กทม.พร้อมรับมือฝนตก เฉลี่ย60-70% ถึง10 ก.ย.

กทม. 6 ก.ย.-กทม.เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักต่อเนื่อง ตามที่กรมอุตุฯแจ้งเตือนจะมีฝนตก 60-70% ในพื้นที่ กทม.จนถึงวันที่ 10 ก.ย.ขณะที่บ่ายนี้ ผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตลาดกระบัง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) โพสต์ผ่านเพจ “ผู้ว่าฯอัศวิน” เรื่อง กทม.เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยระบุว่า กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนว่า จะมีฝนตก 60-70% ในพื้นที่ กทม. จนถึงวันที่ 10 ก.ย. นี้ ซึ่งลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย กทม. เตรียมพร้อมระบบการระบายน้ำให้ได้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่าน ๆ ทั้งท่อเร่งระบายน้ำที่ทำให้น้ำระบายลงธนาคารน้ำใต้ดินได้เร็วในปริมาณที่มากขึ้นด้วย จากนั้นยังมีสถานีสูบน้ำที่ช่วยระบายน้ำลงอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือนแม่น้ำใต้ดิน เพื่อเร่งระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วมากยิ่งขึ้น อย่างเห็นได้ชัดที่แยกเกษตรฯ และปากซอยสุทธิพร เขตดินแดง ในปีนี้ไม่มีน้ำท่วมขังแล้ว และยังได้เพิ่มความพร้อมรับมือฝนหนักทั่ว กทม. ในจุดเสี่ยงที่มีน้ำท่วมจังเป็นประจำ มีเจ้าหน้าที่ประจำตามจุดสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ และจุดที่ตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเตรียมพร้อมการระบายน้ำหากเกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน และยังเตรียมเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็ว เร่งแก้ไขปัฯญหาน้ำท่วมขังทันที แจ้งปัญหาน้ำท่วมขังได้ที่ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมกทม. โทร. 0 2248 5115 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง […]

“กลุ่มนักเรียนเลว” Strike หยุดเรียนออนไลน์

กรุงเทพฯ 6 ก.ย.-กลุ่มนักเรียนเลว นัดหยุดเรียนออนไลน์ เริ่มวันนี้วันแรก (6 ก.ย.) ถึง 10 ก.ย.เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาฯ แก้ไขปัญหาดังกล่าว ทวิตเตอร์ “กลุ่มนักเรียนเลว” ทวิตข้อความพร้อมภาพประกอบ “เริ่มแล้ว! สไตรค์หยุดเรียนออนไลน์วันแรก ถึงเวลาแสดงความไม่พอใจต่อการเรียนออนไลน์ที่กดทับพวกเราทุกคนแล้ว จงลุกขึ้นมาร่วมกัน ขณะที่ข้อความก่อนหน้านี้ “จงตะโกนให้เสียงของเราสะเทือนหอคอยงาช้าง ให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการลงมาแก้ปัญหาของพวกเราเสียที!” .-สำนักข่าวไทย

ชี้ชุดตรวจ ATK เหมาะกิจกรรมที่มีความหนาแน่น

นายกสมาคมโรคติดเชื้อฯ ชี้ชุดตรวจ ATK เหมาะกับกิจกรรม กิจการที่มีความหนาแน่น สัมผัสคนมาก และในพื้นที่สีแดงเข้มและสีแดง แจงการตรวจต้องควบคู่กับการคัดกรอง เสี่ยงมากตรวจ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เสี่ยงปานกลางตรวจสัปดาห์ละครั้ง แต่ทั้งหมดต้องตรวจต่อเนื่อง อย่ามั่นใจหากผลเป็นลบ แต่ตัวเองเสี่ยงสูง ต้องกักตัวและตรวจซ้ำ 2-3 ครั้ง จึงจะแน่ใจได้ และถือว่าใช้ ATK อย่างถูกต้อง

อาการ 5 ผู้ต้องขังคดีชุมนุม ทุกคนสุขภาพดี

กรมราชทัณฑ์ 3ก.ย.-กรมราชทัณฑ์ เผยอาการผู้ตัองขังคดีชุมนุมทั้ง 5 คน ยังมีสุขภาพดี ด้านสถานการณ์โควิดในเรือนจำคลองเปรมพ้นโควิดระบาดแล้ว นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และโฆษกกรมราชทัณท์ เปิดเผยว่า การตรวจร่างกาย ผู้ต้องขังคดีชุมนุม นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ,นายพรหมศร วีระธรรมจารี หรือฟ้า ,นายภาณุพงศ์ จาดนอก ,นายชาติชาย แกดำ และนายจตุภัทร์ บุญกัทรรักษา วันนี้ (3 ก.ย.) ทั้งหมดยังมีสุขภาพดี ช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก นอนหลับพักผ่อนได้ และค่าออกซิเจนปกติทั้งหมด โดยนายพริษฐ์ และนายพรหมศร อยู่ระหว่างการพักฟื้นเพื่อจำหน่ายกลับไปคุมขังยังเรือนจำฯ ตามเดิม สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำและทัณฑสถาน ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 256 รายไม่มีรายงานการเสียชีวิต จึงมีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 3,267 ราย โดยวันนี้ มีเรือนจำที่พบการระบาดเพิ่ม 1 แห่ง คือ ทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ขณะที่มีเรือนจำพ้นการระบาดเพิ่ม 1 […]

ฉีดวัคซีนไขว้ ‘แอสตรา-ไฟเซอร์’ เดือน ต.ค.

ศปก.สธ.ไฟเขียว สูตรการฉีดวัคซีนไขว้ ซิโนแวค+แอสตราฯ จนถึงสิ้นตุลาคม จากนั้นเดินหน้าฉีดสูตร แอสตราฯ + ไฟเซอร์ หลังจากมีจำนวนวัคซีนทั้งแอสตรา และไฟเซอร์มากขึ้น

สบส.ระดมทีม อสม.ติดตามการฉีดวัคซีนกลุ่ม608

กรมสบส.3 ก.ย.-กรม สบส.ประสาน อสม.ระดมทีมสำรวจ ติดตามการฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 ผ่านกลไกทำงาน 3 หมอ ตั้งเป้า “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว” ในประชาชนกลุ่มเปราะบางทั่วไทย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า การระบาดของเชื้อโรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆมา ด้วยการที่เชื้อโรคโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์จนเกิดเป็นสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) และเดลตา (Delta) ซึ่งเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่นี้ มีการแพร่ระบาดง่าย และก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเปราะบาง อาทิ คนชรา ผู้ที่มีโรคประจำตัว สตรีมีครรภ์ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 การที่ประเทศไทยจะก้าวพ้นวิกฤติการระบาดของโรคติดต่ออันตรายไปได้นั้นนอกจากจะต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคอย่างเหมาะสมแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ก็ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วย “ลดป่วยรุนแรง ลดตาย รักษาหายเร็ว” ดังนั้น กรม สบส.จึงประสานขอความร่วมมือจาก […]

สปสช.เตรียม 2 รูปแบบกระจาย ATK 8.5 ล้านชุด

สปสช.เผยแนวทางกระจายชุดตรวจโควิด ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 8.5 ล้านชุด เน้นแจก 2 รูปแบบ คือแจกในชุมชนแออัด-ตลาด และหน่วยบริการ ไม่ว่าจะเป็น รพ. รพ.สต.คลินิก และร้านขายยาในพื้นที่สีแดง ในส่วนของหน่วยบริการแจกผ่านแอปฯ เป๋าตัง เบื้องต้นแจกคนละ 2 ชุด ใช้ตรวจห่างกัน 5 วัน เผื่อให้ตรวจซ้ำเมื่อตรวจครั้งแรกแล้วได้ผลเป็นลบ คาดเริ่มแจกได้ 15 ก.ย.นี้

ปฏิบัติการร่วมช่วยผู้ไร้บ้าน “ริมคลองหลอด ปลอดโควิด”

กทม.พร้อมหลายหน่วยงาน ร่วมปฏิบัติการช่วยผู้ไร้ที่พึ่ง ไร้บ้าน ยากไร้ บริการอิสระ “ริมคลองหลอด ปลอดโควิด”

“หมอประสิทธิ์”แจงวัคซีนไขว้จำเป็นกับสถานการณ์รับมือเดลตา

หมอประสิทธิ์ แจงวัคซีนสูตรไขว้ เหมาะกับสถานการณ์รับมือเดลตา เพราะระยะเวลา รับและสร้างภูมิเกิดขึ้นแค่ 5 สัปดาห์ ต่างกับแอสตรา 2 เข็ม ใช้เวลา 14 สัปดาห์

วัคซีนใบยา พร้อมทดสอบในมนุษย์เฟสแรกสิ้นเดือนนี้

กรุงเทพฯ 3 ก.ย.-คืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทใบยาฯ พร้อมทดสอบในมนุษย์เฟส 1 สิ้นเดือน ก.ย.นี้ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดรายการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยรับมือกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อมองหาและสร้างโอกาสให้กับประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรง ในประเด็น “ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยด้วยกลไกการบ่มเพาะจากสถาบันอุดมศึกษา”โดยมี ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Co-founder และ CEO บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ Co-founder และ Chief Technology Officer (CTO) บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมพูดคุย ดำเนินรายการโดย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. รศ.ดร.วรัญญู กล่าวถึงแนวทางการผลิตวัคซีนของบริษัทใบยาฯ ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์จากการผลิตเฉพาะโปรตีน หรือชิ้นส่วนของไวรัสที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ที่เรียกว่าซับยูนิตวัคซีน หรือโปรตีนวัคซีน โดยบริษัทฯ […]

1 35 36 37 38 39 236