นักวิชาการชี้ชุมนุม 14 ต.ค. มุ่งเปลี่ยนรัฐบาล

กรุงเทพฯ 9 ต.ค.- “ยุทธพร” เชื่อชุมนุม 14 ต.ค. มุ่งเปลี่ยนรัฐบาล เหตุไม่ต้องการแตะประเด็นอ่อนไหว ที่จะทำมวลชนหดหายจาการชุมนุม ชี้ “คณะราษฎร” พยายามสร้างภาพเป็นพลังบริสุทธิ์ แนะฝ่ายการเมืองเร่งจัดเวทีสาธารณะ-เวทีปิด พุดคุยประเด็นละเอียดอ่อน ขจัดความขัดแย้ง


นายยุทธพร อิสรชัย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎรในวันที่ 14 ตุลาคม ว่า จะเห็นได้ก่อนหน้านี้มีการรวมกลุ่มกันของกลุ่มเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประชาชนปลดแอก กลุ่มนักเรียนเลว จนมารวมเป็นคณะราษฎรในวันนี้ สะท้อนว่าโอกาสที่เราจะได้เห็นการชุมนุมใหญ่ ที่มีการเพิ่มขึ้นของมวลชน รวมถึงการชุมนุมที่มีการยืดเยื้อมากกว่า 1-2 วัน มีโอกาสที่เป็นไปได้ ซึ่งก็สะท้อนกระบวนการในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ควรต้องเริ่มเดินหน้าได้แล้ว เพราะก่อนหน้านี้ทั้งฝ่ายรัฐ หรือฝ่ายผู้ชุมนุมต่างก็ช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ ไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น เพราะถ้าความรุนแรงเกิดกับฝ่ายใดก่อน แน่นอนว่าความเสียเปรียบก็จะตกอยู่กับฝ่ายนั้น

นายยุทธพร กล่าวว่า จากนี้ไปความเสี่ยงที่จะรุนแรงก็ยังคงมีอยู่ ทุกการชุมนุมมีโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงได้ ฉะนั้นก่อนที่จะไปสู่จุดนั้นในระยะสั้น ควรจะต้องมีกลไกทั้งในเรื่องการเปิดพื้นที่ การพูดคุย หรือแม้แต่การมีเวทีสาธารณะ เวทีปิดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นกลไกในการขจัดความขัดแย้งให้เร็วที่สุด ส่วนระยะกลาง แน่นอนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเป็นเวทีใหญ่ที่สำคัญที่จะทำให้ทุกอย่างสามารถคลี่คลายได้ในระดับหนึ่ง ส่วนระยะยาวก็ควรจะเป็นเรื่องของการกำหนดการพัฒนาประชาธิปไตยที่มั่นคงแข็งแรงในประเทศไทย


“แต่ระยะสั้นและระยะกลาง ควรเป็นสิ่งที่กลไกในทุกภาคส่วนมีส่วนช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในสภา ส.ส. ส.ว. พรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้ชุมนุมเอง หรือคนที่อยู่ในภาครัฐต่าง ๆ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้การชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค.นี้ไปในทิศทางไหน” นายยุทธพรกล่าว

เมื่อถามว่าประเด็นในการเคลื่อนไหววันที่ 14 ตุลาคม เปลี่ยนเป็นการล้มล้างรัฐบาล ซึ่งต่างจากการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน ที่เน้นไปที่สถาบันฯ นายยุทธพร กล่าวว่า การรวมกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต้องมีการเฉลี่ยในเรื่องของการระดมทรัพยากร มวลชน ยุทธศาสตร์ หรือความคิดต่าง ๆ แน่นอนว่า 3 ข้อเสนอของคณะราษฎรที่ระบุว่ายังคงอยู่ในการเคลื่อนไหววันที่ 14 ตุลาคมนี้ ก็คือการประมวลบรรดาข้อเสนอของแต่ละกลุ่มเข้ารวมไว้ด้วยกัน แต่ทั้งนี้ยุทธศาสตร์หลักของการชุมนุมในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล คือการเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก และนำไปสู่การยุบสภา ซึ่งก็อาจจะเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องการจะไปแตะประเด็นที่มีความอ่อนไหวและอาจจะไปกระทบกับเรื่องของมวลชน หรือบรรดากลุ่มที่อาจจะถอยห่างออกจากสนับสนุน

นายยุทธพร ยังมองว่า การที่กลุ่มคนเสื้อแดงหรือพรรคเพื่อไทย ซึ่งเคยร่วมชุมนุมด้วยครั้งก่อนแสดงท่าทีไม่เข้าร่วม ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่จะถูกหยิบโยงไปเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในอดีตอาจจะเสียความชอบธรรมในการเคลื่อนไหว จะเห็นได้ว่าการแถลงข่าวของคณะราษฎรไม่ได้มีการพูดถึงบรรดากลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ที่เคยมาร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน ซึ่งก็เป็นความพยายามของกลุ่มที่จะสร้างภาพของกลุ่มให้เกิดภาพของพลังบริสุทธิ์ ซึ่งเกิดจาการรวมกันของกลุ่มเยาวชน นักศึกษา แต่ทั้งนี้แม้ไม่ได้มีเรื่องของการออกมาร่วมชุมนุมเคลื่อนไหว แต่ก็อาจจะมีแนวร่วมร่วมหนึ่ง ซึ่งก็มีการสนับสนุนในเรื่องของอุดมการณ์หรือแนวคิดที่สอดคล้องร่วมกันอยู่


ส่วนข้อเสนอ 3 ข้อโดยเฉพาะประเด็นสถาบันจะมีความเป็นไปได้ และอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมหรือไม่ นายยุทธพร มองว่า ประเด็นที่มีความอ่อนไหว ก็ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและอยู่ในกรอบกฎหมาย เพราะฉะนั้นบรรดาข้อเสนอ หากมีเวทีในการพูดคุยแบบเวทีปิด น่าจะมีความเหมาะสมกว่า และจะทำให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของหลาย ๆ ฝ่ายในการพูดคุย ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยหลักประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ แล้วก็หาทางออกร่วมกัน ดังนั้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจะเห็นว่าตลอดการเคลื่อนไหว เราพูดถึงการมีเวทีการพูดคุยมาโดยตลอด แต่ยังไม่เคยเห็นว่าจะมีเวทีเกิดขึ้นอย่างจริงจัง

“เพราะฉะนั้นวันนี้ ก็ถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องรีบเร่งในการมีเวที โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องกำหนดประเด็นว่าอะไรสามารถที่จะพูดคุยได้ในพื้นที่สาธารณะ หรือประเด็นไหนอ่อนไหวก็จะต้องคุยในเวทีปิด ซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นจากประเด็นความอ่อนไหวลดน้อยลงไปด้วย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ” นายยุทธพร กล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ทรัมป์” เดินทางถึงกรุงวอชิงตัน เตรียมเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ เดินทางถึงสนามบินในกรุงวอชิงตันแล้วในวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ้น เพื่อเตรียมตัวเข้าพิธีสาบานตน

พ่อหวั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม ลูกชายคนเล็กถูก “ติ๊ก ชีโร” ขับรถชน

พ่อหวั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังสูญเสียลูก 2 คน ถูก “ติ๊ก ชีโร” ขับรถชนตกสะพาน ย่านสายไหม กรุงเทพฯ เหตุเกิดเมื่อ 10 ต.ค.67

รถน้ำมันระเบิดไนจีเรียหลังพลิกคว่ำ เสียชีวิต 77 ราย

รถบรรทุกน้ำมันระเบิดหลังจากพลิกคว่ำในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไนจีเรีย คร่าชีวิตชาวบ้านอย่างน้อย 77 คนที่กำลังเอาถังมารองน้ำมันที่รั่วไหลจากรถบรรทุก

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ร่วมประชุม World Economic Forum ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum ประจำปี 2568 เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และตอกย้ำให้นักลงทุนและภาคเอกชนเชื่อมั่นใน “โอกาสของประเทศไทย” ตามแคมเปญ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง”

วันแรก กทม.ขอประชาชน Work From Home

หลังวันแรก กทม. ขอความร่วมมือประชาชน Work From Home พบว่าการจราจรบางจุดคล่องตัว รถลดลง แต่หลายจุดรถยังหนาแน่น โดยการประกาศขอความร่วมมือของ กทม. หลังค่าฝุ่น PM 2.5 ตลอดสัปดาห์เป็นสีส้ม ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ จำนวนมาก

ยื่นดีเอสไอรับคดีแตงโมเป็นคดีพิเศษ ขีดเส้น 1 เดือน

“อาจารย์ปานเทพ-บอสณวัฒน์” พาตัวแทนมิสแกรนด์ 2025 ทั้ง 77 จังหวัด ยื่นดีเอสไอขอรับคดีแตงโมตกเรือเป็นคดีพิเศษ ขีดเส้น 1 เดือน

คนร้ายอุกอาจยิงระเบิด M79 ใส่ สภ.กะพ้อ จ.ปัตตานี 2 ลูก

คนร้ายอุกอาจยิงระเบิด M79 ใส่ สภ.กะพ้อ จ.ปัตตานี จำนวน 2 ลูก โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ด้าน รอง ผบก.ภ.จว.ปัตตานี กำชับเจ้าหน้าที่เร่งรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบกล้องวงจรปิด พร้อมวางมาตรการคุมเข้มในพื้นที่