กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนค้านตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ


กรุงเทพฯ 28 มี.ค. – กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนออกแถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฯ ที่มีประเด็นตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ

ตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่างๆว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ในวาระที่สองและสาม ในวันที่ 30 มีนาคมนี้นั้น กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (Fellowship of Energy Reform for Sustainability: ERS) ได้รับทราบด้วยความห่วงใยว่า ได้มีการปฏิบัติที่ผิดหลักการและกระบวนการในทางนิติบัญญัติในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้    ในวาระที่สอง ในขั้นตอนของการพิจารณาแปรญัตติของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวคือ ได้มีกรรมาธิการเสียงข้าง-น้อยขอแปรญัตติเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเข้ามาใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ อันเป็นการละเมิดหลักการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการไว้ในวาระที่หนึ่ง และในการอภิปรายในวาระแรกก็ไม่มีสมาชิกท่านใด อภิปรายท้วงติงหรือต้องการเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้แต่อย่างใด


การเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบรรษัทน้ำมันแห่งชาติดังกล่าว จึงเป็นการผิดกระบวนการนิติบัญญัติที่ไม่อนุญาตให้มีการแปรญัตตินอกเหนือไปจากหลักการที่สภาได้ลงมติไว้ในวาระที่หนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็นการใช้ เสียงข้างน้อยกดดันกรรมาธิการเสียงข้างมากให้ต้องยอมตาม โดยส่งร่าง พ.ร.บ. กลับไปให้ฝ่ายบริหารพิจารณายินยอมให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวลงไปในที่สุด อันมีลักษณะเป็นการกดดันฝ่ายบริหารให้ต้องทำตาม ถ้าต้องการให้ร่าง พ.ร.บ.นี้ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ

กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน มีความเห็นว่า เรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนโยบายในการบริหารจัดการระบบพลังงานของประเทศ สมควรที่จะต้องมีการศึกษาถึงผลดี ผลเสีย ให้รอบคอบ ไม่ใช่ใส่เข้ามาลอยๆในร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ โดยไม่มีรายละเอียดอะไรรองรับ ถ้าทางสภาฯ หรือสมาชิก สนช. ท่านใดต้องการให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติก็ชอบที่จะเสนอเป็น พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่โดยตรง ที่ควรระบุหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบและรายละเอียดต่างๆ เช่น โครงสร้างองค์กร และงบประมาณที่ต้องใช้ รวมถึง ผลการศึกษาทางวิชาการที่สนับสนุนการจัดตั้งบรรษัทฯ ว่าจะมีผลดีต่อประเทศชาติอย่างไร เพื่อให้รัฐบาล และสมาชิก สนช. ได้


ดังนั้น กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน จึงขอเรียกร้องวิงวอนมายังสมาชิก สนช. ทุกท่าน ได้โปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วยความรอบคอบ และหากเห็นแก่ความถูกต้อง  ก็ได้โปรดตัดมาตรา 10/1 ออกไปจากร่าง พ.ร.บ.นี้ ก็จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ

กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนมิได้ขัดข้องที่ร่างแก้ไข พรบ. ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เปิดให้ประเทศมีทางเลือกในการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบจ้างผลิตในสถานการณ์ที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลในการเสนอกฎหมายนี้ แต่ทางกลุ่มขอคัดค้านการสอดไส้ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในมาตรา10/1 ดังกล่าว – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง