ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปานและไฝที่ดวงตา

22 กันยายน 2567 จุดดำที่ดวงตาเกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไฝที่ดวงตาเกิดจากอะไร ? ไฝ (Nevus) เป็นสิ่งที่เราสามารถพบได้ตามผิวหนังของทุกคน โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายใด ๆ แต่หากเป็นไฝที่โตเร็วผิดปกติ มีผิวหนังขรุขระ หรือมีเลือดออกควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ วิธีการรักษา 1. กรณีไฝอันตราย ควรพบแพทย์เพื่อเก็บตัวอย่างผิวหนัง ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา2. กรณีไฝธรรมดาสามารถกำจัดออกด้วยการจี้ไฝออกไปได้ ปานที่เยื่อบุตาขาว เกิดจากอะไร ? ปาน (Melanosis) เป็นภาวะที่มีพื้นที่บางส่วนของตาขาว มีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักพบตั้งแต่กำเนิด บางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ หากเป็นบริเวณที่ค่อนข้างกว้าง อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคต้อหินได้ ซึ่งอาจต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุและการรักษาโรคเส้นเลือดขอด

19 กันยายน 2567 หลอดเลือดขอด หรือเส้นเลือดขอดคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด และจะมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เส้นเลือดขอด คืออะไร เส้นเลือดขอด เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังขยายตัวผิดปกติ เกิดเป็นแรงดันที่หลอดเลือดดำ ซึ่งทำให้เส้นเลือดโป่งพองสีเขียวคล้ำ สาเหตุการเกิดเส้นเลือดขอด -เกิดจากความดันในหลอดเลือดดำขณะยืน เดินนาน ๆ การนั่งไขว่ห้าง และการใส่ส้นสูง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกจึงทำให้เส้นเลือดโป่งพองขึ้น -ผู้หญิงมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น -น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดที่บริเวณขา เป็นเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้ -อายุเพิ่มขึ้น จะพบเส้นเลือดขอดมากขื้น  เนื่องจากความยืดหยุ่นของเส้นเลือดและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง แนวทางในการรักษาเส้นเลือดขอด เริ่มจากการใส่ถุงน่องความดัน ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ถุงน่องจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาบีบตัวได้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการรับประทานยา หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดเอาเส้นเลือดออก แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่การใช้สายสวน อาจจะใช้ความร้อนหรือกาวมาอุดบริเวณเส้นเลือดขอด สัมภาษณ์เมื่อ : 19 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ลมยางไนโตรเจน

17 กันยายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ลมยางไนโตรเจนว่า แตกต่างจากลมยางธรรมดาทั่วไปอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 25 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย จริงหรือ ?

18 กันยายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย โดยเฉพาะหอยนางรมสด เสี่ยงเจอแบคทีเรียกินเนื้อมนุษย์ และควรหยุดกินหอยแครง เพราะอาจเป็นเหตุทำให้เกิดมะเร็งตามมาได้ ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.กิตติยศ ภู่วรวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ นายแพทย์ สุพจน์ นิ่มอนงค์ สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลศิริราช คุณวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดี กรมประมง รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปส่องตัวไรในบะหมี่-ขนมขบเคี้ยว จริงหรือ ?

16 กันยายน 2567 – ตามที่มีการคลิปการส่องกล้อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ มันฝรั่งขนมขบเคี้ยว พบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเต็มไปหมด พร้อมเตือนคนที่ชอบกินระวังไว้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ รองหัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 28 พฤษภาคม 2567 และ ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สัมภาษณ์เมื่อ : 4 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังเชื้อราในตู้เย็น จริงหรือ ?

15 กันยายน 2567 – บนโซเชียลแชร์เตือนให้ระวังเชื้อราในตู้เย็น โดยบอกว่า 98% เรากินเชื้อราโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ เช็ดตู้เย็นสัปดาห์ละครั้ง และวางวาซาบิไว้ ช่วยชะลอการโตของราในตู้เย็นได้ บทสรุป : จริง แชร์ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.อรอุมา เพียซ้าย ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการสมาคมสารพิษจากเชื้อราแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ริดสีดวงที่ดวงตา

12 กันยายน 2567 – ริดสีดวงที่ดวงตา เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน และควรป้องกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดข้อสงสัยของการดื่มแอลกอฮอล์ จริงหรือ ?

11 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์สารพัดข้อสงสัยของการดื่มแอลกอฮอล์ บ้างก็ว่าดื่มเบียร์ได้ประโยชน์ เหมือนน้ำสมุนไพร บ้างก็เตือนว่ายาดองเหล้า อันตราย ดื่มแล้วเสี่ยงตาบอด จนถึงขั้นเสียชีวิต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 5 : ดื่มยาดองเหล้า เสี่ยงตาบอด และเสียชีวิต จริงหรือ ? มีการแชร์คำเตือนจากข่าวน่าตกใจว่า ดื่มยาดองเหล้าแล้วได้รับอันตราย หากมีเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ อาจถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิต ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม  “ยาดองเหล้าที่มีส่วนผสมของเมทานอล หรือเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่มักใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดอันตรายถึงขึ้นตาบอดและเสียชีวิตได้” อันดับที่ 4 : เบียร์มีประโยชน์เหมือนน้ำสมุนไพร  จริงหรือ ? มีการแชร์ว่าเบียร์มีคุณประโยชน์หลากหลายอย่าง จัดเป็นน้ำสมุนไพร ควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : อาการบอกคลัตช์เริ่มเสื่อมสภาพ จริงหรือ ?

10 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์อาการที่บอกว่า คลัตช์ของรถยนต์เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว เช่น คลัตช์ลื่น และ เปลี่ยนเกียร์ยากขึ้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 1 คลัตซ์ลึกขึ้น จริงหรือ ? อาการคลัตซ์ลึกขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของคลัตซ์ บางครั้งไม่ใช่ผ้าคลัตซ์หมด แต่อาจจะเกิดจากระบบไฮดรอลิค (Hydraulic)  ก็ได้ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 2 เข้าเกียร์ยากขึ้น จริงหรือ ? คลัตช์คืออุปกรณ์ที่ทำงานควบคู่ไปกับเกียร์ การเปลี่ยนเกียร์จะต้องทำไปพร้อม ๆ กับการเหยียบคลัตช์เพื่อตัดกำลังจากเครื่องยนต์เข้าสู่เกียร์ ซึ่งหากระบบคลัตช์มีปัญหาก็จะทำให้การตัดกำลังทำได้ยาก ส่งผลให้เข้าเกียร์ยากหรือมีช่วงสะดุดในระหว่างการปรับเกียร์ได้ คลัตซ์ใกล้เสีย อาการที่ 3 ครัตซ์ลื่น จริงหรือ ? เป็นอาการเริ่มต้นก่อนคลัตซ์จะหมด อาการคลัตซ์ลื่นสามารถเกิดได้ 2 กรณี คือ 1. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 คำแนะนำในคนที่กระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

9 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์คำแนะนำ 3 ข้อ  สำหรับคนที่เป็นกระดูกสันหลังคด คือ พยายามอย่านอนตะแคง การยกของหนักทำให้กระดูกคดเพิ่มได้ และ ควรออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กระดูกคด คือ การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลังจากปกติที่โค้งงอไปด้านหน้าและหลังเล็กน้อย กลายเป็นโค้งงอ คดงอ บิดเบี้ยวไปทางด้านข้าง ส่งผลให้ไหล่ เอว สะโพกไม่เท่ากัน มีลักษณะคล้ายตัว “C” หรือตัว “S” ทำให้ร่างกายเสียสมดุลการทรงตัว  3 คำแนะนำในคนที่กระดูกสันหลังคด มีดังนี้ 1.การนอนตะแคงจะทำให้กระดูกคดเพิ่มได้ จริงหรือ ? : การนอนตะแคงเป็นท่าที่แนะนำสำหรับคนเป็นกระดูกสันหลังคด 2.การยกของหนักทำให้กระดูกคดเพิ่มได้ จริงหรือ ? : กระดูกไม่ได้อ่อนแอ แต่กล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกจะมีความแข็งแรงของทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อเราสะพายกระเป๋าหรือยกของหนัก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อะไรเข้าตา

8 กันยายน 2567 – เมื่อมีอะไรเข้าตา สิ่งที่ต้องอย่าทำคืออะไร และสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อนำสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตาเป็นอย่างไรต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณบอกเแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม ใกล้เสีย หมดสภาพ จริงหรือ ?

3 กันยายน 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่บอกว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ใกล้เสื่อม หมดสภาพ เช่น ไฟสว่างน้อยลง และ ค่า CCA ต่ำกว่าปกตินั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ คุณสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า เรื่องแชร์สัญญาณที่บอกว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ใกล้เสื่อมนั้นส่วนมากจริง และต้องมีการอัพเดตข้อมูลในบางข้อ สัญญาณแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อม 1. สตาร์ลากยาวด้วยรอบต่ำ เราจะสังเกตได้ว่าขณะที่บิดกุญแจทำการสตาร์ตรถ จะได้ยินเสียงเครื่องยนต์ลากยาวกว่าปกติ สามารถสันนิษฐานได้ว่า อาจเกิดจากแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพจ่ายไฟได้น้อยลง 2. กระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง หากแบตเตอรี่รถยนต์ไม่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม หรือจ่ายกระแสไฟได้น้อย ก็มีผลทำให้กระจกไฟฟ้าทำงานได้ช้าลงกว่าเดิม 3. ไฟส่องสว่าง สว่างน้อยลง จริง สำหรับรถยนต์ที่ใช้ไฟหลอดฮาโลเจน แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์มีการปรับเปลี่ยนเป็นไฟ LED จึงไม่มีผลในเรื่องนี้ เนื่องจากไฟ LED ใช้กระแสไฟน้อยมาก 4. ค่า CCA ของแบตเตอรี่ต่ำกว่าปกติ ค่า CCA […]

1 4 5 6 7 8 50