ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จักและเข้าใจ วิธีพ่วงแบตฯ รถยนต์

16 เมษายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า สาเหตุที่ทำให้แบตฯ หมด คืออะไร เมื่อแบตหมดแล้ว ต้องทำอย่างไร และสายพ่วงแบตฯ ที่ควรเลือกซื้อ ต้องเป็นแบบใด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ร้อนใน แผลในปาก จริงหรือ ?

17 เม.ย. 67 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับวิธีแก้ร้อนใน ทั้งการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เปลี่ยนยาสีฟัน เลี่ยงอาหารรสจัด รวมถึงการกินขิงและกระเทียมจะช่วยให้หายเร็วขึ้น ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ รศ.ทพ.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดยาดมอันตราย จริงหรือ ?

18 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เตือน ใช้ยาดมผิดอันตรายต่อระบบประสาท ทำให้เกิดปอดอักเสบได้ และส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ ให้ใช้เฉพาะตอนเป็นหวัด คัดจมูก และเวียนศีรษะเท่านั้น ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ปวดหัว ไมเกรน จริงหรือ ?

10 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีแก้ปวดหัว ทั้งการนวด การอุดรูจมูกที่เชื่อว่าช่วยบรรเทาอาการ อีกทั้งการดื่มกาแฟดำ น้ำผึ้ง มะนาว แก้ปวดหัวไมเกรนได้ มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : กาแฟใส่มะนาวแก้ปวดหัวไมเกรน จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “ในบางคน การดื่มกาแฟอาจช่วยบรรเทาไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม หากเราใส่มะนาวเพิ่มเข้าไป มะนาวอาจกระตุ้นให้ปวดหัวมากกว่าเดิมจึงไม่ควรทำตาม” อันดับที่ 2 : คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “การนวดคลึงบริเวณหูอย่างในคลิปที่แชร์กันนั้น สามารถช่วยแก้อาการหู้อื้อ ลมออกหู หรือได้ยินไม่ค่อยชัดได้ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปวดหัวอย่างที่แชร์กัน” อันดับที่ 3 : คลิปนวดแก้ตาพร่ามัว ไมเกรน ใช้ได้ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีนวดแก้ตาพร่ามัวและไมเกรนได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผอ.สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เลือกใช้ ดูแล แบตเตอรี่ 12 โวลต์รถยนต์

9 เมษายน 2567 – ตามที่การแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า ต้องเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม มีวิธีการดูแลและตรวจเช็กความผิดปกติที่ถูกต้องอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : SLEEP TEXTING – โรคยอดฮิต ของคนติดแชต

6 เมษายน 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการคลั่งแชต ที่เกิดจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิดมากเกินไป และสิ่งนี้… เสี่ยงต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ นอนหลับไม่สนิท หรือฝันร้าย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLEEP TEXTING โรคละเมอแชต เป็นพฤติกรรมที่มีการใช้โทรศัพท์ เพื่อตอบข้อความหรือส่งข้อความไปหาผู้อื่นขณะที่กำลังนอนหลับ สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการติดโซเชียลทุกชนิด ทำให้มุ่งความสนใจไปที่เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้แทบจะทุกนาที จนกลายเป็นความวิตกกังวลต่อข้อความที่ถูกส่งมา แม้กระทั่งเวลาจะหลับก็ยังเอามือถือไปจิ้มเล่นเรื่อยเปื่อย และหลับไปพร้อมกับโทรศัพท์ที่ยังคามือหรือวางนิ่งอยู่ข้างตัว ปัญหาที่ตามมาก็คือ ร่างกายจะอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบในการเรียนหรือการทำงาน อาจารย์แนะนำว่า การเล่นโซเชียลมีเดียควรทำแต่พอดี หากติดมากควรลองอยู่ห่างจากสมาร์ทโฟน ตัดใจปิดมือถือ ปิดเสียง หรือปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตก่อนนอน วิธีนี้จะช่วยให้ห่างไกลจากการละเมอแชต และฟื้นฟูสุขภาพการนอนหลับให้เต็มอิ่ม ตื่นเช้ามาพร้อมความสดชื่น แจ่มใส ร่างกายแข็งแรงขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำ IF 16/8 เสี่ยงตายจากโรคหัวใจ 91% จริงหรือ ?

5 เมษายน 2567 – จากกรณีที่มีการแชร์เตือนว่า ข่าวช็อกวงการ IF วันนี้ ผลการศึกษาพบว่า ทำ IF แบบ 16/8 เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% นั้น บทสรุป : ยังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่าการทำ IF เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ. ดร. พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า “การศึกษาวิจัยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเวลาการกินอาหารของพวกเขาเท่านั้น ทีมวิจัยมีการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ 2003-2018 เปรียบเทียบกับ ฐานข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต 2003-2018 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงของ 2 ฐานข้อมูล และเป็นการสำรวจจากความทรงจำ ดังนั้นการสรุปว่าทำ IF เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% อาจจะเป็นการสรุปที่เกินจริง ต้องศึกษาต่อเนื่องต่อไป” สัมภาษณ์เมื่อ : 1 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสบตา

แสบตา เกิดได้จากสาเหตุใดได้บ้าง และอาการแสบตาจะเป็นอันตรายต่อดวงตาแค่ไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสิ่งที่ห้ามทำช่วงหน้าร้อน จริงหรือ ?

3 มีนาคม 2567 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดสิ่งห้ามทำช่วงหน้าร้อน ทั้งดื่มน้ำเย็น อาบน้ำเย็น หรือเปิดแอร์นอน และหน้าร้อนต้องเติมน้ำมันรถให้เต็มถัง เพื่อป้องกันรถระเบิด มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : สิ่งของ 6 อย่างที่ห้ามวางไว้ในรถยนต์ จริงหรือ ? มีการแชร์คำเตือนว่าป้องกันอุบัติเหตุช่วงหน้าร้อน 6 สิ่งของที่ไม่ควรลืมทิ้งไว้ในรถ เมื่อจำเป็นต้องจอดกลางแดดร้อน เพื่อความปลอดภัยนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.ไฟแช็ก กรณีจอดรถตากแดดที่มีอุณหภูมิร้อนสูง จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีเหลวภายในตัวไฟแช็ก และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ไฟแช็กจะระเบิดตัวเองทำให้เกิดไฟลุกได้ 2.กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ เนื่องจากความร้อนทำให้แก๊สในกระป๋องขยายตัว มีแรงดันสูงขึ้น ก็มีโอกาสที่จะระเบิดได้เช่นกัน 3.น้ำแข็งแห้ง กรณีนี้นำแข็งแห้งจะเริ่มระเหิด และทำปฏิกิริยากับอาการเป็นคาร์บอนไดออกไซด์มายังภายในตัวรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะสูดดมไปโดยไม่รู้ตัว และทำให้หมดสติในที่สุด 4.ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำอยู่เต็มขวด เมื่อคุณวางขวดน้ำพลาสติกไว้ที่บริเวณคอนโซลหน้ารถ และจอดรถไว้บริเวณที่แสงแดดส่องได้มุมกับขวดน้ำ ปฏิกิริยาหักเหของแสงและก่อให้เกิดไฟไหม้รถ แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ 5.อุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด เช่น สมาร์ทโฟน  แบตเตอรี่สำรอง กรณีนี้ความร้อนอาจทำให้วงจรภายใน ได้รับความเสียหาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : แบตเตอรี่รถยนต์ (แบตฯ 12 โวลต์)

2 เมษายน 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตก

1 เมษายน 2567 เส้นเลือดฝอยในตาแตกเกิดจากสาเหตุใด และจะเป็นอันตรายต่อดวงตาหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตก มีสาเหตุได้มากมายหลายชนิด เช่น การนอนคว่ำหน้า การไออย่างรุนแรง โดยทั่วไปเส้นเลือดฝอยในตาแตกจะไม่มีอาการผิดปกติ ยกเว้นในบางรายอาจมีความรู้สึกระคายเคืองตา ขึ้นกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดฝอยในตาแตก เช่น จากการขยี้ตาหรือมีแผลถลอกที่บริเวณเยื่อบุตาร่วมด้วยก็อาจจะทำให้รู้สึกระคายเคืองตา ไม่สบายตาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้สึกตกใจ เนื่องจากเวลาส่องกระจกแล้วเห็นว่ามีลักษณะปื้นของเลือดอยู่บริเวณเหนือตาขาว แต่จริง ๆ แล้วตัวโรคไม่อันตราย โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง แต่หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ : 23 มกราคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PATHOLOGICAL LIAR? — ติดโกหก มโนเก่ง จนเป็นโรค โดยไม่รู้ตัว !

30 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการผิดปกติทางจิต ที่ทำให้พูดโกหกเรื่อย ๆ จนคิดว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง และสิ่งนี้… ถูกกระตุ้นให้เกิดมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันจากโลกโซเชียลมีเดีย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล PATHOLOGICAL LIAR คืออะไร ? คือ การหลอกตัวเอง สร้างเรื่องโกหกเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ตัวเอง เพื่อสร้างความประทับใจต่อผู้อื่น สาเหตุของการหลอกตัวเอง มักจะเกิดจาก “ปม” ในอดีต พฤติกรรมนี้ทำไปเพื่อการปรับตัวและการอยู่รอดของมนุษย์ เมื่อทำบ่อย ๆ ก็จะเริ่มเกิดความเคยชิน และสิ่งที่อันตราย คือ จะเริ่มแยกไม่ออกว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริง เรื่องไหนคือเรื่องโกหก ปัจจุบันโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นเช่นกัน หลายคนจึงสร้างตัวตนที่สมบูรณ์แบบขึ้นมา เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ตัวเองขาด ดังนั้นการโกหกอาจไม่ใช่วิธีที่ดีในการสร้างความสุข และยังอาจส่งผลกระทบกลับมาทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้นการเปิดใจและยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง ไม่หลอกลวง จะส่งผลในทางที่ดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม […]

1 10 11 12 13 14 49