เพื่อไทยเตือนรัฐอย่าตุกติกแก้รัฐธรรมนูญ

“พิชัย” เตือน “ประยุทธ์” อย่าตุกติกเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ส.ส.ร ต้องมาจากประชาชนทั้งหมด ไม่เอาแต่งตั้ง ชี้ หากยังคิดสืบทอดอำนาจ เศรษฐกิจจะยิ่งทรุด แนะ ต้องเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มิเช่นนั้นยุ่งแน่ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง

ยื่นขอให้ตรวจสอบ ส.ส.เข้าร่วมชุมนุมคณะราษฎร 63

ระบุ กระทำการขัดต่อคำปฏิญาณตน ชี้ การชุมนุมมีเจตนาจาบจ้วงสถาบันฯ อย่างชัดเจน เปิดเผย และมีการท้าทายอย่างต่อเนื่อง

รัฐนิวเซาท์เวลส์จะยกเลิกคำสั่งทำงานจากบ้าน

รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียจะผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และยกเลิกคำสั่งให้บริษัทต่าง ๆ อนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หลังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ติดต่อกัน 3 สัปดาห์

ดาวโจนส์พุ่งทะลุ 30,000 จุด

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก พุ่งทะลุ 30,000 จุด จากความคืบหน้าเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการถ่ายโอนอำนาจให้ว่าที่ผู้นำสหรัฐ

จี้ค้าปลีกใหญ่ป้องกันโควิดคนงานช่วงคนแห่ชอป

นักเคลื่อนไหวเรียกร้องบริษัทค้าปลีกรายใหญ่เพิ่มการปกป้องคนงานจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่เทศกาลจับจ่ายช่วงปลายปีที่คนงานต้องทำงานหนักขึ้น

ป.ป.ช.เปิดบัญชีทรัพย์สิน นาที-พิพัฒน์

ป.ป.ช.เปิดบัญชีทรัพย์สิน “ปรีดี ดาวฉาย” หลังพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง รวย 221 ล้านบาท ส่วน “นาที-พิพัฒน์” ทรัพย์สินลดกว่า 3.6 พันล้าน เหตุโอนหุ้นให้บริษัทจัดการ

ดีอีเอสจับบริษัทรับช่วงงานอีคอมเมิร์ซลงทะเบียนแก้ข้อมูลลูกค้าหลุด

กรุงเทพฯ 24 พ.ย. พุทธิพงษ์ หารือผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ ย้ำให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคล หลังเจอข้อมูลลูกค้ารั่วไหลครั้งใหญ่ มอบเอ็ตด้าลงทะเบียนผู้รับช่วงงานอีคอมเมิร์ซ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า วันนี้ (24 พ.ย. 2563) ได้มีการเรียกประชุมหารือกับผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดทำแนวทางดูแลข้อมูลของผู้ใช้บริการ และมาตรการในการดูแลข้อมูลผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสูงสุด ซึ่งในการประชุมวันนี้ ยังให้ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ ชี้แจงข้อเท็จจริงของข่าวที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการรั่วไหล และมีการนำไปประกาศขายกันทางไซเบอร์ จากการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ข้อมูลผู้ใช้บริการที่รั่วไหลไปจากแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซและถูกนำไปประกาศขายผ่านทางไซเบอร์ พบว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในช่วงปี 2561 โดยประกอบด้วยข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล วันที่ทำธุรกรรม จำนวนเงิน ช่องทางการขายสำหรับขั้นต้น ดีอีเอส ได้ประสานงานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง (USCERT) ในการประสานกับผู้ดูแลระบบเพื่อระงับการเผยแพร่ข้อมูล “ข้อมูลไม่ได้หลุดออกมาจากผู้ให้บริการโดยตรงข้อมูลหลุดมาจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ แต่อย่างไรก็ดีกระทรวงฯ ได้กำชับถึงความสำคัญกับระเบียบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพราะเราเลื่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปถึมิถุนายน 2564 ตรงนี้ก็ต้องมีการระมัดระวังข้อมูลไม่ให้รั่วไหลได้ ที่ประชุทให้บริษัทที่มารับงานต่อจากบริษัทผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซต้องมาลงทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(เอ็ตด้า) เพื่อให้มีความรับผิดชอบต้อข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะมีการทำระเบียบสำหรับบริษัทที่มารีบงานต้องปฏิบัติ ซึ่งระเบียบนี้เอ็ตด้ากับผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซจะช่วยกันร่าง ส่วนบริษัทผู้ส่งของก็ต้องมีการดูแลและให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลด้วย” นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า พ.ร.ฎ กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 ซึ่งขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปอีก 1 ปี (27 พฤษภาคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2564) แต่ยังกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงกำหนด ซึ่งถึงแม้จะยังไม่มีบทลงโทษแต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่องมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 (18 กรกฎาคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2564) กำหนดให้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดำเนินการ ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยคำนึงถึงการใช้งานและความมั่นคงปลอดภัย , การกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล , การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งานเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว , การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การล่วงรู้ หรือการลักลอบทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การลักขโมยอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และการจัดให้มีวิธีการเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังเกียวกับการเข้าถึง เปลี่ยนแปลง ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการและสื่อที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 5 และ 7 กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรู้ว่ามีการเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินคดีด้วย ส่วนที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดเหตุข้อมูลผู้ใช้บริการรั่วไหล ผู้ให้บริการพึงจะต้องชี้แจงประชาชนผู้ได้รับผลกระทบถึงรายละเอียดข้อมูลที่ถูกเข้าถึง และแนะนำวิธีการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนรหัสผ่าน และระมัดระวังเมื่อมีคนโทรไปเพื่อหลอกลวง นอกจากนี้ ผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ควบคมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้คู่สัญญาที่เป็นผู้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งที่เป็นคนกลางในการบริหารจัดการขาย (sales management platform) และผู้ให้บริการคลังสินค้าและขนส่ง นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังในการใช้งาน Platform e-Commerce เพื่อลดผลกระทบกรณีข้อมูลรั่วไหล ได้แก่ เจ้าของข้อมูลไม่ควรหลงเชื่อโอนเงินให้กับผู้ที่ติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์ หรือ อีเมล์ ในทันที ควรตรวจสอบโดยการติดต่อกลับไปยังช่องทางปกติ, หากมีผู้ติดต่อมาว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อให้โอนเงิน ควรปฏิเสธการโอนเงิน และติดต่อกลับไปยังหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง , หากมีการแจ้งเตือนเรื่องการเปลี่ยนรหัสผ่านทางอีเมล์ หรือ SMS ไม่ควรคลิกลิงก์ในทันที ให้ตรวจสอบกับหน่วยงานหรือผู้ให้บริการโดยตรง, แจ้งผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร เพื่อให้ทราบความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการแอบอ้างเป็นเจ้าของข้อมูล โดยควรเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน, กำหนด username password ให้แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริการ, กรณีที่เป็นการใช้งานจากแอปพลิเคชันบนมือถือ ควรมีการติดตั้งแอปพลิเคชันป้องกันมัลแวร์ โดยหากมีข้อสงสัย ต้องการแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1212-สำนักข่าวไทย.

1 53 54 55 56 57 440