อู่ตะเภา 13 ส.ค. การท่าอากาศยานอู่ตะเภา จะบมือเอไอเอส วางโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสาร 5G – WiFi6 เล็งยกระดับสู่เป็นสมาร์ทแอร์พอร์ต
พลเรือโทกฤชพล เรียงเล็กจำนงค์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ EEC ที่รัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการลงทุนในด้านต่างๆที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งการให้บริการสนามบินเชิงพาณิชย์การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมการบินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพมหานครทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2561 การท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลสเน็ทเวอร์คจำกัด บริษัท ในเครือของเอไอเอสนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามายกระดับการให้บริการและการบริหารอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ให้มีความทันสมัยอาทิการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับผู้โดยสารและระบบวิเคราะห์ภาพวิดีโอหรือ Video Analytics รวมทั้งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารต่างๆเพื่อขยายขีดความสามารถในการให้บริการภายในท่าอากาศยานแห่งนี้กระทั่งนำมาสู่การขยายความร่วมมือในครั้งนี้ที่นำเอา 5G Digital Infrastructure เข้ามาสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสนามบินเพื่ออำนวยความสะดวกและมอบประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบริหารอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด -19 ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารเชื่อมโยงและสนับสนุนการเดินทางการขนส่งทางอากาศเพื่อยกระดับสู่อาคารผู้โดยสารอัจฉริยะ
ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอไอเอส กล่าวว่า ความร่วมมือมีระยะเวลา 3 ปี โดยเริ่มจากการศึกษาร่วมกันและทำการพัฒนานำเทคโนโลยีมาใช้จริงโดยจะพิจารณาจากความเหมาะสม เราเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์ปกติจะรองรับนักท่องเที่ยว นักลงทุน ที่เข้ามาในสนามบิน โดยหากมีการขยายเทอมินัลเพิ่มก็จะขยายความร่วมมือต่อไป โดยบริการดิจิทัลที่เอไอเอสนำเข้าไปเสริมศักยภาพให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาระยอง-พัทยาแล้วประกอบด้วย ระบบ Smart Video Analytics Solution เพื่อเสริมระบบบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารด้วยเทคโนโลยีระบบวิเคราะห์และประมวลผลภาพวิดีโออัจฉริยะซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากเครือข่ายกล้องวงจรปิดทั่วอาคารและโปรแกรมวิเคราะห์ประมวลผลภาพปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ใช้เป็นระบบตรวจจับและรับรู้ใบหน้าบุคคลและสิ่งของ (Face and Object Recognition) ในพื้นที่อาคารสนามบินเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยเช่นกรณีบุคคลหรือวัตถุต้องสงสัย (Unattended Object Detection) แจ้งเตือนกรณีมีวัตถุถูกวางทิ้งไว้เป็นเวลานานผิดปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบรักษาความปลอดภัยและการบริหารจัดการท่าอากาศยานของกองทัพเรือไทย Play Store
แอปพลิเคชัน Thailand Smart Airport อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารด้วยข้อมูลด้านบินและสนามบินหลากหลายในแอปพลิเคชันเดียว อาทิสถานะตารางการบินการแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับไฟล์ทเดินทางแผนที่บอกทางภายในสนามบินและรายละเอียดจุดบริการต่างๆในสนามบินด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality-AR โดยนักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ทาง App Store และ were marre การทำ Thermal Scan ที่จะช่วยตรวจวัดอุณหภูมินักท่องเที่ยวและเชื่อมต่อสู่ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสนามบินราคม ICE in TriuCI / unla การนำหุ่นยนต์ ROBOT FOR CARE (ROC) มาช่วยคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิดูแลสุขอนามัยนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสนามบินได้อย่างรวดเร็วมีความแม่นยำสูงลดการสัมผัสใกล้ชิดและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สร้างและสร้างความตื่นตัวเรื่องการความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยให้กับผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน เครือข่าย 5G มีความรวดเร็วและมีความเสถียรสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสารและประชาชนภายในสนามบินตลอดจนรองรับโซลูชั่นการให้บริการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาระยอง-พัทยาจ. ระยอง และบริการ Wif 6 มาตรฐาน WiFi ยุคใหม่ที่มีความเร็วสูงที่สุดพร้อมรองรับการใช้งานมือถือและดีไวซ์ได้จำนวนมากช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น-สำนักข่าวไทย.