28 กรกฎาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newsmeter (อินเดีย)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
WHO และ CDC ยืนยันว่าการสูดไอร้อนไม่สามารถฆ่าไวรัสโควิด 19 ได้ และอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจได้รับบาดเจ็บอีกด้วย
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ WhatsApp ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าไวรัสโควิด 19 จะแฝงอยู่ที่โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส ผ่านไป 4 ถึง 5 วันเชื้อจะลงปอด จึงจำเป็นต้องกำจัดเชื้อที่จมูกด้วยการสูดไอร้อน โดยอุณหภูมิ 50°C จะทำให้ไวรัสเป็นอัมพาต, 60°C ทำให้ไวรัสอ่อนแอจนถูกภูมิคุ้มกันกำจัดโดยง่าย, 70°C จะทำให้ไวรัสตายทั้งหมด คนที่อยู่บ้านควรสูดไอร้อนวันละครั้ง, คนที่ออกไปซื้อของที่ตลาดต้องสูดวันละ 2 ครั้ง, คนที่พบปะผู้คนหรือทำงานนอกบ้านต้องสูดวันละ 3 ครั้ง สูดครั้งละ 5 นาทีช่วงเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เชื้อก็จะหายไปเอง
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
การตรวจสอบข้อมูลของ Newsmeter ยืนยันว่าการสูดไอร้อนไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิด 19 ได้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO), หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) และกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย ต่างไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโควิด 19 รักษาตัวด้วยการสูดไอร้อน
ราเคช มิชรา ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์และชีววิทยาระดับโมเลกุล (CCMB) อธิบายว่า การสูดไอร้อนช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจหรืออาการหวัดให้ดีขึ้น แต่ไม่ทำให้หายป่วยจากโควิด 19 ได้
รายงานจาก Timesofindia.com ระบุว่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ไวรัสโควิด 19 กลับมาแพร่ระบาดในอินเดียอย่างหนัก พบว่ามีชาวอินเดียที่สูดไอร้อนต้องเข้ารับการรักษาตัวจากอาการบาดเจ็บที่ระบบทางเดินหายใจจำนวนมาก บางรายต้องป่วยด้วยโรคหืดอย่างรุนแรงเพราะการสูดไอร้อน
ข้อมูลอ้างอิง:
https://newsmeter.in/fact-check/fact-check-inhaling-steam-may-burn-you-but-it-wont-kill-coronavirus-676971
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter