กทม. 29 พ.ค.-พล.อ.ประวิตร สั่ง บจธ.ช่วยเกษตรกร ได้รับผลกระทบโควิด-19 จัดหาที่จำหน่ายผลผลิต ส่งต่ออาหารปลอดภัยให้ประชาชน
วันนี้ 29 พฤษภาคม 2564 พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานบอร์ด บจธ.เปิดเผยว่า จากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤต ระบาด covid-19 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแล สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ มีความห่วงใย พ่อแม่พี่น้อง ประชาชน รวมถึง เกษตรที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาด ของ โรคโควิด 19 ได้สั่งการให้ บจธ. ดำเนินการ ช่วยเหลือ ประชาชนอย่างเร่งด่วน บจธ.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจลดความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินทำกินเพื่อให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่มาเป็นหลักให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้ประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรโดยส่งเสริมสนับสนุนโครงการดำเนินการอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ : ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ยากจนรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตร อบรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้กลุ่มมีระบบบริหารจัดการกลุ่มให้เข้มแข็ง /กลางน้ำ : ดำเนินการจัดหาที่ดินและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน น้ำ ไฟฟ้า) ตามที่กลุ่มร้องขอความช่วยเหลือโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสถาบัน ร่วมวางแผนร่วมกันในการจัดทำผังที่ดิน พื้นที่ส่วนกลางวางแผนการผลิตเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ และแผนการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีทำการเกษตร และปลายน้ำ : ประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรจัดหาสถานที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา บจธ. ได้ดำเนินการกระจายการถือครองที่ดิน โดยการจัดหาและจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดิน ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรและผู้ยากจน
พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ กล่าวต่อว่า บจธ. เตรียมจับมือภาคีเครือข่าย บูรณาการร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานรัฐในพื้นที่เพื่อขอสนับสนุนสถานที่ เพื่อแลกเปลี่ยนและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยจะจัด “โครงการตลาดนัดแลกเปลี่ยนชุมชน” เพื่อเพิ่มช่องทางการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ขยายตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพจากการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. และภาคีเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง ส่งต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนโดยตรงไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างภาคีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งและการบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศ เพิ่มรายจ่ายลดรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมา บจธ. ได้ดำเนินการกระจายการถือครองที่ดิน โดยการจัดหาและจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดิน ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรและผู้ยากจน รวมเนื้อที่ทั้งหมด 4,702-2-24.9 ไร่ มีเกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วจำนวน 1,371 ครัวเรือน
นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ผู้อำนวยการ กล่าวว่า ในเบื้องต้น บจธ. คาดว่าจะจัดในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่นำร่องโดยมี3 วสช.สมาชิกโครงการฯ คือ 1.วิสาหกิจชุมชนศาสตร์พระราชาวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 2.วิสาหกิจชุมชนเชียงรายอุ่นไอรักษ์ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และ3.วิสาหกิจชุมชน เกษตรกรรมยั่งยืนโยนกนคร (บ้านสันต้นเปา) ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และภาคีเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงนำผลผลิตทางการเกษตรเข้าร่วมจัดจำหน่ายในพื้นที่โครงการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากความร่วมมือ ส่วนราชการจังหวัดและเอกชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เกษตรกร ได้นำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปลอดสาร หรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรี ที่ผลิตในพื้นที่ส่งต่อสุขภาพที่ดีให้แก่ชุมชนในพื้นที่ได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ในภาวะวิกฤตโรคระบาด covid-19 ในปัจจุบัน และในพื้นที่ต่อไปคาดว่าจะจัดขึ้นในพื้นที่ของที่ว่าการจังหวัดนครราชสีมา โดยมีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ตำบลรังกาใหญ่อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา และภาคีเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่ง หากโครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดีจากประชาชน บจธ. พร้อมที่จะขยายไปสู่ทุกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการของ บจธ. ทั่วประเทศ ซึ่ง ปัจจุบัน บจธ. มีวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 12 พื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่ได้มีผลผลิตทางการเกษตรจำหน่ายแล้วในชุมชน ยกตัวอย่างเช่น วิสาหกิจชุมชนแก้วกล้า จังหวัดเพชรบุรี จัดตั้งกลุ่มน้ำพริกแกง น้ำพริก และผักปลอดสารเคมี จำหน่ายส่งให้ the basket สมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา ในพื้นที่ ต.คลองน้อย อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี มีการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ยอดเขรียง ลูกเนียง ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง แตง งา ตามแนวทางเกษตรผสมสาน และปลอดสารพิษ ไว้เพื่อบริโภค และขาย รวมถึงเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยแต่ละชุมชนมุ่งเน้นทำการเกษตรปลอดสารเคมีสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยในพื้นที่ ต่อยอดไปสู่มาตรฐานการเป็นเกษตรอินทรีย์ในอนาคต.-สำนักข่าวไทย