คลังชี้ส่งออกช่วยให้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้แม้เผชิญโควิด-19

กระทรวงการคลัง 28 พ.ค.-กระทรวงการคลังชี้เศรษฐกิจไทยเดือนเมษายน 2564 ยังขยายตัวได้ด้วยแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้า แม้ต้องเจอผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่


นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2564 ว่า ยังขยายตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างใกล้ชิดต่อไป

ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 65.8 ต่อปี สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 60.8 และ 92.4 ตามลำดับ ซึ่งมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการ ม33 เรารักกัน ยังช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง ด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงร้อยละ 1.6  มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน


ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี สูงสุดในรอบ 36 เดือน นอกจากนี้เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 25.7 ต่อปี โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 135.9 และ 55.5 ตามลำดับ สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะ ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 85.2 และ 40.0 ตามลำดับ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ  สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง ที่ยังคงมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง และกลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และแผงวงจรไฟฟ้า

ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 54.3 ต่อ GDP ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ในระดับสูงที่ 250,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายวุฒิพงศ์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน2564ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนเมษายน 2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในหลายภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม