EXIM BANK ยังห่วงปัญหาโควิดกระทบส่งออก

กรุงเทพ 27 ม.ค. – “พิศิษฐ์” ฝากเอ็มดี EXIM BANK คนใหม่ ดูแลผู้ส่งออก เอสเอ็มอี หลังผลักการเติบโตก้าวกระโดดในรอบ 5 ปี จากปรับองค์กรครั้งใหญ่ ก้าวสู่ผู้นำ ‘องค์กรการเงินเพื่อการส่งออก’ ระดับโลก ยอมรับไวรัสโควิด กระทบส่งออกทรุด หลังเศรษฐกิจโลกต่ำสุดในรอบ 90 ปี


นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงในโอกาสครบวาระดำรงตำแหน่งสิ้นเดือนมกราคม 64 ว่า ฝากการบริหารองค์กรให้นายรักษ์ วรกิจโภคาทร ซึ่งได้รับการสรรหาเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ เพื่อสานต่อภาระกิจดูแลผู้ส่งออก เอสเอ็มอี การบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ท่ามกลางปัญหาไวรัสโควิด ธุรกิจด้านประกันความเสี่ยงจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก และเอสเอ็มอี หลังจากธนาคารโลกยอมรับว่า เศรษฐกิจโลกมีปัญหาตกต่ำสุดในรอบ 90 ปี หลังจากปี 63 คาดการณ์ว่า GDP โลกติดลบร้อยละ -4.3 การค้าโลกติดลบร้อยละ 10 จากนั้น ในปี 64 คาดการณ์ว่า GDP โลกกลับมาขยายตัวร้อยละ 4 การค้าโลกขยายตัวร้อยละ 5

โดยมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากทุกประเทศต่างทุ่มเงินสูงมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประธานาธิบดีสหรัฐมีนโยบายผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งรัดจัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันแพร่ระบาดของตนเอง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน จึงทำให้อุตสาหกรรมภาคการผลิต จะฟื้นตัวเร็วกว่าภาคบริการ เช่น ด้านการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวยังเดินทางไปมา ไม่สะดวก โดยยังมีปัจจัยความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ ปัญหาไวรัสโควิดกลายพันธ์ ข้อจำกัดจากปัญหาหนี้สาธารณะของหลายประเทศเพิ่มสูงมาก สภาพคล่องของภาคเอกชนทั่วโลกยังมีปัญหา หลังจากการส่งออกติดลบร้อยละ -6.6 และ GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 63 จากนั้นในปี 64 คาดว่า ขยายตัวร้อยละ 2.5-3 ขณะที่ ธปท.คาดว่าขยายตัวร้อยละ 5.7


ในส่วนของ EXIM BANK หลังจากได้ปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และผลกระทบ จากไวรัสโควิด-19 ทำให้ เติบโตอย่างก้าวกระโดดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ผ่านการส่งเสริมค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ (New Frontiers) ทั้งในและนอกอาเซียน ในรอบ 2558-2563 ยอดสินเชื่อคงค้างขยายตัวร้อยละ 84 จาก 73,540 ล้านบาท เพิ่มเป็น 135,228 ล้านบาท (เติบโตเฉลี่ย 13% ต่อปี) ยอดสินเชื่อคงค้างในกลุ่ม New Frontiers (รวมกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือ CLMV) ขยายตัวร้อยละ 53% จาก 26,022 ล้านบาท เป็น 39,754 ล้านบาท (เฉลี่ย 9% ต่อปี)

สำหรับการป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุนไทยในต่างประเทศ EXIM BANK ขยายบริการประกันการส่งออกและการลงทุน รวมทั้งบริการวิเคราะห์ความเสี่ยงผู้ซื้อและธนาคารผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย จากปัญหาไวรัสโควิด ปัจจุบันผู้นำเข้าในต่างประเทศอาจชำระเงินล่าช้าหรือประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ โดยปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกันเพิ่มขึ้น 105% จาก 66,018 ล้านบาทในปี 2558 เพิ่มเป็น 135,071 ล้านบาทในปี 2563 (เฉลี่ย 15% ต่อปี) และเมื่อเทียบกับปี 2562 เพิ่มขึ้น 13,699 ล้านบาท หรือ 11% ธุรกิจประกันความเสี่ยง จึงมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ท่ามกลางปัญหาไวรัสโควิด

นอกจากนี้ EXIM BANK ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าและผู้ประกอบการทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะ SMEs โดยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุดนาน 6 เดือนตั้งแต่ต้นปี 2563 และได้ออกมาตรการฟื้นฟูกิจการลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 ตามความต้องการของกิจการ รวมทั้งเปิดคลินิกให้คำปรึกษา อบรมสัมมนาและจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 EXIM BANK ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแก่ผู้ประกอบการจำนวน 6,400 ราย วงเงินรวมประมาณ 55,000 ล้านบาท


ปี 2564 EXIM BANK ยังคงเดินหน้าสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมุ่งเน้นสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นและขยายธุรกิจได้ สำหรับการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 EXIM BANK ยังคงช่วยเหลือลูกค้าฟื้นฟูกิจการตามสภาพคล่องของธุรกิจ และออกมาตรการพักชำระหนี้ “เงินต้น-ดอกเบี้ย” ในพื้นที่สีแดง สีส้ม และสีเหลือง รวมทั้งขยายระยะเวลาอนุมัติมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว

นายพิศิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางการช่วยเหลือสายการบินต้นทุนต่ำตามนโยบายของรัฐบาล บอร์ด EXIM BANK เตรียมพิจารณาในวันพรุ่งนี้ เพื่อนำเงื่อนไขเดิมมาปรับปรุงเพิ่มเติม กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นในการช่วยเหลือ คือ หากสายการบินใด มีค่าใช้จ่ายในการดูแล ช่วยเหลือพนักงาน ให้นำวงเงินดังกล่าวขอกู้ได้ในวงเงินเท่ากันกับการช่วยเหลือพนักงาน ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน เน้นสายการบินจดทะเบียนในประเทศของคนไทย โดยสายการบินแอร์เอเชียยังเข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือ เพราะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯไทย รายละเอียดทั้งหมด ต้องเสนอให้กระทรวงคลังพิจารณาเพิ่มเติม . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี