ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณ อาการ และการรักษาภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

15 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร อาการเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการจอประสาทตาหลุดลอก โรคจอตาหลุดลอก คือ ภาวะที่มีการลอกตัวของจอตาออกจากผนังด้านในของลูกตา เกิดจาก มีการฉีกขาดของจอตาทำให้น้ำในน้ำวุ้นตาไหลผ่านรอยฉีกหรือรูรั่วที่จอประสาทตาเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างชั้นจอประสาทตา และผนังด้านหลังของตา นอกจากนี้ยังมีโรคจอประสาทตาลอกซึ่งเกิดจากโรคทางดวงตาอื่น ๆ เช่น การอักเสบอย่างรุนแรงหรือจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน  โรคจอประสาทตาเสื่อมประเภทนี้จะไม่มีรูรั่วที่จะประสาทตา การรักษาจึงต้องมุ่งไปที่สาเหตุของโรคเป็นสำคัญ วิธีสังเกตอาการ 1. เห็นเงาดำเป็นจุดหรือเห็นหยากไย่ที่เกิดขึ้นโดยทันที หรือหากเคยเห็นอยู่ก่อนแล้วจะเห็นเพิ่มมากขึ้น 2. มีฟ้าแล่บเกิดในลูกตา ทั้งขณะลืมตาหรือหลับตา 3. มีเงาคล้ายม่านดำมาบัง ทำให้สายตามัวและมืดลงในที่สุด เมื่อเกิดอาการดังกล่าว แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียดทันที เพื่อตรวจดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตาหรือไม่ เพราะหากมีแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดโรคจอประสาทตาลอกหลุดขั้นรุนแรงจนตาบอดได้ สัมภาษณ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย :

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CANCEL CULTURE ? — วัฒนธรรมบนโซเชียล ที่ส่งผลชั่วข้ามคืน

16 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นวัฒนธรรมที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในโซเชียลมีเดีย และสิ่งนี้… ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหลัง

17 มีนาคม 2567 อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ปวดหลัง ตอนอายุน้อย กับ อายุมาก ต่างกันอย่างไร แล้วแค่ปวดหลัง จะเป็นสัญญาณความเสี่ยง หรือ ลุกลามรุนแรงได้หรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไร ? 1.การปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นฉีก ส่วนใหญ่เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการแบกของหนัก 2.ปวดหลังจากโครงสร้าง สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่น ๆ อาการปวดหลัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ ซึ่งบางคนอาจไม่ได้มีอาการปวดรุนแรงมากนัก เมื่อเวลาผ่านไปสามารถหายเองหรือบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองจากการรับประทานยาและท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดรุนแรงเป็นระยะเวลานานจนเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการปวดหลังในลักษณะนี้มีความจำเป็นที่ต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

14 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และใครที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะนี้ได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก คืออะไร ? คือ ภาวะที่จอตาหลุดลอกออกจากผนังลูกตาด้านหลัง ซึ่งเป็นชั้นของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ทำให้จอตาบริเวณนั้นขาดสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เมื่อเส้นเลือดในดวงตาผิดปกติ การมองเห็นแย่ลง หรือเห็นเหมือนสายฟ้าแล่บ มีความอันตรายอย่างไร ? หากปล่อยทิ้งไว้นานเซลล์ประสาทอาจจะเสื่อมและตายจากการขาดเลือด จอตาบริเวณดังกล่าวอาจจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ผู้ที่มีความเสี่ยงจอประสาทตาหลุดลอก สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีบำรุงสมอง จริงหรือ ?

13 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีบำรุงสมองเอาไว้มากมาย ทั้งนอนห้อยหัว แลบลิ้น ช่วยป้องกันสมองเสื่อม และการดื่มกาแฟ ดื่มโกโก้ จะทำให้สมองดีขึ้นได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดื่มโกโก้ช่วยบำรุงสมอง จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความบอกว่าวิธีบำรุงสมองและความจำด้วยการรับประทานโกโก้ทุกวันนั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น อาจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ การกินโกโก้จะได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรผสมนม ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ซึ่งเป็นผู้แนะนำให้ดื่มโกโก้ร้อนเพื่อบำรุงสมอง ระบุงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษรองรับว่าการดื่มโกโก้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 1,000 มิลลิกรัม วันละครั้งทุกวันจะช่วยบำรุงสมอง จากการทดลองต้วยตนเองพบว่าเซลล์สมองทำงานดีขึ้น ไม่ซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck FACTSHEET : แบตเตอรี่ลิเทียมในรถยนต์ไฟฟ้า

12 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเทียมในรถยนต์ไฟฟ้าว่า ถูกนำมาใช้อย่างไร แต่ละยี่ห้อใช้แตกต่างกันหรือไม่ และมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรนั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปัจจุบันแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่นิยมนำมาใช้สำหรับให้พลังงานรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งแบตเตอรี่ชนิดนี้ก็คือชนิดเดียวกันที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเทียม คือ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีรวมถึงมีอัตราการคายประจุในระหว่างการจัดเก็บรักษาต่ำ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญและคุ้มค่ามากสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งด้วยน้ำหนักที่น้อยและให้พลังงานได้มากทำให้สามารถที่จะชาร์จครั้งเดียวแล้วเดินทางไปได้ไกลหลายกิโลเมตร ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇 สัมภาษณ์เมื่อ : 31 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : วัคซีนโควิด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ-อุดตัน จริงหรือ ?

11 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือนว่า การฉีดวัคซีนโควิด มีอันตราย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดฝอย เซลล์ตายเพราะขาดออกซิเจนนั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ การฉีดวัคซีนโควิด มีอันตราย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จริงหรือ ? : มีรายงานพบว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบว่า มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่หากรวบรวมข้อมูลในการฉีดวัคซีนหลายชนิดตั้งแต่อดีต พบว่าวัคซีนมีผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั้งสิ้น โดยผลเสียเหล่านี้ถือว่าพบน้อยมาก ข้อดีของวัคซีนในการป้องกันอันตรายจากโรคโควิด-19 มีมากกว่าผลเสียเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ วัคซีนจะก่อมะเร็งใน 5 ปี และอาจจะก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวฆ่าเซลล์หลอดเลือดของตัวเอง จริงหรือ ? : ไม่จริง ยังไม่มีรายงานว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ อุดตัน แต่อย่างใด วัคซีนชนิด mRNA จะทำให้หัวใจเกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดฝอย จนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ระวัง! หลอดเลือดสมองแตก หลังอาบน้ำ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวเตือนว่า ชายหลอดเลือดสมองแตกหลังอาบน้ำเหตุเจออากาศเย็น ถูกส่งโรงพยาบาลพบความดันสูง หลอดเลือดสมองตีบอันตรายถึงชีวิต บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ “ข่าวที่แชร์มายังบอกข้อมูลไม่ครบ ว่าคนไข้มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ตามปกติอาการหลอดเลือดสมองแตกสามารถเกิดได้ตลอดเวลาและไม่เกี่ยวกับการอาบน้ำแต่อย่างใด เนื่องจากอากาศที่ร้อนหรืออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ ร่างกายของเราจะมีกลไกการหดตัวหรือขยายตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ซึ่งแทบไม่ส่งผลกับหลอดเลือดสมองเลย”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแฉะ

10 มีนาคม 2567 ตาแฉะเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณของโรคทางตาหรือไม่ และจะต้องดูแลอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะตาแฉะ คือ อาการน้ำตาไหลบ่อย ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว สีขุ่นขาวหรือมีสีเหลือง  สีของขี้ตาบ่งบอกภาวะของโรคได้ ภาวะตาแฉะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการตาแฉะมักเริ่มที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อน หากมีการรักษาความสะอาดดี ก็อาจจะหาย แต่บ่อยครั้งเรามักเผลอเอามือไปสัมผัสตาข้างที่เป็น มาโดนตาอีกข้างหนึ่งก็มักจะทำให้เป็น หรือทำให้ติดเชื้อสองตาได้ การรักษา หากคุณสงสัยว่าปัญหา ขี้ตา เยอะนั้นอาจจะเป็นเพราะโรคภูมิแพ้ ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ เพื่อหาดูว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ต่ออะไรกันแน่ หรืออาจจะบรรเทาอาการด้วยยาแก้แพ้ และใช้น้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดความระคายเคืองต่อดวงตาลงไปได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

7 มีนาคม 2567 บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัญญาณเตือนโรคพาร์กินสัน อาการสั่น ส่วนมากเป็นสั่นข้างเดียว ควบคุมตนเองไม่ได้ หากอายุน้อยมักมีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ เขียนหนังสือตัวเล็กลง การรักษาโรคพาร์กินสัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยรักษาบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST: 5 เรื่องฮิต ข้อห้ามการใช้งานโทรศัพท์มือถือ จริงหรือ ?

6 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับข้อห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งห้ามดูในที่มืดเพราะเสี่ยงตาบอด และห้ามใช้ไฟฉายมือถือส่องตู้ไฟฟ้าบ้าน อันตรายถึงชีวิต ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดูมือถือในที่มืดทำให้ตาบอด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า  ถ้าเปิดดูจอมือถือในที่มืดจะทำให้ตาบอดได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายแพทย์ นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ นายแพทย์ สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย “การเล่นมือถือในที่มืดไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นมือถือขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ทำให้ตาล้ามากขึ้น อาการจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไป ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม” อันดับที่ 2 : ชาร์จมือถือไป เล่นไป อันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความเตือนว่า แชร์เตือนว่า การชาร์จโทรศัพท์มือถือไปด้วย เล่นไปด้วย เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะที่ชาร์จจะร้อนจนฉนวนภายในหลอมละลาย และไฟฟ้า 310 โวลต์ จะวิ่งเข้ามาช็อตทันที  บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณเตือนผ้าเบรกใกล้หมด จริงหรือ ?

5 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สัญญาณที่เตือนว่า ผ้าเบรกของรถยนต์ใกล้หมดแล้ว เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง และ น้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรกลดลงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัญญาณบอกอาการผ้าเบรกหมด มีดังนี้ 1. แป้นเบรกลึกขึ้น ระยะของผ้าเบรกอยู่ห่างจากจานเบรกมากขึ้น จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกลึกขึ้น กรณีหากมีการตรวจเช็กแล้วว่าไม่มีรอยรั่ว ก็อาจจะทำให้ระดับของน้ำมันเบรกหายไปด้วย แต่อาการเหยียบแป้นเบรกลึกขึ้น อาจจะไม่ใช่อาการผ้าเบรกหมดซะทีเดียว อาจจะบอกถึงความเสื่อมสภาพของซีลยางของตัวชุดปั๊มเบรก หรือซีลยางในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน 2. เบรกแล้วมีเสียงดัง ส่วนมากเกิดมาจากผ้าเบรกและจานเบรก หากผ้าเบรกหมดจะทำให้เหล็กผ้าเบรกและจานเบรกที่เป็นเหล็กทั้งคู่เสียดสีกันจนทำให้เกิดเสียง หากผ้าเบรกบางลงจำเป็นที่จะต้องถอดออกมาเปลี่ยนใหม่ เพราะถือว่าเป็นความเสื่อมสภาพของตัวผ้าเบรกจนทำให้เหยียบเบรกแล้วมีเสียงดังเกิดขึ้น 3. น้ำมันเบรกในกระปุกลดลง หากน้ำมันเบรกลดต่ำกว่าปกติ แต่ตรวจเช็กแล้วไม่พบรอยรั่วใด ๆ อาจเป็นไปได้ว่าความหนาของผ้าเบรกลดลง จนทำให้น้ำมันเบรกเข้าไปอยู่ตามสายเบรกและลูกสูบเบรก เพราะลูกสูบที่อยู่ในคาลิปเปอร์เบรก จะเลื่อนตัวออกมามาก เพื่อดันให้ผ้าเบรกจับกับจานเบรกน้ำมันเบรกในกระปุกจึงลดลง สัมภาษณ์เมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

1 12 13 14 15 16 49