ธนาคารแห่งประเทศไทย 2 ธ.ค.-ธนาคารกลางสมาชิก BIS เห็นพ้องทบทวนคาดการณ์ปัญหาเงินเฟ้อโลกยุคใหม่ “ลาการ์ด” ประธานธนาคารกลางสหภาพยุโรป เพื่อดึงเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมายให้ต่ำลง
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวระหว่างเป็นเจ้าภาพร่วมกับ BIS จัดงานสัมมนา BOT 80th Anniversary BOT-BIS conference ในหัวข้อ “Central Banking amidst Shifting Ground” เพื่อเน้นบทบาทของธนาคารกลางต่อความท้าทายข้างหน้า 3 ประเด็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาเงินเฟ้อ นวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ รวมถึงบทบาทของธนาคารกลางรองรับภาวะโลกร้อน โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารกลางต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ และผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนสถาบันการเงิน และสถาบันวิจัยของ ไทย เข้าร่วมหารือ
ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับว่า ปัญหาเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ธนาคารกลางหลายแห่งคาดผิดคิดว่าปัญหาเงินเฟ้อจะเกิดเพียงระยะสั้น จึงเปิดปัญหาช็อค คือ โควิด-19 ทำให้มีปัญหาการผลิตสินค้า สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ส่งผลการค้าโลกลดลง ปัญหาเงินเฟ้อจึงสูงต่อเนื่องยาวนาน เนื่องปัจจุบันการผลิตสินค้า รองรับไม่ทันกับความต้องการบริโภคของหลายประเทศ
นายณชา อนันต์โชติกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวสรุปผลการสัมนาว่า เวทีประชุมธนาคารกลางสมาชิก BIS ยอมรับ บางประเทศกังวลเศรษฐกิจถดถอย แต่ไม่มีปัญหาเหมือนกันทุกประเทศ โดยนางคริสติน ลาการ์ด(Christine Lagarde) ประธานธนาคารกลางสหภาพยุโรป เรียกร้องให้เวทีประชุม การยึดมั่นดูแลสเสถียรภาพราคาเพื่อดึงอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงกลับสู่เป้าหมาย เพื่อไม่ให้ต้นทุนค่าครองชีพแพง เวทีประชุมเห็นพ้อง ต้องทบทวน การคาดการณ์ปัญหาอัตราเงินเฟ้อในโลกยุคใหม่ ให้สอดคล้องกับปัญหาเสถียรภาพราคา เพื่อเข้าไปดูแลปัญหาเงินเฟ้ออย่างทันท่วงที ไม่ทำให้ตลาดเงินโลกผันผวน เพราะที่ผ่านมา สหรัฐ มองว่าปัญหาเงินเฟ้อ เกิดขึ้นจะเป็นเพียงช่วงสั้นแต่ความจริงกินเวลานาน เนื่องจากปัญหาโควิด-19 มีปัญหาต่อเนื่องหลายปี
ในเวที สัมมนา หารือ ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง ไม่เคยเกิดเป็นมาก่อน ธนาคารกลางทั่วโลก เร่งแก้ปัญหาเงินเฟ้อไปพร้อมๆกัน ไม่ได้หารือกัน เพราะแต่ละประเทศมีปัญหาหนัก จึงเกิดปัญหาตลาดเงินผันผวนไปทั่วโลก เช่น สหรัฐเป็นห่วงเงินเฟ้อสูง เร่งเพิ่มดอกเบี้ย อินโดนิเซียน มีปัญหาการผลิตอาหาร การขนส่งสินค้า การอ่อนค่ากุลเงิน จึงต้องนำเข้าสูงมาก และต้องใช้ทุนสำรองจำนวนแทรกแซงค่าเงิน จีน มีผลกระทบอัตราเงินเฟ้อน้อยมาก ร้อยละ 2 จึงไม่สูงนัก เพราะผลิตอาหาร ผลิตพลังงาน สหภาพยุโรป บอกว่าเงินเฟ้อร้อยละ 10 เพราะพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ทุกประเทศ จึงขอยึดมั่นการรักษา เสถียรภาพราคา เพื่อความเชื่อมั่นต่อธนาคารกลางในการดูแลเศรษฐกิจ.-สำนักข่าวไทย