ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิตามินดีในเห็ด

29 มีนาคม 2567 – เห็ดมีวิตามินดี มากแค่ไหน และถ้านำเห็ดไปตากแดด จะทำให้มีวิตามินดีเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การนำเห็ดไปตากแดด จะทำให้สร้างวิตามินดี 2 เห็ดที่มีปริมาณวิตามินดีสูงสุด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า มีวิตามินดีปริมาณ 15 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม ซึ่งถือว่าเพียงพอกับปริมาณวิตามินดีต่อวันตามที่ร่างกายต้องการ รองลงมาเป็น เห็ดโคน เห็ดหลินดำ ในตัวเห็ดมีสารตั้งต้น ชื่อ เออโกรเซอรอล เมื่อได้รับแสงสารเห็ดก็พร้อมจะสร้างวิตามินดีอยู่ตลอด สารตั้งต้นก็จะอยู่ในหมวกเห็ด ก้านเห็ด จากการทดลองนำเห็ดเข็มทองไปฉายแสงยูวีบี พบว่า วิตามินดีก่อนฉายแสงยูวีบี 0.77 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม หลังฉายแสงยูวีบี สองด้าน 60 นาที […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แบบทดสอบสายตาเอียง ใช้ได้จริงหรือ ?

31 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์บทความและภาพตัวอย่างที่คนสายตาเอียงมองเห็น พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทดสอบสายตาเอียง โดยให้ปิดทีละข้าง แล้วมองไปที่ภาพเส้นตรงในแนวรัศมีตามองศาต่าง ๆ หากพบว่าบางเส้นมีความเข้มจางไม่เท่ากัน แสดงว่ามีภาวะสายตาเอียงแล้วนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตาเอียงเกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันในแต่ละแกน ทำให้เกิดจุดโฟกัส 2 จุดไม่รวมเป็นภาพเดียว โดยที่จุดหนึ่งโฟกัสที่หลังหรือหน้าจอประสาทตา สายตาเอียงอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง จากการบาดเจ็บทางดวงตา วิธีทดสอบสายตาเอียงตามที่แชร์มา คือ ให้ปิดตาหนึ่งข้างแล้วมองไปที่เส้นแฉกในมุมต่าง ๆ หากเห็นบางเส้นเข้ม จาง ไม่เท่ากัน แสดงว่ามีปัญหาสายตาเอียงแล้ว แพทย์กล่าวว่า เป็นวิธีทดสอบทางการแพทย์อยู่แล้วหากลองเอามือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองไปยังเส้นตรงหลาย ๆ เส้นหากมองเห็นทุกเส้นพบว่าสีเข้มไม่เท่ากัน บางเส้นสีเข้ม บางเส้นสีอ่อน แสดงว่าเริ่มมีแนวโน้มที่จะมีภาวะสายตาเอียง ส่วนใหญ่อาการสายตาเอียง มักไม่ปรากฏอาการที่รุนแรงจนต้องทำการรักษา แต่สำหรับการแก้ปัญหาการมองเห็นสามารถทำได้โดยการสวมใส่แว่นตาและใส่คอนแทคเลนส์ และการทำเลสิค สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

28 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนคนที่นั่งรถไฟฟ้า ว่า หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ เพราะอาจเป็นการเหนี่ยวนำไฟฟ้าแรงสูงบนรางรถไฟ เข้ามาช็อตผ่านหูสู่สมองได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ เหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดีย ไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดประโยชน์ของสับปะรด จริงหรือ ?

27 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของสับปะรด ทั้งเพิ่มปริมาณอสุจิ ช่วยลดน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ และแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ประโยชน์ 16 ข้อของสับปะรด จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความแนะนำว่าสับปะรดมีประโยชน์ 16 ข้อ เช่น ตั้งแต่ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันหรือบรรเทาเบาหวาน ชะลอวัย ผิวขาว ลดริ้วรอย ลดน้ำหนัก รักษาเกาต์ บรรเทาปวด นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.รัชนีคงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล สับปะรดไม่ได้มีประโยชน์ 16 ข้อตามที่แชร์กัน เป็นเพียงผลไม้ที่มีน้ำมาก กินแล้วสดชื่น แต่หากมีอาการแสบลิ้น ไอ ไม่สบายท้องควรหลีกเลี่ยง   รายละเอียดที่แชร์กัน มีดังนี้ : อันดับที่ 2 : กินสับปะรดแก้น้ำวุ้นตาเสื่อม จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความว่า การกินสับปะรดช่วยแก้ปัญหา “น้ำวุ้นตามเสื่อม” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า

25 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรฐานระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ มาตรฐานระยะทางรถยนต์ไฟฟ้า เป็นการวัดว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าไหร่ต่อการชาร์จแบตเตอรีหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมีมาตรฐานที่นิยมใช้ ได้แก่ EPA , WLTP, CLTC และ NEDC ซึ่งมาตรฐานของแต่ละตัวมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการทดสอบที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในการวัดก็แตกต่างกัน มาตรฐานที่ 1 : EPA (U.S. Environmental Protection Agency) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นมาตรฐานล่าสุดที่คนทั่วโลกคุ้นเคย โดยใช้วิธีการจำลองการวิ่งในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบวิ่งในเมือง (UDDS) และ การทดสอบวิ่งนอกเมือง (HWFET) ซึ่งจะทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าแบตเตอรี่จะหมด และรถไม่สามารถวิ่งต่อไปได้แล้ว จากนั้นก็จะทำการบันทึกระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้สูงสุดเอาไว้ มาตรฐานที่ 2 : WLTP (Worldwide Harmonised Light […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

25 มีนาคม 2567 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หินปูนในเยื่อบุตา

24 มีนาคม 2567 หินปูนใต้เปลือกตาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

20 มีนาคม 2567 – โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไรต่อการเกิดโรคมีอะไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร​์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CONTINUALHAIL ? — อาการที่ AI ก็เป็นได้ จนน่าขนลุก !

23 มีนาคม 2567 สิ่งนี้… เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ จนทำให้เกิดความสับสน และสิ่งนี้… ส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แก้ปวดหลัง

22 มีนาคม 2567 – แก้ปวดหลัง ด้วยวิธีไหนจะได้ผลที่สุด แล้วอาการปวดหลังแบบไหน เป็นสัญญาณอันตรายว่าควรต้องพบแพทย์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สัญญาณแร็กพวงมาลัยเสีย จริงหรือ ?

19 มีนาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์อาการที่บอกว่า แร็กพวงมาลัยของรถยนต์เสีย เช่น พวงมาลัยหนักขึ้น และ มีน้ำมันรั่วซึม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 00:49 อาการที่ 1 : วิ่งทางขรุขระ ช่วงล่างมีเสียงดัง 01:21 อาการที่ 2 : หักเลี้ยวสุดแล้วมีเสียงดัง 02:36 อาการที่ 3 : มีน้ำมันรั่วซึม 03:38 อาการที่ 4 : พวงมาลัยหนัก สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดอาหารห้ามกินคู่กัน จริงหรือ ?

20 มีนาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดคู่อาหารอันตราย ทั้งห้ามกินเต้าหู้คู่น้ำผึ้ง เพราะจะทำให้หูหนวก และการกินปูตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วย อาจทำให้ถึงตายได้ ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เภสัชกรหญิง พัณณิตา บุญเคลิ้ม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตำรวจ ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 11 12 13 14 15 49