GPSC เตรียมลุย 3 หมื่นล้านบาทลงทุนแบตฯ ในไทย

กรุงเทพฯ 19 ก.ค​. – GPSC เตรียมลุยลงทุนโรงงานแบตเตอรี่เชิงพาณิชย์​ในไทย3หมื่นล้านบาท ย้ำไม่เพิ่มทุนป้อนอีวีและโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน


พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงานด้วยเทคโนโลยี กระบวนการผลิตขั้นสูงแบบเซมิโซลิด แห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)หรือ GPSC ผ่านระบบออนไลน์ในวันนี้(19 ก.ค.) โรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ต่อปี สามารถขยายกำลังการผลิตของโรงงานนี้เพิ่มเป็น 100 MWh ต่อปี และพร้อมก้าวสู่โรงงานผลิตเชิงพาณิชย์ขนาดเริ่มต้น 1  กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ต่อปี ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาแผนการลงทุนในช่วงต่อไปตอบโจทย์ทั้งความปลอดภัย เสถียรภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมพลังงานของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้ไทยสู่ผู้นำด้านแบตเตอรี่เทคโนโลยีและโซลูชั่นการบริหารจัดการพลังงานแบบครบวงจร มุ่งเสริมศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนป้อนกลุ่มโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และ SME ลุยต่อยอดแผนการผลิตแบตเตอรี่เพื่อยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคต 

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  GPSC เปิดเผยว่าโรงงานผลิตเชิงพาณิชย์ขนาดเริ่มต้น 1  กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ต่อปี ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาแผนการลงทุนในช่วงต่อไปโดยจะอยู้ในพื้นที่ใกล้โรงงานรถยนต์ตอบสนองนโยบายด้านอีวีของไทยที่กำหนด30/30​หรือผลิตอีวีให้ได้ร้อยละของกำลังผลิตในไทยในปีค.ศ.2030


“โรงที่ 2 เชิงพาณิชย์ในไทนบริษัทมีแผนลงทุนภายใน 2 ปี ขนาด 1 กิกะวัตต์ และวางแผนขยายเป็น10 กิกะวัตต์ ใน10 ปีข้างหน้า มูลค่าลงทุน30,000 ล้านบาทซึ่งแม้ว่าบริษัทจะขยายลฃทุนเช่นประกาศร่วมทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในอินเดีย-ไต้หวัน30,000​ล้านบาทแต่ก็ขอยืนยันมีเงินจากผลประกอบการ​เพียงพอไม่ต้องเพิ่มทุนแต่อย่างใด” นายวรวัฒน์กล่าว

ล่าสุดมีลูกค้าแล้วคือ ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ​3,000 คัน บัสไฟฟ้า 150 คัน และมีการลงนามสัญญาข้อตกลงไปแล้ว 9 บริษัท ทั้งกลุ่มปตท.และยานยนต์อื่นๆที่พัฒนาร่วมกัน ประกอบด้วย 1.บริษัท เอฟโอเอ็มเอ็ม (เอเซีย) จำกัด (Fomm (Asia) Company Limited) 2.บริษัท ไอ-มอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (I-Motor Manufacturing Company Limited) 3.บริษัท โตโยตรอน มอเตอร์ จำกัด (Toyotron Motor Company Limited) 4.บริษัท ฟอมม์มิวนิตี้ จำกัด (Fommunity Company Limited) 5.บริษัท เอเชีย เทคโนโลยี อินดัสทรีส์ จำกัด (Asia Technology Industry Company Limited) 6.บริษัท บางกอกเพย์ จำกัด (Bangkok Pay Company Limited) 7.บริษัท สตรอง (ไทยแลนด์) จำกัด (Strongs (Thailand) Company Limited) 8.บริษัท อำนวยการดับเพลิง จำกัด (Amnuay Fire Extinguishers Company Limited ) และ 9.บริษัท สามล้อไทย จำกัด (Samlor Thai Company)

สำหรับราคาแข่งขันกับเทคโนโลยีอื่นแข่งขันได้อยู่ด้วยสายการผลิต แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพ ด้านความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยราคาจำหน่าย ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน เพราะการผลิตแบตแต่ละชนิด จะออกมาตามสเกลของการใช้งานซึ่งในขณะนี้มีผู้สนใจใช้อย่างมากทั้งรถยนต์.รถจักรยานยนต์รถบัสและการใช้งานเพื่อสำรองไฟฟ้าพลังงานทดแทน


การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงงานแห่งนี้ มีขีดความสามารถผลิตแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงานได้ใน 3 ระดับ คือ 1. G-Cell ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นพื้นฐานในรูปแบบ Battery Pouch Cell 2. ผลิตภัณฑ์ G-Pack ที่มีการนำ Battery Pouch Cell มาเชื่อมต่อกันในรูปแบบ Battery Module และ Pack พร้อมทั้งติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ หรือ Battery Management System (BMS) ร่วมด้วย สำหรับการใช้งานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่ (Mobility Application – Light Duty and Heavy Duty) อาทิเช่น รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า รถตุ๊กต๊กไฟฟ้า รถไฟฟ้าสี่ล้อขนาดเล็ก รถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า  (Stationary Application) 3. กลุ่ม G-Box ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้งาน สำหรับระบบสำรองไฟฟ้า (Uninterruptible Power Supply  หรือ  UPS)  และระบบกักเก็บพลังงาน  (Energy Storage System หรือ ESS) ที่มีขนาดตั้งแต่ 10-1,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ขึ้นไป ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยี  IoT (Internet of Things) AI (ระบบปัญญาประดิษฐ์) และ  Block-chain เข้ามาพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มการให้บริการกับกลุ่มลูกค้า ตามขนาดของความต้องการใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

“ลูกค้าเราจะเน้นทั้งในกลุ่ม ปตท. กลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SME)  รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ต้องใช้แบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบของสินค้า ส่วนอีวีที่นิยมใช้แบตเตอรี่แบบ NMC (Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide) นั้น ในเบื้องต้นบริษัทฯ สามารถนำเข้าแบตเตอรี่แบบ NMC ที่ผลิตจากเทคโนโลยีเดียวกัน โดยบริษัท Anhui Axxiva New Energy Technology Co., Ltd. (AXXIVA) ประเทศจีน ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนก่อนหน้านี้ ป้อนให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการได้เช่นกัน” นายวรวัฒน์กล่าว

ทั้งนี้ แบตเตอรี่ G-Cell ที่ผลิตโดย GPSC ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่มีการคิดค้นและถูกพัฒนา โดย 24M เป็นแบตเตอรี่ชนิดกึ่งแข็ง ที่มีความปลอดภัยสูง สามารถป้องกันเหตุไฟฟ้าลัดวงจรจากภายในเซลล์แบตเตอรี่ได้เป็นอย่างดี ด้วยโครงสร้างที่มีชั้นฟิล์มพิเศษห่อหุ้มภายใน Unit Cell และด้วยสูตรการผลิตแบบ SemiSolid ส่งผลให้ G-Cell มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยความสามารถในการเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของ GPSC เมื่อนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ G-Pack และ G-Box จำหน่ายให้กับลูกค้าแล้วคาดว่าจะสามารถตอบโจทย์ทุกการใช้งานของลูกค้าได้อย่างดี. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ชาวนครฯ ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.

ชาวนครศรีธรรมราช ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ.ต่อเนื่อง หลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเปิดให้มีการลงคะแนน

เปิดหีบเลือกตั้ง “นายก อบจ.อุดรธานี” ปชช.ทยอยใช้สิทธิ

ชาวอุดรธานีทยอยใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ต่อเนื่อง ด้านเลขาธิการ กกต. เผยคืนหมาหอน ทั้งที่อุดรธานี เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช ยังไม่พบการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น-ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น เตือนภาคใต้ตอนล่างฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก