สนพ.คาดยอดใช้พลังงานปี 67 โต 3.1% ขณะที่ปี 66 โต 0.8%

กรุงเทพฯ 18 มี.ค. – สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยยอดใช้พลังงานขั้นต้นปี 2566 เพิ่มขึ้น 0.8 เทียบกับปีก่อน อยู่ที่ระดับ 2,007 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับปี 2567 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อยู่ที่ระดับ 2,063 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานทุกประเภท สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ


นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์พลังงานในปี 2566 พบว่า การใช้พลังงานขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับปีก่อน อยู่ที่ระดับ 2,007 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และการใช้ก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 9.1 จากฐานที่ต่ำกว่าปกติของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า ลดลงร้อยละ 6.4 เนื่องจากมีปริมาณการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว ลดลงจากปัญหาภาวะภัยแล้ง ซึ่งสถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงปี 2566 สรุปได้ ดังนี้

การใช้น้ำมันสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อยู่ที่ระดับ 138.4 ล้านลิตรต่อวัน โดยการใช้น้ำมันดีเซล ลดลงร้อยละ 5.7 เฉลี่ยอยู่ที่ 68.9 ล้านลิตรต่อวัน การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.4 ล้านลิตรต่อวัน สำหรับการใช้น้ำมันเครื่องบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 เฉลี่ยอยู่ที่ 13.7 ล้านลิตรต่อวัน ด้านน้ำมันเตา ลดลงร้อยละ 15.8 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 ล้านลิตรต่อวัน


การใช้ LPG โพรเพน และบิวเทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 อยู่ที่ระดับ 6,542 พันตัน โดยการใช้ LPG เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งมีสัดส่วนการใช้สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 43 มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 การใช้ภาคขนส่ง มีสัดส่วนร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 11 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 ในขณะที่การใช้เอง มีสัดส่วนร้อยละ 1 มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.9 ในขณะที่ภาคครัวเรือนมีสัดส่วนร้อยละ 31 ลดลงร้อยละ 0.6 การใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 อยู่ที่ระดับ 4,410 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมาจากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและราคาการนำเข้า LNG ระยะสั้น (Spot LNG) ที่ปรับตัวลดลง จึงมีการนำเข้า Spot LNG เพิ่มขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า สำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 3.3 และการใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ (NGV) ลดลงร้อยละ 2.5

ส่วนการใช้ ถ่านหิน/ลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 15.0 อยู่ที่ 14,450 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (KTOE) จากการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 13.3 และการใช้ถ่านหินในโรงไฟฟ้า IPP ลดลงร้อยละ 31.4 สำหรับการใช้ ลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 10.6 อยู่ที่ 3,179 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (KTOE) ทั้งนี้การใช้ลิกไนต์ร้อยละ 99 เป็นการใช้ในภาคการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำหรับสัดส่วนการใช้ลิกไนต์ที่เหลือร้อยละ 1 ถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เป็นต้นมา ยังไม่มีการใช้ลิกไนต์ในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการหมดอายุประทานบัตรของเหมืองลิกไนต์ในประเทศแล้ว

ด้านการใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 มีการใช้รวมทั้งสิ้น 203,923 ล้านหน่วย โดยมาจากการใช้ไฟฟ้าในส่วนของสาขาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและบริการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าในสาขาธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ไฟฟ้าในโรงแรมที่เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 22.5 ส่วนการใช้ไฟฟ้าของอพาร์ตเมนต์และเกสต์เฮาส์ ห้างสรรพสินค้า ขายปลีก และขายส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 3.7 6.9 และ 4.0 ตามลำดับ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในสาขาครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และสาขาอื่นๆ (องค์กรไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราว และไฟฟ้าสาธารณะ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าในสาขาอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนการใช้ถึงร้อยละ 42 มีการใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 2.6 จากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกหดตัวในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 ทั้งนี้ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ 3 การไฟฟ้าของปี 2566 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 21.41 น. อยู่ที่ระดับ 34,827 MW เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในระบบ 3 การไฟฟ้าของปีก่อน


สำหรับประมาณการความต้องการใช้พลังงานของประเทศปี 2567 นั้น มีการพิจารณาสมมติฐานสำหรับการประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ (GDP) ปี 2567 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.2 – 3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก อีกทั้งการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้คาดการณ์ว่าความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น ปี 2567 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อยู่ที่ระดับ 2,063 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานทุกประเภท สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 การใช้น้ำมันก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 การใช้น้ำมันสำเร็จรูป ปี 2567 จะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และประมาณการความต้องการไฟฟ้าปี 2567 จะมีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ตามสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าอุณหภูมิปี 2567 จะสูงขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ของปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 35,000 MW สูงกว่าปีที่แล้วเฉลี่ย 15-16%

“ ปีนี้อากาศร้อนขึ้นจะเห็นว่า พีคแรกของปีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ 32,508.2 MW ขณะที่ปี 2566 พีคไฟฟ้าอยู่ที่ 34,827 MW เมื่อ 6 พ.ค.66 เวลา 21.41น. ซึ่งปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สำรองไฟฟ้าลดลงเหลือ 30% ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีความต้องการให้ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้น น่าจะพีคอยู่ที่ประมาณ 35,000 MW ซึ่งจะส่งผลให้สำรองไฟฟ้าลดลงเหลืออยู่ที่ประมาณ 25%”

ส่วนความคืบหน้าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2566-2580 หรือ PDP 2024 คาดว่าจะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนต้นเดือนเมษายน 2567 เพื่อ ส่วนแผนพลังงานชาติ ซึ่งเป็นการบูรณาการ 5 แผนย่อยเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 1.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) 2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) 3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และ 5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) จะมีการเปิดรับฟังความเห็นได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบน.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป. -517-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ปะทะแล้ว บริเวณปราสาทตาเมือน หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง

สุรินทร์ 24 ก.ค.-ทบ.รายงานเหตุการณ์ปะทะบริเวณพื้นที่ปราสาทตาเมือน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ หลังฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิง เมื่อเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม 2568 วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เวลา 07.35 น. หน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนรายงานว่า ได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ของฝ่ายกัมพูชาบินวนอยู่บริเวณหน้าปราสาทตาเมือนธม แม้ไม่สามารถตรวจพบตัวอากาศยานได้ด้วยสายตา แต่สามารถได้ยินเสียงอย่างชัดเจน ต่อมาฝ่ายกัมพูชาได้นำอาวุธเข้าสู่ที่ตั้งบริเวณด้านหน้าแนวลวดหนาม และพบกำลังพลกัมพูชาจำนวน 6 นาย พร้อมอาวุธครบมือรวมทั้ง RPG เดินเข้ามาใกล้แนวลวดหนามบริเวณด้านหน้าฐานปฏิบัติการของไทย ฝ่ายไทยได้ใช้การตะโกนเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและยกระดับสถานการณ์ โดยฝ่ายไทยเฝ้าระวังตลอดแนวชายแดนเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาประมาณ 08.20 น. ฝ่ายกัมพูชาได้เปิดฉากยิงเข้ามาบริเวณตรงข้ามฐานปฏิบัติการทางทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือน ในระยะประมาณ 200 เมตร ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกองทัพบกกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ กำลังพลเจ็บ 2 นาย

กทม. 24 ก.ค.-ด่วน! เหตุปะทะทหารไทย-เขมร ลาม 6 พื้นที่ ทบ. เผยทหารกัมพูชา เปิดแนวรบเพิ่มที่ ผามออีแดง เขาพระวิหาร ส่วนทหารไทยงัดปืนใหญ่ตอบโต้ กำลังพลเจ็บ 2 นาย เมื่อวันที่ 24 ก.ค.68 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.ริชฌา สุขสุวานนท์ รองโฆษกกองทัพบก ระบุเพิ่มเติมว่า เวลา 0920 น. กองทัพบกพบการปะทะเพิ่มเติมตลอดแนวพื้นที่ผามออีแดง ปราสาทเขาพระวิหาร พบฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากใช้อาวุธทุกชนิดและ BM21 ส่วนฝ่ายไทยเข้าปะทะตามแผนพร้อมตอบโต้ปืนใหญ่สนาม 09.20 น. เจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บ 2 นาย จากอาวุธยิงสนับสนุน ในพื้นที่บริเวณกลุ่มปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่ที่มีการปะทะจำนวน 6 พื้นที่ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ช่องบก เขาพระวิหาร(ห้วยตามาเรีย/ภูมะเขือ) ช่องอ่านม้า ช่องจอม.-313.-สำนักข่าวไทย

ผบ.ทบ.นำคณะลงช่องอานม้า พรุ่งนี้ จ่อใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ

23 ก.ค.- “ผบ.ทบ.” สั่ง ทภ.2-ทภ.1 เตรียมพร้อม “แผนจักรพงษ์ภูวนาถ” รับมือชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมยกคณะลงพื้นที่บัญชาการ วันที่ 23 ก.ค.68 พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผข.ทบ.) ได้สั่งการไปยังกองทัพภาคที่ 2 และกองทัพภาคที่1 รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา เตรียมใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ แก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชาหลัง กำลังพลของกองทัพบกไทยจากชุดลาดตระเวน พัน.ร.14 ประสบเหตุเหยียบกับระเบิดบริเวณห้วยบอน ช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พิกัด VA 950911 ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการตามแนวชายแดน โดยส่งผลให้ จ่าสิบเอกพิชิตชัย บุญโคราช ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียขาขวา และอยู่ระหว่างการส่งตัวรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลน้ำยืน โดยให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เมื่อสั่งการ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก พลโท ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ รองเสธ ทบ. พลโทบุญสินพาดกลาง มทภ.2 […]

“บิ๊กต่าย” อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็น ตร.

ตร. 23 ก.ค. – ผบ.ตร. อยากเคลียร์ใจครอบครัว “น้องเมย” ปมคู่กรณีได้เป็นตำรวจใต้บังคับบัญชาหลังเกิดเหตุ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 12 จังหวัดปราจีนบุรี อ่านคำพิพากษากรณีที่ ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ น้องเมย นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 เสียชีวิตปริศนา หลังจากถูกธำรงวินัยโดยรุ่นพี่ทหาร 2 นาย ภายในโรงเรียนเตรียมทหาร เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ซึ่งหนึ่งในรุ่นพี่ที่เป็นจำเลย ปัจจุบันรับราชการตำรวจในภาคอีสาน พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ระบุว่า ตนได้รับรายงานเรื่องนี้แล้ว สิ่งที่อยากจะสื่อสารในประเด็นที่ 1 ตนอยากพบพ่อและแม่ของน้องเมยเป็นการส่วนตัว เพื่อจะได้พูดคุยให้เข้าใจในการปฏิบัติของตำรวจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ 2 กรณีที่คู่กรณีเป็นตำรวจ เราต้องมองย้อนไปในขณะที่เกิดเหตุ มองถอยหลังกลับไป คู่กรณีรายดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสถานะตำรวจ ฉะนั้นแล้วตามกฎหมาย พ.ร.บ.ตำรวจ ปี 2565 การดำเนินการทางวินัยจะดำเนินได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่ในสถานะตำรวจ ซึ่งขณะนั้นคู่กรณีถือว่าอยู่ภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนการพิจารณาทางวินัยตำรวจของคู่กรณี ตนได้สั่งให้จเรตำรวจแห่งชาติ นำไปประกอบการพิจารณา เนื่องจากวินัยและอาญาจะสามารถเชื่อมกันได้ในข้อเท็จจริงบางส่วน […]

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมน่านหนักสุดเป็นประวัติการณ์

น่าน 24 ก.ค. – ยังน่าห่วง น้ำท่วมเขตเศรษฐกิจและตัวเมืองน่าน หนักสุดเป็นประวัติการณ์ บางจุดท่วมสูงถึงชั้น 2 ของบ้าน ประชาชนติดอยู่ในบ้านกลางน้ำ ยิ่งค่ำยิ่งลำบาก .-สำนักข่าวไทย

อพยพประชาชน-ผู้ป่วย หนีภัยกระสุนปืนใหญ่

24 ก.ค. – โกลาหล! เจ้าหน้าที่อพยพประชาชน รวมทั้งผู้ป่วย 170 ราย หนีภัยกระสุนปืนใหญ่กลางเมืองกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ แพทย์-พยาบาล-ชาวบ้านตื่นตระหนก บางรายถึงกับร่ำไห้ ตลอดทั้งวันตั้งแต่ช่วงสายวันนี้เป็นต้นมา ชาว อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ต่างโกลาหล หลังเวลาประมาณ 10.50 น. มีจรวด BM21 ตกใส่ร้านสะดวกซื้อในปั๊ม ปตท.สาขาบ้านผือ ต.เมือง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บกว่า 10 ราย ห่างปั๊มออกไปราว 800 เมตร ยังพบผู้เสียชีวิตอีกหนึ่ง 1 ราย ภายในสวนยางพารา พนักงานร้านร้านสะดวกซื้อที่รอดชีวิตอย่างหวุด เล่านาทีระทึกขณะระเบิดลงหลายลูก และเกิดไฟลุกไหม้ จึงวิ่งหนีเอาตัวรอดทางประตูหลัง ช่วงเวลาใกล้ 15.00 น. ยังมีกระสุนปืนใหญ่มาตกบริเวณด้านหน้า ตชด.224 ห่างจากจุดเกิดเหตุแรก 1 กิโลเมตรเศษ ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน จรวด BM21 […]

ไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือด “ไทย-กัมพูชา”

24 ก.ค. – ไล่เรียงไทม์ไลน์เหตุปะทะเดือดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่เกิดขึ้นในวันนี้ (24 ก.ค.) มีที่มาที่ไปอย่างไร พลันที่ชุดลาดตระเวน กองพันทหารราบที่ 14 เหยียบกับระเบิดที่ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเย็นวานนี้ (23 ก.ค.) ทำให้ทหาร 1 นาย บาดเจ็บสาหัสขาขาด อีก 4 นาย บาดเจ็บ ซ้ำรอยเหตุทหารไทยเหยียบกับระเบิดจนขาขาดในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ ทำให้สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตึงเครียดถึงขีดสุด พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ยกระดับมาตรการตอบโต้สั่งปิดด่าน 4 แห่ง คือ ช่องอานม้า, ช่องสะงำ, ช่องจอม และช่องสายตะกู พร้อมปิดสถานที่ท่องเที่ยว 2 แห่ง คือ ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควายทันที 07.35 น. วันนี้ (24 ก.ค.) ความรุนแรงเริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม รายงานว่าได้ยินเสียงอากาศยานไร้คนขับ […]

ไม่พลาดเป้า! เอฟ-16 ทิ้งบอมบ์รอบ 2 กลับฐานปลอดภัย

24 ก.ค.- ทอ.เปิดปฏิบัติการ ส่งเอฟ-16 ทิ้งบอมบ์ฝั่งกัมพูชาไม่พลาดเป้า กลับฐานแล้วอย่างปลอดภัย เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 24 ก.ค.68 กองทัพอากาศ เปิดปฏิบัติการ ส่ง F-16 รอบ 2 ของวันนี้ 4 เครื่อง ในการโจมตีทางอากาศตอบโต้กองทัพกัมพูชา ในจุดสำคัญ ทางทิศใต้ของปราสาทตาเมือนธม ไม่พลาดเป้า โดยล่าสุด 17.00 น. F-16 ทั้ง 4 เครื่อง กลับฐานบิน ปลอดภัย หลังสนับสนุน เปิดปฏิบัติการ “ยุทธบดินทร์” -สำนักข่าวไทย