fbpx

โครงการปลาแลกข้าวสายพานเศรษฐกิจชุมชนฝ่าวิกฤติโควิด

ภูเก็ต 20 เม.ย.- จังหวัดภูเก็ตและพังงาขอบคุณกองทัพอากาศช่วยอำนวยความสะดวกชาวเลและชาวนาฝ่าวิกฤติโควิด-19 ในโครงการ “ขนข้าวชาวนา แลกปลาชาวเล” เปรียบโครงการเสมือนสายพานเศรษฐกิจชุมชนให้อยู่รอดได้ นำทรัพยากรที่มีมาแลกกัน





เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (20 เม.ย.) เครื่องบิน C-130 กองทัพอากาศ เดินทางถึงท่าอากาศยานภูเก็ตเรียบร้อยแล้ว พร้อมสิ่งของที่ลำเลียงมาเป็นข้าวสารจากชาวนาในพื้นที่จังหวัดยโสธรและเครือข่ายชาวนาภาคอีสาน จำนวน 9,000 กิโลกรัม เพื่อแลกเปลี่ยนกับปลาตากแห้งของชุมชนชาวเลราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต และเครือข่ายชาวเลอันดามัน จ.พังงา ในโครงการ “ขนข้าวชาวนา แลกปลาชาวเล” ฝ่าวิกฤติโควิด-19  โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนข้าวหอมมะลิ 4 กิโลกรัม ต่อปลาตากแห้ง ปลาเค็ม ปลาหวาน 1 กิโลกรัม นอกจากข้าวสารที่นำมาแลกเปลี่ยนแล้วยังมีพริกแห้งจัดส่งมาให้เพิ่มเติมจากชาวนาภาคอีสาน ขณะที่เครือข่ายชาวเลอันดามันได้นำสับปะรดภูงา จ.พังงา มอบเพิ่มเติมแก่ชาวนาภาคอีสานด้วยเช่นกัน โดยมีพลอากาศโทตรีพล อ่องไพฑูรย์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ และนาวาอากาศเอกวัชรพล นวลเป็นใย ผู้บังคับการกองบิน 21 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมเป็นประธานในพิธีแลกเปลี่ยนข้าวสารกับปลาตากแห้ง รวมถึงพริกแห้งและสับปะรดอีกจำนวนหนึ่ง 


ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในนามหัวหน้ายุทธศาสตร์ภาคใต้ฝั่งอันดามัน กล่าวว่า โครงการ “ขนข้าวชาวนา แลกปลาชาวเล” ฝ่าวิกฤตโควิด-19 เกิดขึ้นจากชุมชาวเลราไวย์ ซึ่งมีประชากรราว 1,400 คน ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่จังหวัดมีมาตรการปิดเมืองปิดตำบล ชาวเลที่มีรายได้หลักจากการหาปลาก็ไม่สามารถขายปลาที่หามาได้ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว และเดินทางข้ามไปขายตลาดตำบลอื่นไม่ได้ ชาวเลที่มีรายได้จากการรับจ้างขับเรือสปีดโบ๊ท ต้องตกงานและไม่มีช่องทางหารายได้ นอกจากขอร่วมออกเรือประมงเพื่อที่จะได้ส่วนแบ่งมาเลี้ยงครอบครัว อาหารที่เทศบาลและภาคเอกชนนำมาแจกไม่เพียงพอ โครงการนี้จึงเกิดขึ้น วันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนกับข้าวของทั้งยโสธรและเครือข่ายภาคอีสาน ต่อไปก็จะเป็นภาคเหนือ โครงการนี้ถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น จุดประกายให้กับประชาชน

“แม้ชุมชนราไวย์ยังออกเรือหาปลาได้ แต่พวกเขาก็ขาดพื้นที่ทางการค้า มูลนิธิชุมชนไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้เห็นปัญหาร่วมกันของชาวเลราไวย์ จึงได้หารือร่วมกับผู้นำชุมชนชาวเล ทำให้เกิดโครงการดี ๆ ขึ้น โดยชาวเลหลายพื้นที่ได้รวมกลุ่มกันในนามเครือข่ายชาวเลอันดามัน ระดมจัดทำปลาแห้งประมาณ 1,000 กิโลกรัม เน้นปลาพันธุ์ดี เช่น ปลาทูแดง ปลาทูแขก ปลาข้างเหลือง เพื่อนำไปทำเป็นปลาเค็มตากแห้ง ถนอมอาหารสามารถเก็บไว้กินได้นาน และจังหวัดยโสธรเครือข่ายชาวนาภาคอีสาน สมาคมชาวยโสธร ได้เห็นความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเลในพื้นที่ต่างๆ จึงได้ประสานงานกัน ด้วยการส่งมอบข้าวสาร จำนวน 9 ตัน หรือ 9,000 กิโลกรัม เป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อน และถือว่าเป็นการตั้งใจให้เป็นสายพานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อีกครั้ง ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจกระแสหลัก แต่เป็นเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรมด้วยการนำทรัพยากรที่มีมาแลกกัน เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทำให้อยู่รอดในภาวะวิกฤติ สังคมเองก็จะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้”

ด้านนายโชตินรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาได้บูรณาการการช่วยเหลือประมงพื้นบ้าน โดยนำปลาเป็นปลาทะเลตากแห้งจำนวน  500 กิโลกรัมเพื่อมาแลกกับข้าวสาร วันนี้ทางกองทัพได้อนุเคราะห์ในการช่วยกระจายสินค้าของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ เป็นสับปะรดอร่อยหวานกรอบจำนวน 3,200 กิโลกรัม เพื่อนำไปที่ จ.อุบลราชธานี 2,700 กิโลกรัม และนำไปลงที่ดอนเมืองอีก 500 กิโลกรัม พี่น้องเกษตรกรดีใจที่มีโครงการในวันนี้ ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เข้ามาบูรณาการร่วมกัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้