ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันดีเซล”

13 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันดีเซลว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่รูปแบบ เลือกใช้ให้เหมาะสมอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลทำงานอย่างไร ? หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล จะอาศัยการจุดระเบิดโดยหลักการอัดอากาศ และฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูงจนเชื้อเพลิงนั้นสามารถติดไฟได้  โดยมีเลขซีเทนเป็นตัวเลขที่ใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล โดยบ่งบอกถึงคุณสมบัติการจุดติดของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ ปัจจุบันน้ำมันดีเซลในประเทศ มี 3 ประเภทด้วยกัน   แต่ละประเภทมีคุณภาพเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซล ดังนี้  1. น้ำมันดีเซล B7 ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ  7%  ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล ปัจจุบันน้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่ายอยู่ 2. น้ำมันดีเซล B20 ดีเซล B20 มีสัดส่วนของไบโอดีเซล 20% และดีเซล 80% ซึ่งในปัจจุบันเป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถโดยสารสาธารณะ ผลกระทบจากการใช้ดีเซล B20 2.1 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องไวขึ้น รวมไปถึงไส้กรองน้ำมัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุการติดไวรัสตับอักเสบ

11 สิงหาคม 2567 – ไวรัสตับอักเสบคืออะไร มีกี่ชนิด และติดได้จากสาเหตุใด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรคไวรัสตับอักเสบที่พบบ่อยมีอยู่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ A B C D และ E โดยจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามชนิด ดังนี้ ไวรัสตับอักเสบ A  การติดต่อ : ติดจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนไวรัสตับอักเสบ A เช่น อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาการ : ตาเหลือง อ่อนเพลีย ไวรัสตับอักเสบ B  การติดต่อ : ติดจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไวรัสตับอักเสบ C การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบ D การติดต่อ : ติดเชื้อทางเลือด กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับยางรถยนต์ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยางรถยนต์มากมาย เช่น หากแก้มยางฉีกห้ามปะ หรือ ไม่ควรใช้ยางเก่าเก็บค้างปีนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 1.ใช้ยางรถยนต์เกิน 2 ปี ต้องเปลี่ยน จริงหรือ ? ตอบ : ไม่จริง หลายคนเข้าใจว่าเมื่อครบ 2 ปี ต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ทันทีเพราะคิดว่ายางหมดอายุแล้ว หากใช้ต่อไปจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ในความเป็นจริงยางที่ครบกำหนดเหล่านี้ยังสามารถใช้งานต่อไปได้อีกนาน หากว่ายางไม่มีปัญหาเสื่อมสภาพ เช่น ดอกยางสึกมากจนถึงสะพานยางที่เป็นจุดลึกสุดของร่องยาง รวมถึงยางปริแตก บวม เป็นต้น 2.ไม่ควรใช้ยางค้างปี หรือยางค้างสต็อกจริงหรือ ? ตอบ : ต้องอธิบายเพิ่มว่า ยางเก่าค้างปี หมายถึง ยางที่ถูกผลิตไม่ตรงกับปีที่ซื้อ หลายคนมองว่ายางเก่าหรือยางค้างสต็อกนั้นคงไม่ดีเ แต่ในกรณีที่เป็นยางปีเก่า ยางค้างสต็อกนั้น ถ้าถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดีก็ไม่มีผลต่อการใช้งานอะไรอย่างแน่นอน เพราะยางเหล่านี้แค่ถูกผลิตในปีก่อนหน้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตาบ่อยทำให้หน้าแก่ก่อนวัย จริงหรือ ?

4 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือน การขยี้ตาบ่อย ๆ ทำให้หน้าแก่ก่อนวัย ใครที่ชอบขยี้ตาเลิกได้เลิก ก่อนจะเกิด 4 ลักษณะที่ทำให้หน้าดูแก่ สรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย แชร์ว่า : 4 ลักษณะที่ทำให้หน้าดูแก่ สัมภาษณ์เมื่อ : 16 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแดงจากปรสิตในน้ำ

25 กรกฎาคม 2567 – ตาแดงจากน้ำที่ไม่สะอาด และมีปรสิต อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ตาแดงจากน้ำที่ไม่สะอาดและมีปรสิต อันตรายแค่ไหน ? ตาแดง เกิดจากเชื้อปรสิต ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ อาการหลังจากใช้น้ำที่มีการปนเปื้อน เป็นอย่างไร ? หลังจากได้รับเชื้อปรสิตเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาและกระจกตา หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบไปพบจักษุแพทย์จะทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยจะเห็นเป็นจุดสีขาวอยู่ทั่วบริเวณกระจกตาดำ และในบางรายการอักเสบติดเชื้ออาจลุกลามถึงชั้นลึกของกระจกตา ทำให้การรักษายากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ดีอาจมีแผลเป็นกระจกตาหรือการมองเห็นที่แย่ลง นอกจากนี้ยังพบเชื้อโรคอื่น ๆ จากการตรวจน้ำที่ไม่สะอาดในบ่อพักน้ำ เช่น อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) หากประชาชนได้รับเชื้อโดยบังเอิญจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด  อาจเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาทำให้เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ มีอาการ ตาแดง หรือตามัวได้ หากมีปัญหากับดวงตาหรือมีอาการผิดปกติควรพบจักษุแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 16 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ชะลอตาเสื่อม

28 มิถุนายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการชะลอตาเสื่อม วิธีใดที่ใช้ได้ผล สิ่งใดที่ควรปฏิบัติ ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ พันโท นายแพทย์ ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 25 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : UNCOILEXS ? — การกลั่นแกล้ง ที่เจ็บปวดมากที่สุด

29 มิถุนายน 2567 สิ่งนี้…ถือเป็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์รูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด และสิ่งนี้…มีงานวิจัยพบว่า เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบประสาทของผู้ถูกกระทำ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งร่างกาย และจิตใจ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตาบ่อย เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

30 มิถุนายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์ข่าวชายชาวต่างชาติเกือบตาบอด เพราะขยี้ตาบ่อยตั้งแต่เด็ก ทำให้ต้องพบจักษุแพทย์ และต้องผ่าเปลี่ยนกระจกตา หืม ! ชัวร์เหรอ ? 🎯 บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 5 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจการบำรุงตา

24 มิถุนายน 2567 บำรุงสายตา ทำด้วยวิธีใดได้บ้าง เราต้องการกินหรือทำอะไร ที่จะทำให้ดวงตาของเราดีขึ้นกว่าเดิม 🎯 ตรวจสอบกับ พันโท นายแพทย์ ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 25 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดผลไม้อันตราย จริงหรือ ?

26 มิถุนายน 2567 บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดคำเตือนผลไม้อันตราย ทั้งมะเฟืองมีพิษร้าย กินเข้าไปจะทำให้ไตทำงานหนัก และห้ามนำผลไม้กระป๋องแช่ตู้เย็นเป็นอันขาด เพราะมีโอกาสเกิดสนิม กินเข้าไปอาจถึงตายได้ ?! ตรวจสอบกับ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสงแดดกับการปกป้องดวงตา

27 มิถุนายน 2567 แสงแดดทำอันตรายกับดวงตาได้แค่ไหน แว่นกันแดดจำเป็นหรือไม่ และเราควรเลือกแว่นกันแดดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 5 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : ของเหลวที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า

25 มิถุนายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับของเหลวที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าว่า มีกี่ชนิด แต่ละชนิดควรดูแล และเปลี่ยนถ่ายอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

1 6 7 8 9 10 50