชยกิจ กล่าวถึงกลยุทธ์ในมุมการผลักดันผลิตภัณฑ์สู่ความยั่งยืน โดยเริ่มจาก Circularity Pilar นอกจากการรักษามาตรฐานของเม็ดพลาสติก PP เกรดพิเศษ (Specialty) และเกรดคุณภาพสูง (Differentiated) ให้เหนือกว่าคู่แข่งเสมอ และยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Products) แบ่งได้ตามคุณสมบัติเด่นทั้ง 3 ประเภท คือ
Reduce : เม็ดพลาสติก PP ชนิด Bio-based ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ใช้แล้ว เช่น น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เป็นต้น ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการกระบวนผลิต โดยเม็ดพลาสติก PP ชนิด Bio-based ได้รับการ รับรอง ISCC PLUS จากหน่วยงาน International Sustainability and Carbon Certification ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อความยังยืน เม็ดพลาสติก PP แบบ Downgauging ที่มีความแข็งแรงและประสิทธิภาพการใช้งานสูงมาก จึงสามารถลดเนื้อพลาสติกในการขึ้นรูปชิ้นงานได้ แต่ยังใช้งานได้ดีดังเดิม
” Recycle : เม็ดพลาสติก PP รีไซเคิลเชิงเคมี (Chemical Recycling PP) คือ การนำพลาสติกที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Pyrolysis ก่อนนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตเม็ดพลาสติก PP อีกครั้ง โดยเม็ดพลาสติก PP รีไซเคิลเชิงเคมี ได้รับการรับรอง ISCC PLUS เช่นกัน เม็ดพลาสติก PP รีไซเคิล
เชิงกล (Mechanical Recycling PP) คือ เม็ดพลาสติก PP รีไซเคิล ที่ผลิตจากพลาสติก PP ที่ผ่านการใช้งานจากผู้บริโภคแล้ว (Post-Consumer Recycled, PCR) หรือพลาสติก PP จากการทิ้งหรือไม่ตรงตามความต้องการระหว่างกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม (PostIndustrial Recycled, PIR) โดยเม็ดพลาสติก PP รีไซเคิลเชิงกล ได้รับการรับรองมาตรฐาน GRS (Global Recycled Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่ให้การรับรองผลิตภัณฑรีไซเคิล
Redesign & Replace : เม็ดพลาสติก PP Monomaterial เม็ดพลาสติก PP สำหรับทดแทน Aluminum Foil ส่งผลให้บรรจุภัณฑ์ฟิล์มเป็นพลาสติกเนื้อเดี่ยว หรือ Monomaterial นำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้นเพราะไม่มีวัตถุดิบชนิดอื่นปะปน ในส่วน Carbon Neutrality Pilar นั้น ปัจจุบันได้เตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยการจัดทำ ข้อมูลฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footpint Products – CFPs) สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จำนวน 29 ผลิตภัณฑ์ในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อรวมกับปี 2565 ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองรวมแล้ว 60 ผลิตภัณฑ์และHMC Polymers ได้ก่อสร้างหอเผาระดับพื้น (Ground Flare) เพื่อลดมลพิษจากการเผาไหม้ที่หอเผาสูง (Elevated Flare) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ควบคุมควันดำได้เป็นอย่างดีรวมถึงลดเสียงและแสง
ทั้งนี้ เป้าหมายต่อไป คือ “Zero Flare” ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลก กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเสาสุดท้ายได้แก่ Connectivity Pilar คือ การนำองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีของบริษัทฯ เชื่อมโยงและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในสังคม อาทิ การจัดทำ แพลตฟอร์ม PP Reborn ชุบชีวิต PP กับ HMC Polymers พื่อให้ภาคประชาชนได้ส่งพลาสติก PP ใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบผลิตอีกครั้งตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยล่าสุดพลาสติก PP ใช้แล้วที่ได้จากแพลตฟอร์มฯ ยังได้รับการนำไปอัพไซเคิลเป็น Bed Pan หรือหม้อนอนสำหรับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับมูลนิธิอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)
นางสาวอังคณี สุนทรสวัสดิ์ รองประธาน สายการเงิน บัญชีและงานสนับสนุนองค์กร
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมและแผนกลยุทธ์การเงินของ HMC Polymers แม้การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2566 จะชะลอตัวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังขาดปัจจัยสนับสนุนตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 และแม้สาธารณรัฐประชาชนจีนจะกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศแต่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก ทั้งนี้ ธุรกิจปิโตรเคมีโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะอ่อนตัวจากปัจจัย อุปสงค์ยังคงชะลอตัวจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นและอุปทานส่วนเกิน ซึ่งเกิดจากกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามาในระหว่างปี ส่งผลให้การเติบโตของความต้องการผลิตภัณฑ์ PP ชะลอตัวและราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง บริษัทฯ ได้รับปัจจัยเชิงบวกจากการมุ่งเน้นในผลิตภัณฑ์ PP เกรดพิเศษ (Specialty) และเกรดคุณภาพสูง (Diferentiated) ซึ่งมีการแข่งขันน้อยกว่าและมีอัตราส่วนกำไรที่สูงกว่าในส่วนของการขายนั้น บริษัทฯ กระจายรายได้ไปยังอุตสาหกรรมปลายทางและจำหน่ายในหลายประเทศ
โดย (Market Diversification) ผ่านช่องทางการจำหน่ายที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้ปี 2566 HMC Polymers มีรายได้รวมประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยมีสัดส่วนรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเกรดพิเศษ SPDP (Specialty-Differentiated) กว่า 53% ของรายได้รวม ภาพรวมฐานะการเงินมีความแข็งแกร่งด้วยสินทรัพย์รวมมากกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท กระแสเงินสดมีสภาพคล่องในระดับเพียงพอ ด้วยฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง การเป็น ผู้นำในธุรกิจ PP ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ HMC Polymers ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดย บริษัท ฟิทซ์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)จำกัด อยู่ในระดับ A-(tha) และที่สำคัญเสียงตอบรับในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆของบริษัทมีอัตราเติบโตปีละ 10 % ทั้งสิ้น โดยบริษัทฯขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีให้ โดยในเดือนตุลาคม 2566 บริษัทฯ จำหน่ายหุ้นกู้เต็มวงเงิน 3,800 ล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้งไว้ คือ 3,000 ล้านบาท ช่วยตอกย้ำความพร้อมในการดำเนินธุรกิจไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและแข็งแกร่งบนรากฐานของความอย่างยั่งยืน ซึ่ง HMC Polymers ยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยกำลังการผลิตมากกว่า 1 ล้านตัน ซึ่งจะพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทั้งในด้านฐานการผลิต และการดำเนินธุรกิจทุกๆ มิติอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการบริหารงานสู่การเติบโตอย่างยังยืนอีกด้วย. -514-สำนักข่าวไทย