บีทีเอส ชี้แจง กรณีจ้างเดินรถสายสีเขียว

บีทีเอสชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีการทำสัญญาจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ยืนยัน ทำตามกฎหมายทุกขั้นตอน

ศาลปกครอง สั่ง กทม.จ่ายหนี้จ้างเดินรถสายสีเขียว

ศาลปกครองกลาง​ มีคำสั่งพิพากษาให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพฯธนาคมร่วมกันจ่ายหนี้ค้างชำระในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว​ส่วนต่อขยายที่ 1​ รวมดอก​เบี้ย  2,348 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2  รวมดอกเบี้ย 9,406 ล้านบาท​ รวม  2 สัญญา เป็นเงิน 11,754 ล้านบาท

ลุ้น! สางปัญหาสายสีเขียววันนี้ เผย กทม.เล็งคืนส่วนต่อขยายให้ รฟม.  

จับตา กทม.หารือมหาดไทย สางปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว เผยแนวทาง “ชัชชาติ” พร้อมโอนคืนส่วนต่อขยายให้ รฟม. ช่วย กทม.ไม่ต้องรับภาระหนี้กว่า 60,000 ล้านบาท สนับสนุนโมเดลโครงข่ายรถไฟฟ้า เจ้าของเดียว “One Owner” ภายใต้กำกับกระทรวงคมนาคม ผลักดันราคาเหมาะสม เดินทางเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพ

“ชัชชาติ” ย้ำสัมปทานสายสีเขียวยึดหลักพ.ร.บ.ร่วมทุน

บางกะปิ 25 พ.ค.- “ชัชชาติ” ลงพื้นที่แยกลำสาลี-บางกะปิ จุดวิกฤติรถติดเหตุมีงานก่อสร้างรถไฟฟ้า ย้ำจะต้องเร่งรัดการก่อสร้างบนถนนไม่ให้ล่าช้า พร้อมเดินหน้าประสานทุกหน่วยหากบางงานเกินอำนาจผู้ว่า เน้นประโยชน์คนกทม.เป็นที่ตั้ง ที่แยกลำสาลี เขตบางกะปิ-นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ โดยมีตัวแทนส.ก.ในพื้นที่ เขตบางกะปิ เขตคันนายาว และเขตสะพานสูง ซึ่งทั้ง3 เขตนี้ เป็นส.ก.ที่มาจากพรรคเพื่อไทย บริเวณแยกลำสาลี เป็นถนนสี่แยกจุดตัดถนนศรีนครินทร์ กับถนนรามคำแหง ในพื้นที่เขตบางกะปิ โดยแยกลำสาลีเป็นทางแยกถือว่าที่มีการจราจรติดขัดและคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ   นายชัชชาติ ระบุว่า วันนี้ลงพื้นที่ดูหน้างานจริง จุดนี้ มีการก่อสร้างสำคัญ3 จุด คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีเหลือง และสร้างสะพานข้ามแยกจากลาดพร้าวไปสุขาภิบาล1 ที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหา เรื่องการคืนพื้นผิว ทำให้จราจรติดขัด   ส่วนที่กทม.ดูแลคือสะพานข้ามแยก ที่มีสองสัญญา คือสัญญาส่วนต้นลาดพร้าวถึงกึ่งกลางสะพานทำโดยรฟม. จากกึ่งกลางสะพานไปทางนิด้า ถ. สุขาภิบาล1 ทำโดยกทม.โดยสัญญาส่วนนี้ทำไปแล้วประมาณ 65% ซึ่งตามสัญญาควรจะเปิดใช้งานได้ มกราคม ปี66 แต่จนถึงวันนี้ยังดำเนินการเป็นไปได้ช้า    ส่วนอีกหลายปัญหา ที่อยู่นอกเหนืออำนาจผู้ว่าฯ ที่มีร้องเรียนมาในจุดนี้ เช่น สายสื่อสารระโยงระยาง ตนรับจะไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยว […]

ก.คมนาคม แจง 4 ข้อค้านขยายสัมปทานสายสีเขียว

ก.คมนาคมชี้แจงปัญหาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว พร้อมโชว์ตัวเลขที่เป็นผลการศึกษาของ กทม. เอง ชี้ชัดว่าหลังหมดสัมปทาน หากภาครัฐเป็นผู้บริหารการเดินรถเอง จะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งเรื่องการมีกระแสเงินสดเหลือ ที่มากกว่า และการกำหนดราคาค่าโดยสารที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ค้านปรับราคารถไฟฟ้าสีเขียว

กรุงเทพฯ 8 ก.พ. – มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงนายกฯ คัดค้านการขึ้นราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นสูงสุด 104 บาท โดยขอให้ชะลอปรับราคาก่อน 16 ก.พ.นี้ และเปิดสัญญาสัมปทานสายสีเขียวต่อสาธารณะ รวมทั้งทบทวน สัมปทานรถไฟฟ้าทุกเส้น โดยหวังว่านายกรัฐมนตรี จะสั่งชะลอปรับราคาในประชุม ครม.พรุ่งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 กรุงเทพมหานคร และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอส ประกาศว่าจะปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) เป็นสูงสุดไม่เกิน 104 บาท (ชั่วคราว) ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป นั้น ในวันนี้ (8 ก.พ.) แกนนำมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คัดค้านการปรับราคาดังกล่าว […]

แยกๆ ปัญหาขัดแย้งสายสีเขียว ทีดีอาร์ไอ.ชี้ทางออกแล้ว

ปัญหาขัดแย้งรถไฟฟ้าสายสีเขียว คมนาคมงัด กทม. ประเด็นค่าโดยสาร แสนแพงสูงสุด 104 บาท – ต่อสัมปทาน 30 ปี ล่าสุดทีดีอาร์ไอชี้ทางออก ย้ำผู้มีอำนาจตัดสินใจต้องรีบทำ กางโครงข่ายรถไฟฟ้าเอามาคิดราคาแบบโครงข่ายทั้งหมด ชี้ปล่อยไปแบบนี้มีปัญหารออีกเพียบ

“อรรถวิชช์” ติงบีทีเอสสีเขียว 104 บาทแพงเกิน

“อรรถวิชช์” ขอ “บีทีเอส” อย่าเขี้ยว ประชาชนจ่ายค่าตั๋วสุดสาย 104 บาทไม่ไหว ฝากรัฐจำให้แม่น ไว้ต่อรองตอนประมูลสายสีส้ม

1 2
...