กรุงเทพฯ
25 ก.ค.-ภาครัฐหนุนรัฐวิสาหกิจออก พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(กรีนบอนด์)
พันธบัตรเพื่อสังคม เพื่อให้บรรลุพันธกิจ SDG 17 รวมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเตรียมแผนออกแล้วกว่า
5 หมื่นล้านบาท และจะมีออกเพิ่มเติมโดยเฉพาะพันธบัตรเยียวยาโควิด-19
นางแพตริเซีย
มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)แถลงว่า สบน.
ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการเคหะแห่งชาติ (กคช.)
มีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พันธบัตรเพื่อสังคม
และพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรกของรัฐบาลไทย
เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ด้าน (Sustainable
Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) เช่น การขจัดความยากจน
การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่เท่าเทียม
พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึง การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการลดความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น และ
ยังช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นระดับ 2 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(United Nations
Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่จัดทำโดย International Capital Market
Association (ICMA) และ ASEAN
Capital Market Forum (ACMF) สบน.
จึงได้จัดตั้งกรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Financing Framework) โดยรับการรับรองจาก Sustainalytics ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำในการให้ความคิดเห็นอิสระ
(Second Party Opinion) และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการพลังงานสะอาด
และโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางทะเล
ในครั้งนี้
สบน. จะดำเนินการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนในวงเงินรวมไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ผ่านผู้จัดจำหน่าย 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
จำกัด (มหาชน) แบ่งเป็นการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่เกิน
10,000 ล้านบาท
รวมถึงจะมีการออกพันธบัตรภายใต้ พ.ร.ก. แก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบในสังคม ในวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 ล้านบาท ตลอดจน สบน.
ยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนสำหรับโครงการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามแผนที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนให้มีสภาพคล่องสูงและสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน
นอกจากนี้
สบน.
ยังได้ร่วมสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการออกพันธบัตรสำหรับการดำเนินโครงการที่สอดรับกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยจะนำร่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการเคหะแห่งชาติ
ที่มีแผนจะออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อสังคม เป็นครั้งแรก
ภายในปีงบประมาณ 2563
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ
ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส. วางแผน
ระดมทุนผ่านการออก Green
Bond วงเงินรวม
20,000 ล้านบาท ในปีบัญชี 2563 – 2567 เบื้องต้นปีปีบัญชี 2563 กำหนดออก 6,000 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้สร้างพื้นที่ป่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผ่านโครงการสินเชื่อปลูกป่าสร้างรายได้ สินเชื่อรักษ์ป่าไม้ไทยยั่งยืน สินเชื่อ Green Credit สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย
และสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด พร้อมสนับสนุนและต่อยอดรูปแบบการปลูกไม้
เพื่อการออม วนผลิตภัณฑ์ วนเกษตร การปลูกไม้เศรษฐกิจ สามารถเพิ่มพื้นที่ป่ากว่า 500,000 ไร่ ต้นไม้เพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านต้น สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมูลค่ารวมของต้นไม้ 400,000 ล้านบาท มูลค่าจากการเก็บของป่าขาย 1,130 ล้านบาทต่อปี สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 950,000 ล้านตันต่อปี มูลค่าคาร์บอนเครดิต 95 ล้านบาทต่อปี มูลค่าระบบนิเวศบริการ 89,737.48 บาทต่อไร่ต่อปี และเกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 38,000 ครัวเรือน
อีกทั้งเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 155,000 ราย
เมื่อเร็วๆนี้
บมจ.ปตท.นับเป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่ ได้ออก หุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้
อายุ