ไทยจับมือ 10 ประเทศตั้งเป้าลดไฟป่า ปลอดหมอกควันพื้นที่ป่าพรุในปี 73

กรุงเทพฯ 15 ส.ค. – อธิบดีกรมอุทยานฯ ประชุมร่วมสมาชิกอาเซียน ดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่พรุตามยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่พรุอาเซียน ฉบับที่ 2 ตั้งเป้าลดไฟป่าปลอดหมอกควันพื้นที่ป่าพรุในปี 73 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิเศษพื้นที่พรุแห่งอาเซียน ภายใต้คณะกรรมการประชุมของภาคีข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน (COM) ครั้งที่ 9 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ เนการาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เลขาธิการอาเซียน และหุ้นส่วนของอาเซียน (SUPA, MAHFSA, GIZ, IFAD, CIFOR, GEC, BMU) นายอรรถพลกล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในความร่วมมือกับ 10 ประเทศอาเซียน เพื่อดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่พรุตามยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่พรุอาเซียน ฉบับที่ 2 และแสดงความชื่นชมที่ทุกฝ่ายได้ร่วมดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการป่าพรุอาเซียนฉบับใหม่นี้รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือและกลไกต่าง ๆ อาทิ การพัฒนากรอบการติดตามและประเมินผล (M&E framework) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่พรุอาเซียน ฉบับที่ […]

เรือ “Maersk” 2 ลำยังไม่มีกำหนดการเทียบท่าไทย

กรุงเทพฯ 15 ส.ค. – บริษัทสายเดินเรือ Maersk เปลี่ยนแปลงตารางเดินเรือ 1 ใน 2 ลำซึ่งทางการไทยได้รับแจ้งว่า ขนส่ง “ฝุ่นแดง” ของเสียอันตรายรวม 816 ตันจากประเทศแอลเบเนีย โดยจะมาเทียบท่าที่แหลมฉบัง แต่จากการตรวจสอบตารางเดินเรือล่าสุดยังไม่พบว่า เรือทั้ง 2 ลำจะเข้าเทียบท่าของประเทศไทย ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยตรวจสอบตารางเดินเรือ 2 ลำ สัญชาติอังกฤษคือ เรือ MAERSK CAMPTON และเรือ Maersk Candor จากเว็บไซต์ของบริษัท Maersk ซึ่งเป็นบริษัทสายเดินเรือของประเทศเดนมาร์ก ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับแจ้งข่าวจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ NGO ด้านสิ่งแวดล้อม 3 แห่งได้แก่ เครือข่าย Basel Action Network (BAN) สหรัฐอเมริกา องค์กร Friends of the Earth ประเทศแอฟริกาใต้ และมูลนิธิบูรณะนิเวศหรือ EARTH ประเทศไทยเพื่อให้ยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายแบบผิดกฎหมายด้วยเรือขนส่งสินค้า 2 […]

จับอีก ลอบตัดไม้พะยูงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ปราจีนบุรี 8 ส.ค. – หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เผย เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนจับกุมแก๊งลักลอบตัดไม้พะยูงได้อีก โดยเป็นคดีของวันนี้ ได้ผู้ต้องหา 2 คน พร้อมของกลางเป็นไม้พะยูงท่อนและอุปกรณ์กระทำความผิด นำส่งสภ. เมืองปราจีนบุรีดำเนินคดี นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณป่าเทือกเขามดแดงใกล้วัดถ้ำพุทธาจาโร ต. ดงขี้เหล็ก อ. เมือง จ. ปราจีนบุรี ได้ผู้ต้องหา 2 คน พร้อมของกลางประกอบด้วย ไม้พะยูง 3 ท่อน เลื่อยคันธนู 1 ปื้น เลื่อยทอน 1 ปื้น เชือก 1 เส้น ล้อลากไม้ 2 คัน การจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้มีค่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในช่วงเย็นที่ผ่านมา เป็นการจับกุมได้เป็นครั้งที่ 2 ของวันนี้ โดยจะนำส่งสภ. เมืองปราจีนบุรีดำเนินคดี การกวาดล้างจับกุมขบวนการลักลอบตัดไม้มีค่าและการกระทำผิดอื่นๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นไปตามข้อสั่งการของนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชที่ให้ยกระดับการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด โดยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่พบว่า […]

จับลอบตัดไม้พะยูงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ปราจีนบุรี 7 ส.ค. – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จับกุมผู้ลักลอบตัดไม้พะยูง พร้อมอาวุธปืนและมีด นอกจากนี้ตรวจค้นพบอุปกรณ์เสพยาบ้าด้วย ล่าสุดนำตัวส่งดำเนินคดีที่สภ. ประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีแล้ว นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ออกลาดตระเวนเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ กระทั่งพบบุคคลลักลอบเข้ามาตัดไม้พะยูงบริเวณเขาเสือนา ตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีจึงดักซุ่มเพื่อติดตามพฤติการณ์ จากนั้นเข้าจับกุมผู้กระทำผิดได้ 1 คน จากการตรวจค้นพบของกลาง ดังนี้ 1. ไม้พะยูง 2 ท่อน ปริมาตรรวม 0.053 ลูกบาศก์เมตร 2. อาวุธปืนแก๊ป (ไม่มีหมายเลขทะเบียน) 1 กระบอก 3. มีดปลายแหลม 1 เล่ม 4. ขวาน 2 เล่ม 5. โทรศัพท์ 1 เครื่อง 6. อุปกรณ์การเสพยาเสพติด ประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) จากนั้นคณะเจ้าหน้าที่ทำบันทึกจับกุมอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ. […]

“ธรรมนัส” สั่งกรมปศุสัตว์ระดมช่วยเกษตรกรประสบภัยน้ำท่วม

กรุงเทพฯ 29 ก.ค. – อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย สั่งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัดทั่วประทศเร่งเข้าช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทันทีที่เกิดอุทกภัย ตามข้อสั่งการของรมว. เกษตรฯ ล่าสุดช่วยขนย้ายหมูและไก่เนื้อของเกษตรกรในจังหวัดตราดซึ่งน้ำท่วมฟาร์มจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดความเสียหายของเกษตรกรได้ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกซึ่งฝนตกหนักต่อเนื่อง ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการกรมปศุสัตว์เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ล่าสุดได้รับรายงานจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตราดซึ่งร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่19 หน่วยนาวิกโยธินจันทบุรี- ตราด และหน่วยงานอื่นๆ ช่วยขนย้ายสุกรซึ่งเลี้ยงไว้ที่ศักรินทร์ฟาร์ม หมู่ที่ 2 ตำบล ห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด  ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำท่วมฟาร์มจึงต้องร่วมกันขนย้ายลูกสุกร 1,200 ตัวไปไว้ในฟาร์มอื่นซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สูง จากการตรวจสอบหลังจากขนย้ายเรียบร้อยแล้ว พบว่า สุกรตาย 8 ตัว โดยการเข้าช่วยเหลืออย่างทันทีท่วงทีทำให้ช่วยลดความเสียหายของเกษตรกรได้ นอกจากนี้สำนักงานปศุสัตว์ตราดยังร่วมกับหลายหน่วยงานช่วยเหลือเกษตรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่เกศรินทร์ฟาร์มในพื้นที่หมู่ที่2 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงไก่ไว้ 37,000 ตัว น้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว จากการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ สามารถขนย้ายไก่เข้าโรงฆ่าได้ส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 8,828 ตัว ไก่ตาย 28,172  […]

กรมปศุสัตว์เตือนเกษตรกรพร้อมรับมืออุทกภัย

กรุงเทพฯ 21 ก.ค. – “รมว. ธรรมนัส” สั่งกรมปศุสัตว์ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยเต็มกำลัง อธิบดีกรมปศุสัตว์แนะ 4 มาตรการในการเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย ล่าสุดส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยขนย้ายลูกหมู 8,000 ตัวออกจากฟาร์มในจังหวัดตราด ส่วนพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดมหาสารคาม เจ้าหน้าที่ส่งเสบียงอาหารสัตว์ “หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน” ให้แล้ว นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ได้ออกข้อแนะนำแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 1. เตรียมและสำรองเสบียงสัตว์ให้เพียงพอ 2. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด 3. ติดต่อขอปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต่อปศุสัตว์อำเภอเพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน 4. ร่วมกันจัดตั้งจุดอพยพสัตว์ใกล้บ้าน 5. ประสานขอความช่วยเหลือเมื่อมีภัย (อาสาปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น – ท้องที่ ปศุสัตว์อำเภอ/ปศุสัตว์จังหวัด) ทั้งนี้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการให้กรมปศุสัตว์ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่ ล่าสุดเกิดฝนตกหนักที่จังหวัดตราดทำให้เกิดน้ำท่วมฟาร์มสุกรในหมู่ที่ 4 ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง ด่านกักกันสัตว์ตราด พร้อมด้วยด่านกักกันสัตว์ตราดและปศุสัตว์จังหวัดตราดร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองจังหวัดตราด นายอำเภอเขาสมิง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตราด เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่ 19 หน่วยนาวิกโยธินจันทบุรี-ตราด จิตอาสา กำนัน ผู้ใหญ่บ้านบ้านทางควายช่วยเหลือในการขนย้ายสุกรจากฟาร์มชื่อ ณรงค์ศักดิ์ อภิพัฒน์ […]

วางแผนเคลื่อนย้ายเสือโคร่งดงใหญ่ออกกัดวัวชาวบ้านกลับป่าลึก

บุรีรัมย์ 19 ก.ค. – ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ เผย เร่งวางแผนเคลื่อนย้ายเสือโคร่งออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่กัดวัวชาวบ้านบาดเจ็บ ระบุไม่เคยพบเสือโคร่งในพื้นที่นี้มาก่อน โดยจะต้องย้ายกลับเข้าป่าลึก นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสมส่วน รักสัตย์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ว่า มีชาวบ้านพบเสือโคร่ง บริเวณฝายปูน ต. ลำนางรอง อ. โนนดินแดง จ. บุรีรัมย์ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ และอุทยานแห่งชาติตาพระยา โดยมีราษฎรทำกิน ตามมาตรา 121 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 64 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพื้นที่คทช. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่แจ้งให้นายอำเภอโนนดินแดงทราบ รวมถึงแจ้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านประกาศแจ้งเตือนประชาชน พร้อมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ร่วมกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น -เขาใหญ่และมูลนิธิฟรีแลนด์ ตรวจสอบพื้นที่ และติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า 8 ตัวเพื่อติดตามตัว ต่อมาได้รับรายงานว่า เสือโคร่งกัดวัวชาวบ้านบาดเจ็บเล็กน้อย ที่ผ่านมาไม่มีรายงานการพบเสือโคร่งบริเวณนี้มาก่อน เมื่อตรวจสอบลายจากภาพถ่ายพบว่า เป็นเสือโคร่ง รหัส “116M” […]

จับผู้ลักลอบตัดไม้พะยูงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เผยเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน พบชายคนหนึ่งเข้ามาในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อลักลอบตัดไม้พะยูง จึงเข้าจับกุม พร้อมของกลางไม้พะยูง 4 ท่อน ส่ง สภ.ประจันตคาม ดำเนินคดี

พื้นที่เสียหายจากอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำทรุด 12,800 ไร่

กรุงเทพฯ 18 ก.ค. – GISTDA เผยภาพถ่ายจากดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ. บรบือ จ. มหาสารคาม พบพื้นที่เสียหายกว่า 12,800 ไร่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เผยข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.50 น. จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงพื้นทีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำซึ่งทำนบดินทรุดตัว โดยพบพื้นที่เสียหายรวมกว่า 12,800 ไร่ ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเหล่านี้ GISTDA จะส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการฟื้นฟูความเสียหายต่อไป ทั้งนี้ GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ https://disaster.gistda.or.th/ . […]

“ณัฐชา” ชื่นชมอธิบดีประมง กล้าเผยข้อมูลปลาหมอคางดำ

กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – “ณัฐชา” สส. พรรคก้าวไกล รองประธานกมธ. แก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำชื่นชมอธิบดีกรมประมงที่กล้าเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ชี้ชัดแล้วว่า มีผู้นำเข้ารายเดียวและกรมประมงยังไม่เคยได้รับตัวอย่างปลาที่บริษัทขออนุญาตนำเข้า กมธ. ยังคงเรียกร้องให้หาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นชนิดนี้แพร่ระบาดให้ได้ ส่วนผู้แทนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังอยากให้กระทรวงเกษตรฯ รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 บาทต่อกิโลกรัม นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส. กทม. พรรคก้าวไกล ฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ในคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำของกรมประมง โดยกล่าวชื่นชมนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงว่า กล้าหาญที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 14 ปีแล้ว รวมถึงความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด จากข้อมูลของกรมประมงชี้ชัดแล้วว่า กรมประมงอนุญาตให้บริษัทแห่งหนึ่งนำเข้าปลาหมอคางดำเพียงรายเดียว อีกทั้งข้อมูลจากการชี้แจงของบริษัทที่ระบุว่า ได้ยุติการวิจัยและส่งตัวอย่างปลาให้กรมประมงแล้ว กรมประมงไม่เคยได้รับ กมธ. ยังคงเรียกร้องให้สืบหาต้นตอที่ทำให้สัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้รุกรานระบบนิเวศ รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับว่า จะสืบสาเหตุเพื่อสร้างกระจ่างความกระจ่างแก่สังคมให้ได้ แต่ฟังแล้ว โอกาสที่จะหาต้นตอและเอาผิดตามกฎหมายต่อผู้ก่อผลกระทบนั้น ดูริบหรี่ กมธ. จะยื่นญัตติด่วนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเชิญทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาร่วมแก้ไขปัญหานี้ นายคัมภีร์ ทองเปลว […]

กฎหมายยังเอาผิดผู้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” ไม่ได้

อธิบดีกรมประมง ระบุกฎหมายประมงปัจจุบัน ยังเอาผิดหรือเรียกค่าเสียหายต่อผู้นำเข้า “ปลาหมอคางดำ” ไม่ได้ กรณีที่อาจเป็นต้นเหตุให้หลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ แต่ได้บรรจุไว้ในร่าง พ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่แล้ว พร้อมติดตามการวิจัย “ปลาเก๋าหยก” ของ CPF ใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย เปิดใจคิดไม่ต่างจากสังคมเรื่องความรับผิดชอบ แม้ไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่สามารถรับผิดชอบด้วยจิตสำนึก

กำจัด “ปลาหมอคางดำ” ต้องใช้วิธีผสมผสาน

กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยการลดจำนวนปลาหมอคางดำต้องผสมผสานหลายวิธี ย้ำต้องเลือกให้เหมาะสมตามสภาพความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่วนการวิจัยทำหมันปลากว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา นายวีรกิจ จรเกตุ หัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์กล่าวว่า มาตรการการกำจัดปลาหมอคางดำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน อีกทั้งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการระบาดด้วยการประเมินเป็นรายแหล่งน้ำเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นและระบบนิเวศ พร้อมกันนี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงจับปลาหมอคางดำเพื่อนำมาทำทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ย่อมมีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นติดขึ้นมาด้วย ส่วนการปล่อยปลานักล่าอย่างปลากะพง ปลากะพงไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินสภาพความรุนแรงของการระบาดเป็นรายแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมที่ปลาหมอคางดำกินสัตว์น้ำชนิดอื่นกินจนเหลือน้อยมาก กระทั่งปลาหมอคางดำกลายเป็นชนิดพันธุ์หลักในแหล่งน้ำนั้น สามารถใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงจับเพื่อให้สามารถลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แล้วจึงฟื้นฟูเพื่อคืนความสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับโครงการวิจัยของกรมประมงเพื่อควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ปลาที่เป็นหมันนั้น คาดว่า เป็นการนำวิธีทำหมันปลาเศรษฐกิจซึ่งมาอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้สำหรับลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การทำหมันปลาที่ทำกันอย่างกว้างขวางเช่น ในปลานิลเพื่อลดการเจริญเพศซึ่งจะทำให้ปลาเติบโตเร็ว งานวิจัยของกรมประมงเพื่อให้ได้ปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซมพิเศษที่เป็นหมัน แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติเพื่อให้ได้ลูกที่เป็นหมันจึงเป็นงานวิจัยที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี แต่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำลดลงในระดับไม่ก่อผลกระทบภายใน 3 ปีได้หรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เคยมีการใช้เพื่อกำจัดสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำควบคู่กับวิธีอื่นๆ ในการลดจำนวนด้วย นายวีรกิจกล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยที่รุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำต่างถิ่นอื่นที่เคยหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ โดย Aliean Spicies เมื่อหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่จะกำจัดให้หมดไปเช่น ปลาซักเกอร์ที่ยังคงพบในประเทศไทย นายวีรกิจย้ำว่า ในการกำหนดวิธีกำจัดปลาหมอคางดำไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันหมดได้ ต้องศึกษาวิจัยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุลจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม โดยหากมีการปล่อยปลานักล่าเช่น […]

1 2 3 307