“อรรถพล”กับภารกิจนำ ปตท.ร่วมขับเคลื่อนประเทศ



กรุงเทพฯ 13 มิ.ย. –ซีอีโอ ปตท.
คนที่ 10
อรรถ​พล ฤกษ์พิบูลย์”
 กับภารกิจ ขับเคลื่อน ปตท.ระบบนิเวศน์ด้านพลังงานของประเทศ
ให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลง ด้วยกลยุทธ์ 
 
 “PTT by
PTT


 

            อรรถ​พล ฤกษ์พิบูลย์”  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน
)  คนที่ 10 โชว์วิสัยทัศน์ต่อสื่อครั้งแรกเมื่อ 12 มิ.ย.63 เปรียบ ปตท.เป็นต้นไม้ใหญ่เป็น
Platform
ที่หลายส่วนมาเกาะ หรือเกี่ยวข้อง
ดังนั้น การขับเคลื่อน ก็ต้องโตไปกันพันธมิตร ทุกภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ  
win-win ทุกฝ่าย ด้วยPartnership&platform เช่นธุรกิจก็ดู Solution ทั้งvalue chain การปรับเปลี่ยนขับเคลื่อนทุกทุกด้าน
ทุกธุรกิจจะเกิดขึ้นให้ไวต่อการเปลี่ยนแปลง จะมีอย่างต่อเนื่อง

 


         
ธุรกิจของ ปตท. คือ Ecosystem
ด้านพลังงานของประเทศ ปตท.เป็นผู้ดูแลและต้องปรับเปลี่ยน Ecosystem นี้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
และจะต้องเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ..การทำหน้าที่ ในตำแหน่ง
CEO ปตท.ภาระหน้าที่จะต้องหลอมรวมจิตวิญญาณ
ของพนักงาน ของผู้คน ของผู้มีส่วนได้เสียที่จะทำงานร่วมกัน ให้ก้าวข้ามผ่านพ้นการเปลี่ยนแปลง
สร้างความไว้วางใจ นำมาซึ่งความผูกพัน ความสามัคคี และก้าวสู่ความสำเร็จร่วมกัน”

          

            “อรรถพล” หรือ คุณโด่ง เป็นลูกหม้อ ปตท. เริ่มทำงานในตำแหน่งวิศวกร ปี 2532
และขึ้นมาสู่ระดับบริหารหลายตำแหน่ง จนได้รับการคัดเลือก มาเป็น
CEO ช่วง การระบาดCovid-19 เศรษฐกิจติดลบทั่วโลก  หุ้นตก ราคาน้ำมันร่วงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
 ผลประกอบการติดลบ โดย กลุ่ม ปตท.ทั้งกลุ่ม
ขาดทุนสตอกน้ำมันไตรมาส 1/63 ถึง 7 หมื่นล้านบาท
 ปตท.ขาดทุนสุทธิ 1.5
พันล้านบาท   เป็นการซ้ำเติม
ความท้าทายเดิมของธุรกิจปิโตรเลียม จากที่ โลกกำลังเปลี่ยนผ่านการใช้เชื้อเพลิง ไปสู่
 
New Energy​  ไปสู่พลังงานทดแทน  ตามยุค
disruptive
technology
ดังนั้น น้ำผึ้งพระจันทร์​
คงไม่มีให้ดื่ม มีแต่ฝีมือต้องแสดงให้เห็น..

      องค์กร​ใหญ่​อย่างนี้ ทั้ง กลุ่มปตท.สร้างรายได้แก่ประเทศ เทียบเท่า 13% ของGDP มูลค่าหุ้นปี62 มีมูลค่าอันดับ1ในตลาดหลักทรัพย์
2.1ล้านล้านบาท และตั้งแต่ปี44-62 หรือหลังกระจายหุ้นเป็นต้นมา ปตท.สร้างรายได้รัฐทั้งรูปเงินปันผลและภาษีไปแล้ว9.6แสนล้านบาท … ใครใครก็อยากมาปฏิสัมพันธ์ด้วย ทั้งแง่ การเมือง NGO ธุรกิจ ประชาชน ประชาสังคม.. จะสร้างสมดุลย์ ( Balance
) อย่างไรให้เหมาะสม..โลกยุคใหม่
ยุคดิจิทัล​ เงินใต้โต๊ะ​ คงไม่มี มีแต่เงินทอน…จะป้องกันอย่างไร

 

        “ภารกิจ ปตท.
ยังคงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลักและสร้างธุรกิจใหม่แทนที่การเติบโตในรูปแบบเดิม
โดยผมมุ่งหวังที่จะให้กลุ่ม ปตท. เป็นองค์กรด้านพลังงานของประเทศ
และเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง
โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ทุกภาคส่วน
มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
พร้อมพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแนวคิดที่เรียกว่า
PTT หรือ Powering Thailand’s
Transformation”..
ซีอีโอ ปตท.ระบุ

           ซีอีโอ “อรรถพล” ชี้แจงว่า จะใช้ กลยุทธ์ PTT by
PTT
ขับเคลื่อน
 แนวคิด
  Powering Thailand’s Transformation  ซึ่งจะต่อยอดการดำเนินงานจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายในผสานด้วยการเปิดกว้างทางความคิด
รับบริบทจากภายนอก (
inside-out &
outside-in)
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
 ประกอบด้วย

         Partnership and Platform เน้นการดำเนินธุรกิจด้วยการสร้างพันธมิตรและพัฒนาธุรกิจของปตท.ให้มีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มากกว่าการเป็นผู้ผลิตสินค้าและจำหน่าย
, Technology for All เทคโนโลยีที่เกิดจากการผสมผสานด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญ
นวัตกรรม และดิจิทัล และ
Transparency
and Sustainability
สร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ

          แนวบริหารจัดการระยะยาวนั้น
ยุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจ จัดแยกเป็น 3 กลุ่มหลัก

           1.ธุรกิจขั้นต้น  ( Upstream)  มุ่งสู่การสร้างห่วงโซ่อุปทานธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว
(
LNG) หรือ LNG Value Chain ที่จะมองถึงการพัฒนาตั้งแต้ต้นไปถึงการสร้างโรงไฟฟ้า  Gas to Power  โดยในส่วนของธุรกิจบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
(
PTTEP) จะเน้นการขยายในธุรกิจก๊าซฯเป็นหลักเพราะก๊าซฯยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในช่วงเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีพลังงานที่คาดว่าจะใช้เวลา
20 ปี
ซึ่งจะต้องพัฒนาต้นทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน

              ส่วนธุรกิจก๊าซฯ เน้นการเป็น Regional Hub เน้นเรื่องการตลาดนำเข้าส่งออกในอาเซียน
 และขายโซลูชันแก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศแบบครบวงจน
และใช้ศักยภาพ ปตท.เจรจาจากผู้ค้าแอลเอ็นจีทั่วโลกก็จะ สามารถนำเข้าได้ในราคาที่ถูก
 ก็จะทำให้ลูกค้าผู้ใช้ก๊าซฯจากปตท.ไม่ลดลงไป  ในขณะที่ กิจก๊าซฯและไฟฟ้า
ต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในอนาคตด้วย
ซึ่งในส่วนของธุรกิจไฟฟ้าก็จะรุกในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพราะ
ในประเทศความต้องการไฟฟ้าไม่ขยายตัว  

         2.ธุรกิจขั้นปลาย (Downstream) ในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันต้องวางตัวให้เป็นลำดับต้นของอุตสาหกรรมเพื่อที่จะให้สามารถยืนอยู่ได้จนรายสุดท้าย
เพราะยอมรับว่าราคาน้ำมันผันผวนอย่างหนัก
มองว่าปีนี้แม้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกจะขยับขึ้นมาแล้ว สุดท้ายก็คงจะยืนอยู่ประมาณ
40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  ด้านธุรกิจปิโตรเคมีต้องแข่งขันได้แม้จะเผชิญวัฏจักรขาลง
โดยต้องเน้นสินค้ามูลค่าเพิ่มและ
Specialty   รวมทั้งในภาวะเช่นนี้ก็ต้องมองถึงโอกาสการซื้อกิจการควบคู่กันไป
พร้อมทั้งมองต่อยอดในสินค้ากลุ่มไบโอเคมิคอลด้วย,ธุรกิจเทรดดิ้งจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศและการสร้างรายได้จากการทำธุรกิจ
 , ด้านธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกนั้น
จะมุ่งสร้างแบรนด์คนไทยไปขยายในต่างประเทศ ในรูปพาเอสเอ็มอีไทย
และธุรกิจที่ไม่ใช้น้ำมัน (
Non-oil ) เติมโตไปพร้อมกัน

         3 ธุรกิจนวัตกรรมใหม่ รับ NEW S-Curve

 พัฒนา พลังงานใหม่ พลังงานทดแทน
โดยมองให้ครบไปทั้งห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจไฟฟ้า,ธุรกิจโลจิสติกส์
การร่วมทุนกับสตาร์ทอัพต่างๆ การพัฒนานวัตกรรมตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป
การพัฒนา
5 จี ที่มุ่งสู่ทุกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Smart Manufacturing  ,Smart city , Smart
Mobility
 

        “อรรถพล”  เกิดวันที่ 19 ก.ค. 2508 ปัจจุบันอายุ 54 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนศึกษาต่อปริญญาโท
พัฒนาการเศรษฐกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รวมทั้งอบรมในหลักสูตรต่างๆมาย  เข้ารับตำแหน่ง ซีอีโอ ปตท. เมื่อวันที่ 13
พฤษภาคม 2563  วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี  -สำนักข่าวไทย  

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

เขากระโดง

“อนุทิน” ยัน เพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง

“อนุทิน” ย้ำพรรคร่วมรัฐบาลมีเป้าหมายเหมือนกัน ทำประโยชน์ให้ประชาชน-ประเทศ หลัง “ทักษิณ” ชมพรรคร่วมสามัคคีกันดี ยันเพื่อไทย-ภูมิใจไทย ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท. แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย

สนามบินสุวรรณภูมิ

ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” 1 ใน 6 สนามบินสวยสุดในโลก

“สุริยะ” รมว.คมนาคม ปลื้ม ยูเนสโก ยกย่อง “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก ประจำปี 2567 ด้าน “อาคาร SAT-1” สุดปัง! หลังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสนามบินที่มีสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก โชว์ความโดดเด่นด้านความงาม-ความคิดสร้างสรรค์ ชูอัตลักษณ์ความเป็นไทย จ่อประกาศผล 2 ธ.ค.นี้

รฟท. คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินทับซ้อนเขากระโดง

การรถไฟฯ ลุยยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านคำสั่งไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทับซ้อนเขากระโดง ย้ำปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใสและเป็นธรรม