สนพ.เตือนรับมือราคาพลังงานโลกพุ่งปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า

กรุงเทพฯ 6 ก.ย.- สนพ.เตือนแนวโน้มราคาพลังงาน ขยับขึ้นตามตลาดโลกในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ส่วนยอดการใช้อาจขยับขึ้นอีก ตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล  ส่งสัญาณพัฒนาระบบสำรองไฟฟ้ารองรับพีคเกิดกลางคืนแต่พลังงานทดแทนผลิตช่วงกลางวันเพิ่มขึ้น


นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เตือนผู้บริโภครับมือราคาพลังงานในไตรมาส4 /66 และไตรมาส 1/67า ราคาจะขยับขึ้นตามฤดูกาลหน้าหนาวของยุโรปที่มีการใช้น้ำมันเพื่อทำความอบอุ่นมากขึ้น ในขณะที่ กลุ่มโอเปกพลัสโดยเฉพาะซาอุดีอาระเบียปรับลดกำลังผลิต โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงนี้ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี ส่วนการที่รัฐบาลมีแผนจะลดราคาน้ำมัน ลดค่าไฟฟ้า ทาง สนพ.ได้เตรียมข้อมูลเพื่อพร้อมดำเนินการตามนโยบายของรัฐ   ซึ่งการที่รัฐบาลมีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ฟรีวีซ่าให้ชาวจีน ก็คาดว่าจะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น  และอาจทำให้จีดีพีโตมากกว่าที่สภาพัฒน์ฯ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของไทยลงมาอยู่ที่โตร้อยละ 2.5-3.0 จากเดิมร้อยละ 3.0-4.0 ดังนั้น การใช้พลังงานของประเทศก็คาดว่าจะโตขึ้นจากเดิมที่คาดว่าการใช้พลังงานขั้นต้นของปีนี้จะโตร้อยละ 2.1  โดย สนพ. ยังคงติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาพลังงานอย่างใกล้ชิดเพื่อหาแนวทางและมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติพลังงานในอนาคตต่อไป 

โดยคาดการณ์ราคาน้ำมันครึ่งปีหลังน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 87 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เบนซินเฉลี่ย 69-105 เหรียญ/บาร์เรล และดีเซล 91-98 เหรียญ/บาร์เรล และราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG)  เอทานอลในช่วงไตรมาส 4 ภาพรวมคาดว่าจะสูงขึ้น ยกเว้นในส่วนของไบโอดีเซล(B100)ที่มีทิศทางลดลง


สำหรับคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 คาดว่าอยู่ที่ 77.0 – 87.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล คาดความต้องการพลังงานขั้นต้นของปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2,033 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ2.1 การใช้น้ำมัน คาด 836 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2     การใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 813 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 การใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ จะอยู่ที่ระดับ 322 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ลดลงร้อยละ 5.4 และคาดความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 201,913 ล้านหน่วย(GWh) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 

ทั้งนี้ สถานการณ์พลังงานครึ่งปีแรกของปี 2566 พบว่า ภาพรวมการใช้พลังงานขั้นต้นมีปริมาณการใช้ อยู่ที่ระดับ2,059 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และการใช้ก๊าซธรรมชาติปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 7.0 สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าในสาขาท่องเที่ยวและบริการที่เพิ่มขึ้นหลังเกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า ลดลงร้อยละ 10.7 จากปริมาณการนำเข้าไฟฟ้าพลังน้ำที่ลดลงเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้น้ำเหนือเขื่อนของ สปป.ลาว  มีปริมาณลดลง    ส่วนการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ปรับตัวลดลงจากการใช้ที่ลดลงทั้งในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม  โดยการใช้ถ่านหินลดลงร้อยละ 7.4 และการใช้ลิกไนต์ลดลงร้อยละ 6.3

สถานการณ์พลังงานรายเชื้อเพลิงช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่าการน้ำมันสำเร็จรูป มีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับ142.6 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7  น้ำมันดีเซล  72.3 ล้านลิตรต่อวัน ลดลงจากครึ่งปีแรกของปีก่อน ร้อยละ3.7(ลดจากปีที่แล้วมีการใช้ดีเซลผลิตไฟฟ้าทดแทนแอลเอ็นจีนำเข้าที่มีราคาสูง) การใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลอยู่ที่ 31.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.2 การใช้น้ำมันเครื่องบิน อยู่ที่ 13.7 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.2  การใช้น้ำมันเตา อยู่ที่ 6.1 ล้านลิตรต่อวัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


การใช้ LPG  มีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับ 3,264 พันตัน ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.5 แยกเป็นปิโตรเคมี ร้อยละ 43 มีการใช้ลดลงร้อยละ 4.1 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 11 มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ภาคครัวเรือน มีสัดส่วนร้อยละ 31 มีการใช้ลดลงร้อยละ 1.7 การใช้ในรถยนต์ ร้อยละ 14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ให้คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นมา 

ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณการใช้อยู่ที่ระดับ 4,435 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยมาจากการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8  จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการใช้NGVเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากการที่ภาครัฐยังคงมาตรการคงราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 17.59 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ถึง 15 มิถุนายน 2566 ในขณะที่การใช้ในภาคอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 4.0 และ 6.1 ตามลำดับ ซึ่งมาจากความต้องการสินค้าและบริการของโลกที่ลดลง โดยสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เฉลี่ยของครึ่งปีแรกที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ถ่านหิน/ลิกไนต์ มีการใช้รวมทั้งสิ้นอยู่ที่ระดับ 7,820 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (KTOE) ลดลงร้อยละ 7.2 สำหรับการใช้ลิกไนต์ อยู่ที่ 1,629 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (KTOE) ลดลงร้อยละ 6.3 

การใช้ไฟฟ้า อยู่ที่ 101,043 ล้านหน่วย (GWh) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2  การใช้ภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 3.8 จากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกหดตัว การใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้นร้อยละ4.8  และสาขาอื่น ๆ (องค์กรไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราว และไฟฟ้าสาธารณะ) เพิ่มขึ้นร้อยละ10.5 ทั้งนี้ ในปี 2566 มีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด(พีก)ของระบบ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา21.41 น. อยู่ที่ระดับ 34,827 MW เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0  พีคที่เกิดขึ้นช่วงกลางคืน แต่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นช่วงกลางวัน เพราะการเข้ามาของพลังงานทดแทนเช่น โซลาร์ ลม  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องมาพิจารณาในเรื่องของการส่งเสริมพลังงานที่ควบคู่ไปกับระบบสำรองไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น โรงไฟฟ้าตามเขื่อนแบบสูบกลับเช่นลำตะคองเป็นเรื่องจำเป็นต้องพัฒนาไปยังเขื่อนอื่นๆต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย