ธปท.ออกมาตรการแก้ภัยทุจริตการเงิน

กรุงเทพฯ 9 มี.ค.- ธปท.ออกมาตรการแก้ปัญหามิจฉาชีพหลอกดูดเงินห้ามสถาบันการเงินส่ง SMS-อีเมลแนบลิงก์โอนเงินเกิน 50,000 บาท-เปลี่ยนวงเงิน ต้องสแกนใบหน้า ชี้ปี 65 โมบายล์แบงก์กิ้งเสียหายพุ่งกว่า 70% แอปฯ ดูดเงินเสียหายกว่า 500 ล้านบาท คาด พ.ร.ก.ปราบอาชกรรมเทคโนโลยีทันรัฐบาลนี้


นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน ที่ผ่านมา ธปท.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกภาคการเงินแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายเรื่องดำเนินการแล้ว เช่น ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) ปิด SMS ที่แอบอ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพใช้แอบอ้างติดต่อประชาชน ทำให้ภัยหลอกลวงทาง SMS ลดลง แต่ปัจจุบันยังมีจุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม  โดยเฉพาะการเข้าถึงประชาชนของมิจฉาชีพที่ทำได้หลายช่องทางและหลายรูปแบบกระบวนการอายัดบัญชีผิดปกติที่ยังใช้เวลานาน การซื้อขายบัญชีม้าที่ยังมีอยู่มาก ธปท. จึงออกแนวนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่ง ปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน. เขื่อว่าจะป้องกันความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับมาตรฐานการบริการจัดการภัยไซเบอร์ของสถาบันทางการเงินให้นำไปสู่การบริการจัดการที่ดีขึ้น

นางสาว สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน เปิดเผยว่า ชุดมาตรการด้านการป้องกัน ตรวจจับ ตอบสนองและรับมือ มีรายละเอียดคือ 


  1. มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น ให้สถาบันการเงินงดส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน และเลขบัตรประชาชนผ่านโซเชียลมีเดียจำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username)ต่อ 1 อุปกรณ์เท่านั้น ต้องแจ้งเตือนก่อนทำธุรกรรมบนmobile banking ทุกครั้ง และพัฒนาระบบความปลอดภัย ให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ตลอดจนต้องยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วยการใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของลูกค้า (biometrics) เช่น สแกนใบหน้า ในกรณีลูกค้าขอเปิดบัญชีโดยผ่านแอปพลิเคชัน (non-face-to-face) หรือทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้ง ในเงื่อนไขที่กำหนดเช่น โอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ จะกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวันให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยลูกค้าสามารถขอปรับได้ตามความจำเป็น และต้องยืนยันตัวตน
  2. มาตรการตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัย เพื่อให้ สง. ช่วยจำกัดความเสียหายได้เร็วขึ้น และลดการใช้บัญชีม้า ธปท. จะกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมเข้าข่ายผิดปกติ หรือกระทำความผิด เพื่อให้สถาบันการเงินรายงานไปสำนักงาน ปปง. รวมทั้งต้องมีระบบตรวจจับและติดตามบัญชี หรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบnear real-time เพื่อให้สามารถระงับธุรกรรมได้ทันทีเป็นการชั่วคราวเมื่อตรวจพบ
  3. มาตรการตอบสนองและรับมือ เพื่อจัดการปัญหาให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องมีสายด่วน24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งเหตุได้โดยเร็ว รวมทั้งให้ดูแลรับผิดชอบผู้ใช้บริการ หากพบว่าความเสียหายเกิดจากข้อบกพร่องของสถาบันการเงิน

ทั้งนี้ ธปท. ได้เร่งให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินมาตรการทั้งหมดโดยเร็ว ส่วนใหญเริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนบางมาตรการที่ซับซ้อนจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.2566 โดย ธปท. จะประเมินและทบทวนปรับปรุงเป็นระยะ เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขภัยทุจริตทางการเงินได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม การจัดการและแก้ไขภัยทางการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จขึ้น ต้องอาศัย พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ทันรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะช่วยให้ปิดช่องว่าง ธุรกรรมต้องสงสัย  ระงับการทำธุรกรรมได้ทันท่วงที และกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับบัญชีม้าที่ชัดเจนขึ้น

นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีกำหนดแถลงข่าวมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินของ ธปท. เปิดเผยว่า สถิติ ปี2565 พบว่ารูปแบบการหลอกลวงดูดงินจากบัตรเดบิตและเครดิตลดลง กว่าครึ่ง ขณะที่การหลอกลวงผ่านโมบายแบงก์กิ้ง มีจำนวนเพิ่มขึ้น 79% มูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้น 72% ขณะที่มูค่าความเสียหายถูกหลอกดูดเงินทางแอพลิเคชันมากกว่า 500 ล้านบาท

ส่วนกรณีที่มีการกำหนด ให้ต้องมีการยืนยันตัวตนเมื่อมีการเบิกถอนโอนจ่าย มากกว่า 50,000 บาท ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง เนื่องจากสถิติพบว่าในแต่ละวัน จะมีผู้โอนเงินมากกว่า 50,000 บาทอยู่ประมาณ 1% จากจำนวนธุรกรรมที่มีอยู่ประมาณ 48 ล้านรายการต่อวันจึงมองว่าเป็นข้อกำหนดที่เหมาะสมกับสถานการณ์.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้