fbpx

ธ.ก.ส. คาด มี.ค. ราคาสินค้าเกษตรปรับขึ้น

กรุงเทพฯ 2 มี.ค. – ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้การผ่อนคลายมาตรการในการควบคุมการระบาดของ  เชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย และการเปลี่ยนฤดูกาลในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนมีนาคม 2564 ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพาราแผ่นดิบ มันสำปะหลัง กุ้งขาวแวนนาไม มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว น้ำตาลทรายดิบ ปาล์มน้ำมัน และสุกร มีแนวโน้มราคาปรับลดลง


นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคม 2564   โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,859 – 12,028 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.04 – 1.47 เนื่องจากสต็อกข้าวในยุ้งฉางของเกษตรกรลดลง และราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่งขัน ทำให้ประเทศคู่ค้ามีการนำเข้าข้าวหอมมะลิมากขึ้น  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 8.27 – 8.33 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.20 – 1.00 เนื่องจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูแล้งมีเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณผลผลิตทั้งปี ขณะที่สัญญาข้าวสาลีส่งมอบเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้น ผู้ประกอบการจึงลดการนำเข้าข้าวสาลี ส่งผลให้ความต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเก็บสำรองไว้ปรับเพิ่มขึ้น  ยางพาราแผ่นดิบ ชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 51.22 – 51.89 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50 – 1.80 เนื่องจากผลผลิตมีแนวโน้มลดลงจากยางพาราเข้าสู่ช่วงผลัดใบส่งผลให้เกษตรกรหยุดกรีดยางพารา ขณะที่ความต้องการน้ำยางพาราของตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการของรัฐบาลในการบริหารจัดการน้ำยางพาราสดสนับสนุนให้ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 

มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 2.07 – 2.11 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.49 – 2.43 เนื่องจากความต้องการของผู้ประกอบการในการเก็บสต็อกผลผลิตมันเส้นเพื่อรองรับความต้องการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพอากาศที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งผลต่อคุณภาพเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์สูง และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 137.00 – 139.00  บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.00 – 1.46 เนื่องจากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เกษตรกรชะลอการลงลูกกุ้งตามความต้องการบริโภคที่ลดลง ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ประกอบกับภาวะการค้าในประเทศมีความคล่องตัวขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการการระบาดของไวรัสโควิด-19 และตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564


ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,752 – 9,074 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.62 – 4.15 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังกำลังออกสู่ตลาด โดยคาดว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังจำนวน 4.6 ล้านไร่ ประกอบกับผลผลิตข้าวเวียดนามในช่วงปลาย   ฤดูหนาวออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งผลผลิตข้าวในฤดูกาลนี้ถูกส่งออกสู่ตลาดโลก  ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวราคาอยู่ที่ 10,685 – 10,725 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.05 – 0.42 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวเหนียวนาปรังกำลังออกสู่ตลาด  น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 16.54 – 16.70 เซนต์/ปอนด์ ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.50 – 2.50 เนื่องจากแนวโน้มการผลิตน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นของประเทศอินเดีย    โดยสมาคมการค้าน้ำตาลของประเทศอินเดียคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำตาลของประเทศอินเดียในปี 2563/64  จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เป็น 29.9 ล้านตัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Tropical Research Services (TRS) ที่คาดการณ์ปริมาณน้ำตาลเกินดุลทั่วโลกในปี 2564/65 ที่ 5.2 ล้านตัน ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 6.76 – 6.86 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.29 – 1.75 เนื่องจากคาดว่าปริมาณผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่ต้นปาล์มน้ำมันได้รับน้ำฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ และสุกร ราคาอยู่ที่ 74.90 – 75.32 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.27–1.82 เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรภายในประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ จากที่ผ่านมาความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน อย่างไรก็ตาม ราคาสุกรจะลดลงไม่มากนัก เพราะยังมีความต้องการจากต่างประเทศอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ