กรุงเทพฯ 1 มิ.ย.- แม้จะเป็นช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดทั้งไทยและไต้หวัน แต่ความร่วมมือการลงทุนไม่หยุดยั้ง เมื่อวานนี้มีการลงนามความร่วมมือศึกษาแพลตฟอร์มผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรืออีวีครบวงจร เงินลงทุนขั้นต่ำกว่า 3-6 หมื่นล้านบาท
การลงนามร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท หงไห่ พริซิชั่น อินดัสทรี จำกัด หรือ ฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป ในรูปแบบเสมือนจริง หรือVirtual MOU Signing Ceremony จัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และ กรุงไทเป ไต้หวัน ซึ่งฟ็อกซ์คอนน์ กรุ๊ป เป็นผู้ผลิตและประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีโซลูชั่นชั้นนำ เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ผู้ลงนามก็คือ คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอ ปตท. และ นาย ยัง ลวือ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟ็อกซ์คอนน์ โดยมีนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นประธานใน พิธีลงนาม มีสักขีพยานจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซีอีโอ ของ ปตท.ระบุในระยะแรก ปตท. และ Foxconn ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งแพลตฟอร์มการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และส่วนประกอบหลักต่าง ๆ แบบ end-to-end ด้วยเงินร่วมลงทุนขั้นต้นที่ 1-2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป จะเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจสู่เวทีโลกในอนาคต
นอกจากนี้ ยังเป็นการตอบสนองนโยบายและทิศทาง การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ที่มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น พร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายของไทยที่ประกาศแล้ว คือ ในปี 2578 จะมีอีวี ประมาณ 15 ล้านคัน หรือ 1 ใน3 ของยายยนต์ทั้งหมดในประเทศ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่าไทยกำลังเตรียมระบบนิเวศน์หรืออีโคซิสเตมรองรับนโยบายอีวีและประกาศนโยบายนี้ ในการประชุมผู้นำ ระหว่างประเทศแบบออนไลน์ ที่เรียกว่า P4G ซึ่งไทยจะผลักดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการพัฒนาอย่างสมดุล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน รวมทั้งจะปลูกต้นไม้ยืนต้นร้อยล้านต้น เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดขยะ โดยจะร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาดำเนินการสิ่งเปล่านี้ให้เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับรายการของเราสนับสนับความยั่งยืนช่วงหน้ามาติดตามเงินกู้สีเขียวเป็นอย่างไรกับช่วงอีเอสจีสู่ความยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย