ครม.เห็นชอบร่างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่นระยะ 5 ปี

ทำเนียบฯ 15 พ.ย.-ครม.เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่นระยะ 5 ปี ขับเคลื่อนความร่วมมือหลัก 3 ด้าน


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น ในระยะ 5 ปี และร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน โดยทั้งสองประเทศจะมีการลงนามรับรองเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 16 – 19 พ.ย. 2565 ร่างเอกสารแต่ละฉบับ มีสาระสำคัญ อาทิ

ฉบับแรก คือ ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น ในระยะ 5 ปี เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศในการดำเนินความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในห้วงปี 2565 – 2569 โดยมีความร่วมมือ 3 ด้านหลัก ดังนี้


ความร่วมมือหลักด้านที่ 1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปรับปรุงกฎระเบียบ และนวัตกรรม ประกอบด้วย

  • 1.1 การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการส่งเสริมการลงทุน อาทิ ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจการลงทุนจากญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เช่น เครื่องจักรระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์  ยานยนต์สมัยใหม่ ยา อุปกรณ์การแพทย์และด้านสุขภาพ เป็นต้น ส่งเสริมกิจการของบริษัทญี่ปุ่นที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของไทย โดยเฉพาะโครงการหลักในเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย เช่น EEC
  • 1.2 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษาขั้นสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ (1)การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยJICA เช่น ส่งเสริมนโยบายประเทศไทย 4.0 ขยายเครือข่ายการศึกษาระดับสูงในอาเชียนและภูมิภาคอื่น กำหนดหลักสูตรโคเซ็นของญี่ปุ่นให้เหมาะสม และสนับสนุนความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับสถาบันไทยโคเซ็น 
  • 1.3 การส่งเสริมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ Start – up อาทิ ส่งเสริมการลงทุนและการเพิ่มจำนวน Start – up โดยร่วมมือระหว่าง SMEs และ Start – up ของไทยและญี่ปุ่นในภาคอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอัจฉริยะ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอุปกรณ์ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ ยานยนต์ไฟฟ้า
  • 1.4 การพัฒนาด้านอวกาศ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อาทิ ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 
  • 1.5 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย และ EEC  อาทิ  (1)ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่นสุขภาพ ดิจิทัล เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ โลจิสติกส์ การวิจัยและพัฒนา (2)ส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่กำลังดำเนินการร่วมกับญี่ปุ่นใน EEC เช่น เมืองอัจฉริยะ เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโครงการวิจัยด้านสุขภาพจีโนมิกส์ประเทศไทย และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

ความร่วมมือหลักด้านที่ 2 เศรษฐกิจชีวภาพ เศษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) ประกอบด้วย 

  • 2.1 อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน และอุตสาหกรรมสีเขียว อาทิ ส่งเสริมการขยายการลงทุนและธุรกิจใหม่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ร่วมมือเพื่อส่งเสริมแนวคิด 3Rs (Reduce, Reuse and Recycle)
  • 2.2 สิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน อาทิ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและระบบการจัดการพลังงานแบบรัฐต่อรัฐ 
  • 2.3 การเกษตรอัจฉริยะและการแปรรูปอาหารอาทิ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
  • 2.4 การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ อาทิ ปรับปรุงการบริหารการเงินของระบบประกันสุขภาพสาธารณะในไทย การเข้าถึงนวัตกรรมด้านเภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่นในไทย แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับยาและอุปกรณ์การแพทย์ 
  • 2.5 การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ อาทิ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพโดยแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก

ความร่วมมือหลักด้านที่ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย


  • 3.1 การคมนาคมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยง อาทิ ร่วมมือและการลงทุนในด้านการวิจัยและนวัตกรรม 
  • 3.2 การค้าดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) อาทิ แบ่งปันองค์ความรู้ สร้างธุรกิจการบริการที่เชื่อถือได้และพัฒนาสภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เป็นธรรม 
  • 3.3 โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (การสื่อสาร) อาทิ ยกระดับเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน จับคู่สถาบันวิจัยกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง พัฒนาขีดความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ 
  • 3.4 เมืองอัจฉริยะอาทิ แบ่งปันองค์ความรู้ด้านนโยบายเมืองอัจฉริยะระหว่างสองประเทศ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา(R&D) การลงทุนร่วมในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล 
  • 3.5 การพัฒนาเมือง อาทิ แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ฉบับที่สอง คือ ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน เป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน” ผ่านร่างแผนปฏิบัติการร่วม เพื่อให้นำร่างแผนปฏิบัติการร่วมไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าและความมั่งคั่งร่วมกันของทั้งสองประเทศ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้