แนะเลี่ยงถนนรัชดาฯ หน้า SCB สนญ. ม็อบนัดรวมตัววันนี้
“ บช.น. แนะนำหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนรัชดาฯ หน้า SCB สำนักงานใหญ่ กรณีมีผู้มาชุมนุมฯ อาจส่งผลกระทบการจราจร วันที่ 25 พ.ย.2563
“ บช.น. แนะนำหลีกเลี่ยงเส้นทางถนนรัชดาฯ หน้า SCB สำนักงานใหญ่ กรณีมีผู้มาชุมนุมฯ อาจส่งผลกระทบการจราจร วันที่ 25 พ.ย.2563
-นายกฯ ขอบคุณนักลงทุนสหรัฐ ที่เชื่อมั่นและลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนสหรัฐ มั่นใจไทยจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูอาเซียนภายหลังโควิด-19 คลี่คลาย พร้อมยินดีร่วมมือกับไทยในการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง
กลุ่มชายฉกรรจ์ ตัดผมเกรียน ยังคงปักหลักหน้า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขณะที่ตำรวจกำลังพิจารณาเปิดการจราจรบางจุดหรือไม่
กรุงเทพฯ25 พ.ย. ทวิตเตอร์ชวนทุกคนร่วมแสดงความเห็นเพื่อปรับปรุงมาตรฐานระบบยืนยันตัวตน จากนโยบายที่ทวิตเตอร์ได้มีการระงับระบบการยืนยันตัวตนการเป็นบุคคลสาธารณะไว้เมื่อสามปีก่อน เนื่องจากได้รับฟีดแบ็กว่า เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าสามารถขอได้โดยไม่มีกฎเกณฑ์และสร้างความสับสนให้กับผู้คน หลังจากนั้นทวิตเตอร์ได้ลดความสำคัญของระบบนี้ เพื่อไปมุ่งมั่นตั้งใจกับการปกป้องความเป็นเอกภาพของบทสนทนาสาธารณะบนทวิตเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2020 นับตั้งแต่นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครสามารถได้รับการยืนยันตัวตนได้บ้าง หรือเมื่อไหร่และทำไมผู้ใช้บัญชีนั้นถึงไม่ได้รับการยืนยันตัวตน หรือทำอย่างไรจึงจะได้รับการยืนยันตัวตน ทวิตเตอร์ทราบดีว่าการสามารถแสดงออกถึงตัวตนและรู้ว่าคุณกำลังสนทนาอยู่กับใครบนทวิตเตอร์นั้นสำคัญเพียงใดดังนั้นในวันนี้ทวิตเตอร์จึงอยากบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงแผนงาน ว่าทุกคนสามารถระบุตัวตนบนทวิตเตอร์ได้อย่างไร โดยเริ่มจากการยืนยืนตัวตนและขอให้สาธารณชนส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างนโยบายยืนยันตัวตนใหม่กลับมาให้ทวิตเตอร์ เนื่องจากการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการบทสนทนาสาธารณะการร้องขอความเห็นจากประชาชนจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนานโยบายของเรา เพราะเราต้องการให้กฎต่างๆ นั้นมาจากเสียงสะท้อนของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ ทวิตเตอร์กำลังวางแผนที่จะกลับมาเปิดตัวการยืนยันตัวตน รวมทั้งขั้นตอนการสมัครการยืนยันตัวตนสาธารณะแบบใหม่ในช่วงต้นปี 2564 ทั้งนี้เราต้องการความช่วยเหลือจากผู้คนในการอัปเดตนโยบายการยืนยันตัวตนเสียก่อน โดยนโยบายนี้จะเป็นการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต ด้วยการกำหนดถึงการยืนยันตัวตนว่ามีความหมายอย่างไร ใครสามารถขอเครื่องหมายเพื่อยืนยันตัวตนนี้ได้บ้าง และทำไมบัญชีผู้ใช้งานบางคนที่มีเครื่องหมายนี้อยู่แต่อาจจะถูกลบออก เพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนนั้นมีความเท่าเทียมมากขึ้น เริ่มที่การกำหนดประเภทหลักของบัญชีผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบุคคลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจะได้รับการยืนยันตัวตนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายที่ได้เสนอไปแล้วนั้น “เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าบนทวิตเตอร์ช่วยให้ทุกคนทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานนี้เป็นบุคคลสาธารณะที่เป็นของจริง ซึ่งการจะขอรับเครื่องหมายนี้ได้ บัญชีผู้ใช้งานนั้นจะต้องมีชื่อเสียงและมีการใช้งานอยู่เป็นประจำ” บัญชีผู้ใช้งาน 6 ประเภทที่ทวิตเตอร์จะเริ่มต้นระบุการยืนยันตัวตน ได้ คือ หน่วยงานรัฐบาล บริษัท แบรนด์สินค้าต่างๆ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สำนักข่าว องค์กรหรือบุคคลในวงการบันเทิง องค์กรหรือบุคคลในวงการกีฬา นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และบุคคลอื่นๆ ที่เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ ทวิตเตอร์ยังได้กำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมว่าสามารถลบเครื่องหมายยืนยันจากบัญชีนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ เช่น ถ้าหากบัญชีนั้นไม่ได้มีการใช้งาน หรือข้อมูลของโปรไฟล์ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนอาจจะมีการปฏิเสธหรือลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่ผ่านการรับรองแล้ว เนื่องจากมีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์บ่อยครั้งเป็นต้น ทวิตเตอร์ตระหนักดีว่า ปัจจุบันมีบัญชีที่ไม่สมควรได้รับการยืนยันตัวตนอยู่เป็นจำนวนมากบนทวิตเตอร์ ดังนั้นจึงกำลังมีการเริ่มดำเนินการลบเครื่องหมายออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานหรือมีโปรไฟล์ที่ให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติเพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของเราและขยายแผนการเพื่อเพิ่มเติมประเภทของบัญชีต่างๆ ให้สามารถเสร็จสิ้นในปี2564 ทวิตเตอร์ทราบดีว่าไม่สามารถแก้ปัญหาการยืนยันตัวตนได้จากนโยบายใหม่นี้ได้เพียงทางเดียว และนโยบายเบื้องต้นในการยืนยันตัวตนอาจไม่ได้ครอบคลุมถึงทุกกรณี แต่นี่คือก้าวแรกที่สำคัญในการช่วยให้เรามีมาตรฐานที่โปร่งใสและยุติธรรมมากยิ่งขึ้นในการยืนยันตัวตน เนื่องจากเรากำลังจัดลำดับความสำคัญของระบบงานนี้อยู่ โดยนโยบายในตอนนี้คือจุดเริ่มต้นที่เราตั้งใจที่จะขยายประเภทของบัญชีต่างๆ และกฏเกณฑ์สำหรับการยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์อย่างมีนัยสำคัญในปีต่อไป ทวิตเตอร์ได้จัดทำการสำรวจแบบย่อของร่างนโยบายการยืนยันตัวตนซึ่งมีทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษาอาหรับ ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาญี่ปุ่น และขณะนี้ทวิตเตอร์กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานเอกชนในแต่ละประเทศและคณะกรรมการเพื่อความเชื่อมั่นและความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีการนำเสนอมุมมองต่างๆ ให้ได้มากที่สุด หากผู้ใช้งานต้องการแสดงความคิดเห็นผ่านการทวีต ทวิตเตอร์ก็พร้อมรับฟังเช่นกัน เพียงติดแฮดแท็ก #VerificationFacebook ระยะเวลาในการส่งฟีดแบ็กเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 8 ธันวามคม 2563 หลังจากนั้นทวิตเตอร์จะพิจารณาความคิดเห็นของทุกคนเกี่ยวกับนโยบายนี้และฝึกอบรมทีมงานถึงแนวทางใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะแนะนำนโยบายขั้นสุดท้ายภายในวันที่ 17 ธันวามคม 2563 ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้บริการการสนทนาสาธารณะด้วยการช่วยให้ผู้คน สามารถค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ รับฟังเสียงที่มีความสำคัญ และไว้วางใจในความถูกต้องของบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ขอขอบคุณที่ทุกท่านที่สละเวลาเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงต่อไป การแสดงออกถึงตัวตนเป็นหัวใจหลักของบทสนทนาสาธารณะ แต่ใครคือคนที่คุณกำลังพูดคุยอยู่นั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกับ และสิ่งที่พวกเขากำลังพูดถึงอยู่เช่นกัน ทวิตเตอร์จึงอยากสร้างพื้นที่ให้กับทุกคนบนทวิตเตอร์ให้สามารถส่งเสียงที่แท้จริงของตัวเองด้วยการช่วยให้ทุกคนสามารถระบุตัวตนในโปรไฟล์ได้มากขึ้นเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าและการติดป้ายรับรองบัญชีเป็นสองวิธีในการช่วยให้เราสามารถจำแนกบัญชีที่เป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นของจริงบนทวิตเตอร์ได้ ในปีนี้ทวิตเตอร์ได้มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์แล้วเพื่อให้พวกเขาสามารถทวีตเพื่อให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ #COVID19และได้เพิ่มป้ายรับรองบัญชีเพื่อเป็นการระบุตัวตนที่เป็นตัวแทนผู้สมัคาที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าไม่ได้เป็นเพียงวิธีเดียวที่เรากำลังวางแผนเพื่อจำแนกบัญชีผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์ ทั้งนี้ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะให้ทุกคนสามารถมีวิธีอื่นๆ ในการระบุตัวตนบนหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง อาทิ ประเภทของบัญชีผู้ใช้งานและป้ายรับรองบัญชีใหม่ ซึ่งนี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของสิ่งที่เราได้วางแผนไว้ในปี 2564-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 25 พ.ย. เอ็นไอเอ เปิดแนวทางเฟ้นหานวัตกรรมจากไอเดียสตาร์ทอัพต่อยอดสู่การใช้งานจริงรับมือ 4 แนวโน้มปัญหาสังคมเมืองและชุมชนปี 64 นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมืองและชุมชน ส่งผลให้แต่ละปีประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป NIA จึงมีการศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มปัญหาที่จะเกิดขึ้น พร้อมคาดการณ์อนาคต (Foresight) เพื่อวางแผนรับมือใน 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ ปัญหาจากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการจ้างงาน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่าระบบดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองกับภาวะฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที และมีความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับการรักษา และสวัสดิการทางสังคม ปัญหาสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของคนในสังคม โดยให้ความสำคัญและพยายามหาแพลตฟอร์มนวัตกรรมขึ้นมารองรับเพื่อสร้างความประนีประนอม และการสร้างพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมแสดงออกความเห็นในเชิงสร้างสรรค์ ปัญหาความเท่าเทียมทางเพศ โดยมุ่งวางแผนสำหรับดึงศักยภาพของกลุ่ม LGBTQA+ ออกมาให้คนในสังคมได้รับรู้ในมิติที่หลากหลายมากกว่าเรื่องเพศ รวมถึงการหาบริการและผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของเพศที่หลากหลาย และปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มคนเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ การบริการที่ดีจากภาครัญ การเข้าสู่ระบบแรงงานที่เป็นธรรม การยอมรับจากสังคมของผู้ที่เคยก้าวพลาด นายพันธุ์อาจ กล่าวต่อว่า เพื่อรับมือสิ่งที่เกิดขึ้นเอ็นไอเอได้ทำโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน 2564 หรือCITY & COMMUNITY INNOVATION CHALLENGE 2021 จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 มีเป้าหมายในการเฟ้นหานวัตกรรมที่สามารถผลักดันไปสู่การใช้งานจริง เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและชุมชน โดยเปิดรับข้อเสนอแนวคิดการพัฒนาในหลากหลายมิติ จากนั้นจะพิจารณาคัดเลือกแนวคิดที่ดีและมีโอกาสในการขยายผลได้จริง เพื่อรับการสนับสนุนเงินทุนสำหรับไปดำเนินการจริงในพื้นที่ และเมื่อดำเนินโครงการนำร่องแล้วเสร็จ สามารถขยายผลแนวคิด เทคโนโลยี โอกาสทางสังคม และธุรกิจไปยังพื้นที่อื่นต่อไปได้ โดยที่ผ่านมาสนับสนุนไปแล้วทั้งสิ้น 36 โครงการ มูลค่าการสนับสนุน 38.92 ล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุนกว่า185.38 ล้านบาท สำหรับหัวข้อที่เปิดรับสมัครในปี 2564 นี้ มุ่งเน้นใน 3 เรื่อง คือ 1.การฟื้นฟูผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วยนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน การสร้างสวัสดิการสังคม การเข้าถึงบริการสาธารณะ การเงินและเสินเชื่อ และการดูแลกลุ่มผู้เปราะบาง 2.แพลตฟอร์มธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมประกอบด้วยแพลตฟอร์มด้านการศึกษา การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน นวัตกรรมภาครัฐ การทำเกษตรอย่างยั่งยืน การดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และ 3.มิติปัญหาสังคมอุบัติใหม่ในเมือง ไม่ว่าจะเป็นนัวตกรรมเพื่อการสร้างสันติภาพและการแก้ปัญหาความรุนแรง การแก้ปัญหาอาชญากรรม การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศการเคลื่อนย้ายของแรงงาน และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมือง “ปัจจุบันมีผู้สนใจส่งแนวความคิด (Concept Idea) เพื่อขอรับการสนับสนุนจากโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ปี 2564 จำนวน 218 ไอเดีย ซึ่งหลังจากนี้ NIA จะพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำแนวคิด มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง และก่อให้เกิดประโย์ชน์ต่อสังคม ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่านวัตกรรมที่มีอยู่ขณะนี้ รวมถึงนวัตกรรมที่จะส่งเสริมต่อไปในอนาคต จะสามารถรองรับปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชน และปูทางให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรวมถึงสตาร์ทอัพที่มีความสนใจให้การทำธุรกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ ยังจะเป็นตัวแปรให้เกิดผู้ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายบริบทของสังคม และทำให้ทั่วโลกได้เห็นถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะมาช่วยยกระดับความเป็นอยู่ในช่วงที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายได้อย่างดีเช่นเดียวกัน” นายพันธุ์อาจ กล่าว-สำนักข่าวไทย.
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า สำนักงานของอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่น เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้กับงานเลี้ยงของกลุ่มผู้สนับสนุน ซึ่งอาจเป็นการละเมิดกฎหมาย
“สมศักดิ์” ยัน นายกฯใส่ใจปราบปรามยาเสพติดสูงสุด ยอมรับ ตรวจสารไตรโซเดียมฟอสเฟตในโกดังแปดริ้ว เป็นความผิดพลาดทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ประมาทเลิ่นเล่อ ฉะ ฝ่ายค้านกระแนะกระแหนนายกฯ หลังตั้งกระทู้ถามสดมองรัฐบาลล้มเหลวแก้ปัญหายาเสพติด
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมการขนส่งทางบก ตั้งจุดปฏิบัติการตรวจจับรถยนต์ควันดําป้องกันฝุ่น PM2.5 หลังรัฐบาลยกระดับการแก้ปัญหาฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
กรุงเทพฯ 25 พ.ย. DIRU นิเทศ จุฬาฯ เปิดเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น”เรียนรู้ลดความเสี่ยงออนไลน์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ หรือ DIRU ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงาน กสทช. ดำเนินโครงการวิจัยเชิงสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนและนำมาพัฒนาแพลตฟอร์มเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์สร้างเป็นเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” สามารถเข้าถึงได้จาก www.thaidigitalcitizen.net หรือ www.คิดคุยค้น.net เปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ใช้งานได้แล้วเว็บไซต์นี้พัฒนาขึ้นจากหลักการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเพิ่มความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยได้ประโยชน์ 3 กระบวนการ ได้แก่กระบวนการ“คิด” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ (Online Interactive Learning Object) กระบวนการ “คุย” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเนื้อหาที่ช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับการสร้างกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกผู้ใช้งาน กระบวนการ“ค้น” ซึ่งเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีสืบค้นสำหรับตรวจสอบข้อมูล ข่าว ที่สงสัยว่าถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือหรือไม่ ช่วยฝึกทักษะความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ นายพนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เว็บไซต์ คิด คุย ค้น เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยที่ตั้งโจทย์สำคัญที่มุ่งแก้ปัญหาอันตรายจากการใช้งานและความผูกพันที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์ของคนทุกวัย จากผลการสำรวจความเสี่ยง บนโลกออนไลน์ของประชาชน พบว่ามีโอกาสที่จะเจออันตรายได้หลายรูปแบบ คือ การถูกชักชวนให้เล่นการพนัน หวยออนไลน์ แชร์ออนไลน์ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์สินเงินทอง การหลงเชื่อเนื้อหา หรือข่าวปลอม หรือโฆษณาเกินจริง การถูกหลอกลวงจากคนแปลกหน้าถูกกลั่นแกล้งระราน ถูกโกงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ อันตรายจากการเข้าถึงเนื้อหาเรื่องเพศและภาพลามกอนาจารความเสี่ยงอันตรายจากระบบคอมพิวเตอร์มัลแวร์ (Malware) การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว ปัญหาความเสี่ยงเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันอันตรายให้ประชาชนในฐานะผู้ใช้งาน ให้รู้เท่าทันการถูกหลอก รู้วิธีลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่มาถึงตัว สามารถต่อต้านการถูกชักชวนไปในทางเสียหายได้ ความเข้มแข็งของประชาชนที่กล่าวมานี้ สามารถสร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ฝึกทักษะ เพิ่มความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน ซึ่งประชาชนที่เข้าใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” ประกอบด้วยการใช้งานหลัก 3 รายการ ดังนี้ รายการใช้งานที่ 1 “คิด” ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเข้าไปเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย ช่วยเพิ่มความรู้ ฝึกทักษะและการตอบสนองอย่างปลอดภัยต่อเหตุการณ์ความเสี่ยง ประกอบด้วยสื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง 8 เรื่อง โดยเริ่มจากการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยง ทำความเข้าใจและใช้การติดต่อสื่อสารทางสังคมให้ถูกต้องปลอดภัย ได้ประโยชน์ และการทำความเข้าใจเนื้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ ช่วยให้เกิดการรู้เท่าทัน ลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกจากเนื้อหาที่ไม่เป็นจริง ข่าวปลอม การถูกหลอกลวงเรื่องผิดกฎหมาย การถูกกลั่นแกล้งระราน การถูกชักชวนให้เล่นการพนัน จากนั้นเป็นสื่อเรียนรู้อีก 6 เรื่องที่จำลองเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง ได้แก่ การถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์ ความรุนแรงและการถูกกลั่นแกล้งระราน ข่าวปลอม ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง การถูกหลอกจากคนแปลกหน้า การถูกหลอกจากการซื้อสินค้า อันตรายจากการเข้าถึงเนื้อหาเรื่องเพศและภาพลามกอนาจาร และอันตรายจากระบบคอมพิวเตอร์ การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว เมื่อผู้ใช้งานได้เข้าเรียนจากสื่อการเรียนรู้และสามารถทำแบบทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อแสดงความเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถด้านความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ซึ่งสามารถพิมพ์ได้จากระบบทันที รายการใช้งานที่ 2 “คุย” เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทุกคนได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับข่าวสารในโลกออนไลน์ มีการเตือน และช่วยกันตรวจสอบสิ่งที่ผู้ใช้งานทุกคนได้พบเจอ เป็นการสร้างชุมชนในลักษณะเครือข่ายสังคม ผ่านบทความ ข้อมูล Infographic และ VDO ที่สามารถแชร์ได้ และกระทู้ พูดคุย หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่าง ๆ ส่งต่อความรู้ให้กันได้ รายการใช้งานที่ 3 “ค้น” ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเนื้อหาข่าว ข้อมูลที่สงสัยว่าถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ ได้ด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถรู้เท่าทันสื่อได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยมีเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลที่โครงการคัดกรองแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ ช่วยในการกรองสิ่งที่เราต้องการค้นหา และผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว ไปใช้ได้อย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน “เราได้พัฒนาเว็บไซต์นี้มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โดยเริ่มต้นงานวิจัยด้วยการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2562 จนได้ผลสรุปและพบความเสี่ยง 15 เรื่อง และนำมาแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่มความเสี่ยง นำมาออกแบบเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยลดความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ โดยมีการเผยแพร่เว็บไซต์ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และ ตั้งเป้าว่าจะทดลองเปิดให้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือนจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อสรุปลักษณะของการ ใช้งาน ประเด็นที่ต้องพัฒนาปรับปรุงในเชิงวิชาการ และส่งมอบงานนี้ให้กับแหล่งทุน คือกองทุนวิจัยของ กสทช. หวังว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ในอนาคตเว็บไซต์นี้ไม่ใช่ยาหม้อใหญ่ที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนได้ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่เป็นกลไกที่จะช่วยสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่มผู้ใช้งานให้มีความเข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกวัยเข้าร่วมใช้งานเว็บไซต์นี้กันมากๆ” นายพนม กล่าว เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” เป็นหนึ่งในกลไกที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ใช้งาน สื่อสังคมออนไลน์ และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความสามารถในความรอบรู้และ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ที่สร้างปัญหาให้แก่ประชาชนและสังคมในภาพรวมการเข้าร่วมใช้งานเว็บไซต์นี้จากผู้ใช้จำนวนมากจะเป็นข้อมูลที่ประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งการเพิ่มความสามารถเพื่อลดความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ จำเป็นต้องพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่สร้างการใช้งานใหม่ๆ ที่อาจจะเป็นความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้นอีก เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทั้งวัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงได้ที่www.thaidigitalcitizen.net หรือ www.คิดคุยค้น.net โดยสมัครเข้าใช้งานในครั้งแรกและสร้างบัญชีผู้ใช้งานของตนเองเพื่อใช้งานครั้งต่อไปได้ตามที่สะดวกและต้องการใช้งาน-สำนักข่าวไทย.
เกาหลีใต้มียอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายใหม่เกือบ 400 คนที่มีสาเหตุจากการระบาดเป็นกลุ่มก้อนทั่วประเทศ ขณะที่ทางการสาธารณสุขเตรียมพิจารณายกระดับการใช้มาตรการเข้มงวดทั่วประเทศ
ตำรวจวางกำลังดูแลความสงบเรียบร้อย ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ปิดเส้นทางจราจรมุ่งหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
คาดว่า ผู้นำฝรั่งเศสกำลังเตรียมจะคลายมาตรการปิดเมือง หลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เริ่มลดลง