fbpx

5 หน่วยงานยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์สู่เทคโนโลยีสมัยใหม่

กรุงเทพฯ 6 ก.ค.- สกสว. จับมือ บพข. สนช. สยย. และ EVAT ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มุ่งสริมสร้างความร่วมมือ สนับสนุนผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนการยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการผลิต 


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จับมือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) สถาบันยานยนต์ (สยย.) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อให้เกิดกิจกรรมในการขับเคลื่อนการยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้อย่างยั่งยืน  

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรรมการและเลชานุการร่วมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างงานในประเทศ โดยในปี ค.ศ.2022 ไทยผลิตรถยนต์ 1.88 ล้านคัน มากเป็นอันอันดับ 10 ของโลก โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2023 ประเทศไทยจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ 1.95 ล้านคัน แบ่งเป็นการตลาดในประเทศ 0.90 ล้านคัน ส่งออก 1.05 ล้านคัน ซึ่งการผลิตยานยนต์ในประเทศไทย เริ่มต้นจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า สู่การเป็นฐานการผลิตที่ส่งออกไปทั่วโลก ด้วยการมี Product champion ที่ตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ขณะที่ปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการผลิตยานยนต์ที่มีคุณสมบัติ“สะอาด-ประหยัด-ปลอดภัย” ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


แม้ว่าไทยจะยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก แต่ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากภายในและภาย หลายประการอาทิ การมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์โลก 

ดังนั้น ด้วยความท้าทายดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ด้วยการใช้ความเข้มแข็งต่อยอดสิ่งใหม่ ๆ จากการทำวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและนักวิจัยอย่างใกล้ชิด ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการร่วมมือพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยต่อไปได้ในอนาคต ประกอบด้วย การคงความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่ต่อยอดไปสู่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และเพื่อส่งเสริมการผลิต เครื่องยนต์สันดาปภายใน(ICE)อีก 70% ที่เหลือจากนโยบาย 30@30 ให้เป็น ICE สะอาด ซึ่งสมอ. เตรียมประกาศใช้มาตรฐานการปล่อยมลพิษรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจากมาตรฐานยูโร4 เป็นมาตรฐานยูโร6 ในปี2525 การพัฒนาผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทย ให้มี Agility ในการผลิตสูงขึ้น เพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน และไทยต้องเปลี่ยนจากการแข่งขันโดยการเป็นฐานการผลิตต้นทุนต่ำ สู่ฐานการผลิตที่มีต้นทุนที่น่าดึงดูก โดยต้องมีความสามารถด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการรับจ้างผลิตควบคู่ไปด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์อันดับ 10 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน ที่มีจุดแข็งในเรื่อง Supply Chain ของชิ้นส่วนยานยนต์ และความชำนาญในการผลิต จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะช่วงชิงความได้เปรียบในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัว เพื่อก้าวข้ามการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แบบเดิมไปสู่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จึงมีความจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ สามารถพึ่งพาตนเอง และแข่งขันในตลาดโลกได้มั่นคงและยั่งยืน 


สกสว. และหน่วยงานภาคีอีกทั้ง 4 หน่วยงาน จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกันสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ Startup และ SME เร่งสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ให้สามารถเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ รวมถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ในตลาดอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อไป .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด