ผู้ติดเชื้อโควิดระลอก เม.ย. กว่าครึ่งปอดอักเสบ

กรุงเทพฯ 27 เม.ย.- ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด เผยผู้ป่วยโควิดระลอกเม.ย. กว่าครึ่งมีภาวะปอดอักเสบ ขณะที่ “หมอประสิทธิ์” ชี้โควิดรอบนี้ ผู้ป่วยอายุน้อยลง ป่วยหนักขึ้น เสียชีวิตช่วง 7-10 วัน จากนี้อาจพบผู้เสียชีวิตตัวเลข 2 หลักต่อวัน


รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ในระลอกนี้ ส่วนใหญ่เชื้อลงปอดแทบทั้งนั้น และในจำนวนนี้ มีประมาณครึ่งหนึ่ง ที่มีภาวะปอดอักเสบ โดยสังเกตได้ในช่วง 1-5 วันแรก ปอดเริ่มอักเสบระยะแรกอาการยังไม่หนักมาก อาจมีอาการไอ ต่อมาปอดอักเสบระยะที่ 2 อยู่ในช่วงตั้งแต่ 10-15 วัน ถ้ารุนแรง จะมีอาการไอถี่ หอบเหนื่อย ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ปอดทุกวัน จะเป็นไปตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ โดยแพทย์จะเฝ้าระวังอาการในช่วง 10 วันแรกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไวรัสลงปอด หรือปอดอักเสบรุนแรงในระยะที่ 2

ส่วนผลข้างเคียงจากการใช้ยาฟาวิพิราเวีย และมีอาการตอบสนองแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายแต่ละคน ที่ต้องระวัง คือ คนอ้วน คนสูงอายุ คนมีโรคเรื้อรัง เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการหนักกว่ากลุ่มอื่นๆ จึงขอให้แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อลดความรุนแรงของโรค


ด้าน นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า สถานการณ์โควิดในไทย ขณะนี้เป็นผลพวงมาจากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่อันตรายและน่าห่วง เพราะสายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ ติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรง โดยรอบนี้พบผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น และมีอาการปอดอักเสบมากขึ้น มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมากขึ้น จึงมีโอกาสพบผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ต่อไปไทยอาจพบผู้เสียชีวิตตัวเลข 2 หลักต่อวัน โดยพบว่าผู้ติดเชื้อและป่วยรอบนี้ มีอายุน้อยลง พบเพียงติดเชื้อเพียง 7-10 วัน ก็เสียชีวิตแล้ว ที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพราะอยากให้ทุกคนตระหนัก เนื่องจากสถานการณ์ตอนนี้ ต้องใช้อุปกรณ์ และเตียง จำนวนมาก และเริ่มห่วงว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ และเรมดิสซีเวียร์ ที่ทั้งโลกใช้รักษาโควิด อาจจะมีไม่เพียงพอ ที่สำคัญคือ จำนวนบุคลากร ที่เราไม่สามารถหามาพิ่มเพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้

ขณะเดียวกัน ยังห่วงเรื่องการลักลอบเข้าเมือง โดยคนกลุ่มนี้มักหนีตายจากโรคในประเทศของตัวเองเข้ามาในไทย พร้อมย้ำการปล่อยให้มีกลุ่มคนหลุดรอดเข้ามา จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของเชื้อกลายพันธุ์ที่อาจพบได้ โดยกลุ่มนี้มักไม่แสดงตัว เคลื่อนย้ายไปในหลายพื้นที่ และมักไม่ได้รับการตรวจเชื้อ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไทยมากยิ่งขึ้นไปอีก

นพ.ประสิทธิ์ บอกอีกว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบสถานการณ์โควิดเริ่มกลับมาวิกฤติทั่วโลก เริ่มพบการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์อังกฤษเดือนกันยายนปีก่อน และเริ่มกระจายไปในหลายประเทศ หลายทวีปทั่วโลก ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เดิมอัตราการป่วยเฉลี่ย 1 ล้านคน จะพบภายใน 2-3 วัน แต่ปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 8 แสนคนต่อวัน ดังนั้นหากไม่มีมาตราการป้องกันตนเองให้ดี หรือไม่เร่งฉีดวัคซีน มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยเฉลี่ย 1 วัน 1 ล้านคน


และเมื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ของโควิดว่า ในส่วนของสายพันธุ์อังกฤษ หรือ B.1.1.7 พบว่าเดิมไม่มีความรุนแรง แค่แพร่เชื้อเร็ว แต่ปัจจุบันพบหลักฐานความรุนแรงเพิ่มขึ้น และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์แอฟริกา หรือ B.1.351 เดิมแพร่กระจายเร็วและไม่พบความรุนแรงเพิ่มขึ้น ส่วนสายพันธุ์บราซิล P1 พบว่าทั้งแพร่เชื้อเร็ว และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก โดยขณะนี้พบการติดเชื้อในญี่ปุ่นแล้ว ส่วนสายพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา พบถึง 2 สายพันธุ์ คือ B.1.427 และ B.1.429 ในเดือน ก.พ ที่ผ่านมา ส่วนสายพันธุ์ อินเดีย B.1.617 ยังไม่มีรายงานหรือข้อมูลเพิ่ม

ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ณ วันที่ 25 เมษายน พบทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนแล้ว 1,009 ล้านโดส เฉลี่ยวันละ 18 ล้านโดส พร้อมย้ำควรฉีดวัคซีนให้เร็ว เพราะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากไวรัสกลายพันธุ์ ตัวอย่างที่อิสราเอล เริ่มมีการฉีดวัคซีนวันที่ 19 ธ.ค.63 หลังฉีดไปแล้ว 10 ล้านโดส จากประชากรทั้งหมด 8.8 ล้านคน โดยฉีดเข็มแรก ร้อยละ 59.4 เข็ม 2 ร้อยละ 55.3 จะเห็นได้ว่าอัตราการตายเดิม 17 คนต่อวัน ปัจจุบันเหลือ 1 คนต่อวัน

ส่วนที่อินเดีย มีการฉีดวัคซีนช้า เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่มีถึง 1,366 ล้านคน โดยเมื่อวันที่ 16 ม.ค. เพิ่งมีการฉีดไปเพียง 140 ล้านโดส เป็นวัคซีนเข็มแรก ร้อยละ 8.7 เข็มที่ 2 ร้อยละ 1.6 ซึ่งถือว่ามีอัตราการฉีดน้อยมากเมื่อเทียบกับความหนาแน่และจำนวนประชากร จึงพบอัตราการตายของอินเดียตอนนี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่า อยู่ที่ 2,766 คน จากเดิมเฉลี่ยวันละ 100 คนต่อวัน ทั้งนี้การฉีดวัคซีนที่จะมีผลในการคุมโรคได้ ต้องฉีดร้อยละ 25 ขึ้นไปของจำนวนประชากร

สำหรับอัตราการใช้วัคซีนมากที่สุด พบว่า แอสตราเซเนกา มีการใช้ใน 91 ประเทศ รองลงมาไฟเซอร์ ใช้ใน 83 ประเทศ , สปุตนิควี ใช้ 62 ประเทศ, โมเดอร์นนา 48 ประเทศ จอห์นสันแอน์จอห์นสัน 40 ประเทศ ซิโนฟาร์ม 35 ประเทศ ซิโนแวค 22 ประเทศ และบารัต 6 ประเทศ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้