เริ่มแล้ว! ประชุมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ

รัฐสภา 17 พ.ย.- ที่ประชุมรัฐสภาเริ่มแล้ว นายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เสนอว่าเวลาลงมติขอให้ ส.ว.ขานชื่อลงมติก่อน เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่าจะต้องใช้เสียง 1 ใน 3 ของ ส.ว.จึงจะผ่านร่างไปได้ แต่หากไม่ผ่านจะได้ไม่เสียเวลาการลงมติของทั้งรัฐสภา


การประชุมรัฐสภาวันนี้ วาระสำคัญคือการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะเริ่มต้นพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ จากนั้นจึงจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ ก่อนจะลงมติในญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ญัตติ ซึ่งจะใช้วิธีการลงมติแบบขานชื่อเรียงตามตัวอักษร ทั้งนี้ หากญัตติจะผ่านความเห็นชอบวาระที่หนึ่ง จะต้องได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา คือไม่น้อยกว่า 367 เสียง และในจำนวนนี้ ต้องมีเสียง ส.ว. 1 ใน 3 คือ 82 เสียง โดยที่ขณะนี้ ยังไม่ได้กำหนดเวลาอภิปรายและลงมติแต่อย่างใด

โดยนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เปิดเผยว่าไม่ลำบากใจในการทำหน้าที่วันนี้ ยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีสิทธิเรียกร้อง แต่ต้องไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่คุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัยในสภา เป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ต้องดูแลความปลอดภัยความเรียบร้อย ส่วนพื้นที่รอบนอกเป็นหน้าที่ของตำรวจ


ส่วนที่มีการประเมินว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ถูกตีตกไป จะเป็นการจุดชนวนทางการเมืองให้ร้อนแรงกว่าเดิมหรือไม่ นายชวน ระบุว่าไม่ทราบ เป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ส่วนตัวเชื่อว่าการประชุมของรัฐสภาจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนเวลาในการอภิปรายเบื้องต้นยังไม่แน่นอน ส่วนกรณีที่กลุ่มไทยภักดีจะไปยื่นหนังสือต่ออัยการ หากร่างของไอลอว์ผ่านมติของสภา นายชวน กล่าวว่า ขอให้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภายในสภา ไม่ขอพูดเรื่องนอกสภา

ขณะที่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รายงานของกรรมาธิการฯ มีประเด็นหลัก 2 ประเด็น คือร่างที่เสนอเข้ามาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่เกิดจากการประชุมรัฐสภาครั้งที่ผ่านมา และกรรมาธิการฯ ต้องชี้แจง คาดว่าใช้เวลาไม่มากนัก แต่ที่น่าเป็นห่วง คือร่างของไอลอว์ ซึ่งผู้เสนอกฎหมายต้องตอบคำถาม 5 ประการ คือ 1. ร่างของไอลอว์ไม่มีบทบัญญัติห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2 ซึ่งต้องชี้แจงว่า มีเจตนาอย่างไร 2.การเสนอร่างของไอลอว์ที่เกี่ยวกับ ส.ส.ร. และแยกประเด็นไปถึง 10 ประเด็น จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันหรือไม่ 3.เรื่องการดำเนินการยกเลิกการสรรหาองค์กรอิสระต่างๆ มองว่า ยังไม่ได้เสนอรูปแบบที่ดีกว่า แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่นำไปสู่การยกเลิกองค์กรอิสระ 4.มีข้อห่วงใยในข้อบังคับข้อ 124 มีบทบัญญัติชัดเจนว่า การแก้ไขเพิ่มเติมวาระที่ 2 ว่า หากรับหลักการมาแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขให้ขัดกับขั้นรับหลักการได้ ซึ่งผู้เสนอร่างต้องตอบให้ได้ถึงหลักการนี้ 5.ร่างของไอลอว์ มีบางส่วนเข้าเงื่อนไขมาตรา 256 วงเล็บ 8 ที่อาจจะมีความซ้ำซ้อนกันเรื่องการทำประชามติ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ