รัฐบาลเผยผลงานการจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย

สำนักข่าวไทย ๙ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้

  • กระทรวงมหาดไทย  “ก่อนเกิดภัย” ปรับปรุงหรือทบทวนแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และแผนสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินกลุ่มจังหวัด  โครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พ.ศ. ๒๕๖๒ จัดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุฯ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลา ๑๐ วัน ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ มีผู้เข้าร่วมการฝึก จำนวน ๕๗๗ คน จาก ๒๓ ประเทศ แบ่งเป็น ประเทศไทย ๓๙๗ คน และต่างประเทศ ๑๘๐ คน   โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีการผลิตสื่อวีดีทัศน์ เรื่อง“ชุมชนเตรียมพร้อมป้องกันภัยใกล้ตัว” 
    ๒ การให้ความช่วยเหลือ “ระหว่าง” เกิดภัย จัดซื้อสิ่งของสำรองจ่าย ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณเวลามาตรฐานภายใน ๗๒ ชั่วโมง 
    ๓. การแก้ไขปัญหาใน “ระยะยาว” โดยเฉพาะ “ระบบเตือนภัย” มีโครงการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติด้านการเตือนภัย พร้อมออกโทรสาร รวมทั้งสิ้น ๕๘ ฉบับ และส่งข้อมูลรายงานข่าวแผ่นดินไหว (SMS) รวมทั้งสิ้น ๑๘๒ ครั้ง ดำเนินการบำรุงรักษาหอเตือนภัย จำนวน ๑๙๓ แห่ง  ฝึกซ้อมการปฏิบัติการแจ้งเตือนภัยและอพยพประชาชนจากภัยสึนามิ ในพื้นที่ ๖ จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน และสร้างและพัฒนาเครือข่ายการแจ้งเตือนภัยพิบัติภาคประชาชน
    ๔. การจัดเตรียมมาตรการรองรับอุทกภัย
    ๕. การจัดเตรียมมาตราการรองรับภัยแล้ง  
    ๖. การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เปิดจุดจ่ายน้ำทั้ง ๑๘ สาขา รวมทั้งสิ้น ๒๗ จุด เพื่อให้บริการในกรณีเกิดปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนสำรองน้ำในช่วงภัยแล้งและสามารถรับน้ำได้ที่จุดจ่ายน้ำที่ กปน.จัดเตรียมไว้ 
  • กระทรวงกลาโหม  โครงการจุดเจาะบ่อบาดาล การทำฝายชะลอน้ำ การจัดทำอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรให้กับชุมชน
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๑. ประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำใน ๓๐ จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนในการบริหารจัดการและแจกจ่ายน้ำเพื่อการบริโภค 
    ๒. ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่เป้าหมาย ๒๕ จังหวัด ๑๔๖ อำเภอ ๗๘๔ ตำบล ๔ เทศบาล ๖,๘๔๖ หมู่บ้าน [จังหวัดที่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)] โดยมีผลการดำเนินงาน ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๒ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตร ๑๐๔.๙๑ ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ ๑๗๕ จากเป้าหมาย ๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์กว่า ๒๑๕,๔๘๕ ไร่ ใน ๔๙ จังหวัด  สนับสนุนน้ำสะอาด ๓๒.๐๕ ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ ๑๑๔๐ จากเป้าหมาย ๒๒.๗๖ ล้านลิตร ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า ๔๔๔,๘๐๗ ครัวเรือน  ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ๒,๗๒๓ บ่อ คิดเป็นร้อยละ ๙๖ จากเป้าหมาย ๒,๘๓๑ บ่อ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะได้ปริมาณน้ำ ๒๑๑.๙๔ ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า ๓ แสนครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์กว่า ๗ หมื่นไร่ เติมน้ำใต้ดิน ๕๓๐ แห่ง ๒.๓ เปิด “จุดจ่ายน้ำบาดาล บริการฟรี” กว่า ๒๒ แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะภัยแล้งให้แก่ประชาชน ๒.๔ สำรวจทางธรณีวิทยาเพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ๒.๕ การจัดหาแหล่งน้ำ และระบบกระจายน้ำนอกเขตชลประทานกว่า ๖๐๐ แห่ง ความจุเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น ๒๔๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ ๑๕๕,๓๙๙ ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ ๔๙๙,๔๙๕ ไร่ ๒.๖ การเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำท่วม โดยเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำ (โขง ชี มูล ปากน้ำชี-มูล) เพื่อรองรับน้ำหลาก และปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ๕๗ แห่ง
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การดำเนินงานภายในบ้านพักเด็กและครอบครัว ๗๗ จังหวัด และการดำเนินงานภายในสถานรับรอง ๓๐ แห่ง
  • กระทรวงพลังงาน โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรส่งเสริมการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภัยแล้ง ปี ๒๕๖๒ สนับสนุนโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร จำนวน ๑,๒๓๖ ระบบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ ๓๑๙ ระบบ)  ปี ๒๕๖๓ อยู่ระหว่างพิจารณากลั่นกรองโครงการของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณของกองทุนรวมได้สนับสนุนติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จำนวน ๓,๕๒๘ ระบบ มีครัวเรือนภาคเกษตรที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า ๒๔,๖๙๖ ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์ ๕๒,๙๒๐ ไร่ มีการผลิตและใช้พลังงานทดแทน ๑,๑๐๗๔๕ toe/ปี
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ๑. การจัดการน้ำชลประทาน บริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานเดิม (๒๕.๔๐ ล้านไร่) ๒. โครงการบรรเทาอุทกภัย จำนวน ๗ โครงการ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมืองนครศรีธรรมราช คลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร จ.อยุธยา เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ  ประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร  ปรับปรุงคลองยม- น่าน โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ในพื้นที่ เกษตรกรรมและพื้นที่เขตเศรษฐกิจ   
    ๒. การอำนวยการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร๑. ภัยแล้ง ช่วงภัยเดือน ก.ย. ๖๒ ถึงปัจจุบัน  ด้านพืช ประสบภัย ๒๗ จังหวัด เกษตรกร ๒๖๒,๘๐๘ ราย จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว ๑๗๘,๐๑๙ราย พื้นที่ ๑,๖๙๗,๔๓๓ไร่ ๑,๘๙๙.๐๗ ล้านบาท และอยู่ระหว่างขอขยายวงเงินทดรองฯ กับ ก.คลัง ๒ จังหวัด (จ.อุทัยธานีและสงขลา วงเงิน ๕๔.๓๕ ล้านบาท) ด้านปศุสัตว์ ประสบภัย ๒ จังหวัด (กาญจนบุรี นครราชสีมา) เกษตรกร ๑,๗๘๓ ราย จำนวนสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ๕๐,๑๙๕ ตัว ๒. อุทกภัย ช่วงภัยวันที่ ๒๔ ส.ค. ๖๒- ๓ มี.ค. ๖๓ ด้านพืช พบความเสียหาย ๓๐ จังหวัด ช่วยเหลือตามระเบียบฯ เกษตรกร ๒๔๑,๔๙๔ ราย พื้นที่ ๑,๙๙๔,๑๗๒ ไร่ วงเงินให้ความช่วยเหลือ ๒,๒๓๑.๑๙ ล้านบาท  ด้านประมง เสียหายแล้ว ๒๔  จังหวัด เกษตรกร ๑๓,๕๒๐ ราย พื้นที่เสียหายสิ้นเชิงรวม ๑๒,๒๘๒ คิดเป็นวงเงิน ๖๐.๒๑ ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรเรียบร้อย   ด้านปศุสัตว์ พบความเสียหายแล้ว ๑๓ จังหวัด เกษตรกร ๑,๐๕๘ ราย สัตว์ตายหรือสูญหาย ๕๘,๖๕๓ ตัว วงเงิน ๓.๐๗ ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว  ๓. วาตภัยลูกเห็บ ช่วงภัยเดือน ม.ค. – ก.พ. ๖๓  พื้นที่การเกษตรประสบวาตภัยลูกเห็บ ๒๕ จังหวัด เกษตรกร ๑.๔๕๑ ราย พื้นที่ ๓,๕๒๖ ไร่ วงเงิน ๕.๓๖ ล้านบาท  จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว ๗๔๖ ราย พื้นที่ ๒,๔๓๓ ไร่ เป็นเงิน ๓.๖๑ ล้านบาท 
    ๓. โครงการการปฏิบัติการฝนหลวง  ปฏิบัติการฝนหลวง ๑,๘๑๙ วัน พื้นที่ได้รับประโยชน์ ๒๑๘.๐๘ ล้านไร่  พื้นที่การเกษตรได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ ๗๔.๑๕ เติมน้ำในเขื่อนได้ร้อยละ ๘๔.๘๖
  • กระทรวงคมนาคม ขุดลอกพัฒนาและบำรุงรักษาร่องน้ำตามแผนงานการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ศอ บต อนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน ป่าเศรษฐกิจ ปรับปรุงระบบการจัดการน้ำเพื่อการ เกษตร และอุปโภคบริโภค รวมทั้งแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเป็นระบบ โครงการบูรณาการ “การสร้างสมดุลการพัฒนาสู่ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” เพื่อเชื่อมโยงงานของส่วนราชการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น