ยอดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยต้นปีไม่ค่อยดีนัก

กรุงเทพฯ 26 มี.ค.-ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีฯ (GIT) ชี้ปัจจัยภายนอกยังน่ากังวล ฉุดยอดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ม.ค.66 ติดลบเล็กน้อย แต่คุณภาพสินค้าไทย ตลาดโลกต้องการดีอยู่ พร้อมหารูปแบบสินค้าใหม่ๆ จัดประกวดออกแบบเครื่องประดับระดับโลกปีที่ 17 ถึงวันที่ 12 พ.ค.66 ผ่านเว็บไซต์ www.gitwjda.com

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนม.ค.2566 มีมูลค่า 573.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.19% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 732.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.51% ซึ่งเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ของปี 2565 เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของคู่ค้าไทยหลายประเทศ ปัญหาวิกฤตพลังงาน ที่ส่งผลต่อกำลังการบริโภคของประชาชน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญ พบว่าหลายตลาดยังคงขยายตัวได้ดี เช่น สหรัฐฯ เพิ่ม 18.88% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 52.68% ญี่ปุ่น เพิ่ม 11.10% เบลเยี่ยม เพิ่ม 10.28% สวิตเซอร์แลนด์ เพิ่ม 26.25% อิตาลี เพิ่ม 499.16% ส่วนเยอรมนี ลด 0.96% ฮ่องกง ลด 20.03% สหราชอาณาจักร ลด 35.74% และอินเดีย ลด 68.50%  โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องประดับทอง เพิ่ม 34.56% พลอยก้อน เพิ่ม 19.97% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 78.88% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 74.18% ส่วนเครื่องประดับเงิน ลด 21.76% เครื่องประดับแพลทินัม ลด 64.42% เพชรก้อน ลด 18.38% เพชรเจียระไน ลด 39.01% เครื่องประดับเทียม ลด 24.06% เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำจากโลหะมีค่า ลด 17.16% และทองคำ ลด 14.81% นอกจากนี้ แม้เศรษฐกิจในปีนี้ ที่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนให้นานาประเทศคำนึงถึงสิ่งที่คาดไม่ถึง ท่ามกลางโลกที่เสี่ยงต่อความตื่นตระหนกมากขึ้น ทั้งวิกฤตหลังโควิด-19 ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน และล่าสุดแผ่นดินไหวในซีเรียและตุรกี รวมถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจของชาติสำคัญ ที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งล้วนแต่กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลก คาดว่าอัตราการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.9% ลดจาก 3.4% ในปี 2565 ดังนั้น ผู้ประกอบการไทย จะต้องเร่งปรับตัวและใช้การทำตลาดที่เน้นเกาะกระแส BCG สร้างการมีส่วนร่วมให้เป็นสินค้ารักษ์โลก มีแนวทางการลดก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน สร้างอัตลักษณ์ให้สินค้า เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะให้เกิดกับสินค้า และใช้นวัตกรรมเข้ามาทำการตลาด และควรมองหาโอกาสจากตลาดที่มีจะกลับมามีบทบาทอย่างจีน จากการเปิดประเทศ ประเทศตะวันออกกลาง ที่มีกำลังซื้อสูง รวมทั้งตลาดเกิดใหม่อย่างอินเดีย ที่มีแนวโน้มความต้องการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ตาม เพื่อหารูปแบบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยใหม่และตรงใจผู้บริโภคและตลาดใหม่ๆของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย สถาบัน GIT เปิดเวทีให้นักออกแบบไทย-เทศ ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลงานออกแบบเครื่องประดับ ชิงรางวัล GIT’s World Jewelry Design Awards 2023 ภายใต้แนวคิด “Glitter & Gold – The Brilliant Way of Gold Shine” เครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทองอร่ามกับประกายระยิบระยับของอัญมณี ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 240,000บาท ซึ่งโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเปิดกว้างให้นักสร้างสรรค์ และนักออกแบบ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจได้มีเวทีที่จะปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และแรงกระตุ้นให้นักออกแบบไทยและต่างชาติ ได้พัฒนาศักยภาพ และวิสัยทัศน์ ก่อให้เกิดเกิดการแลกเปลี่ยนแนวความคิด รวมถึงมุมมองระหว่างนักออกแบบ

นอกจากนี้ สถาบันฯ GIT ได้กำหนดหัวข้อการประกวดภายใต้หัวข้อ “Glitter & Gold – The Brilliant way of Gold Shine” เครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทองอร่ามกับประกายระยิบระยับของอัญมณีหลากชนิดที่ผสมผสานเข้ากันจนเป็นงานสร้างสรรค์ที่ลงตัว เกิดเป็นผลงานเครื่องประดับที่งดงาม โดดเด่น และมีเอกลักษณ์ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะได้เห็นผลงานที่สามารถนำเสนอความสวยงามของวัสดุอันล้ำค่าอย่างทองคำ และประกายระยิบระยับของอัญมณี ประกอบกันเป็นเครื่องประดับที่มีความสวยงาม สอดคล้องกับเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอย่างลงตัว และจะต้องสามารถนำมาพัฒนาเป็นจิวเวลรี่ที่จำหน่ายได้จริง ซึ่งการประกวดครั้งนี้มีรางวัลมูลค่ารวมกว่า 240,000 บาท โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ โดยนักออกแบบจะต้องส่งแบบวาดไม่จำกัดเทคนิค หรือภาพเขียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ตรงกับหัวข้อ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นใน 1 ชุดหรือคอลเลคชั่น โดยในคอลเลชั่นนั้นจะต้องมีสร้อยคอเป็นหลัก และเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ต่างหู แหวน กำไล ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ – 12 พฤษภาคม 66 ผ่านทางเว็บไซต์ www.gitwjda.com หรือส่งผลงานพร้อมใบสมัครทางไปรษณีย์ หรือส่งผลงานด้วยตัวเองที่ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เลขที่ 140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายฝึกอบรม โทร. +66 2 634 4999 ต่อ 301-306 และ 311-313 และดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ www.gitwjda.com .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ทรัมป์อยากเป็นประธานาธิบดี

“ทรัมป์” ไม่ล้อเล่น อยากเป็นประธานาธิบดีสมัย 3

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีเมื่อวานนี้ว่า เขาไม่ได้ล้อเล่นเกี่ยวกับการกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอีกเป็นสมัยที่ 3

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์