กสศ.- สพฐ. หนุน 850 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพลดเหลื่อมล้ำในวิกฤติโควิด-19

กรุงเทพฯ 20 เม.ย..-กสศ.- สพฐ. และ เครือข่ายด้านการศึกษา เตรียมหนุน 850 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพนำร่อง ช่วยครูปรับรูปแบบการสอนให้เด็กเรียนรู้ได้เต็มที่ มุ่งลดเหลื่อมล้ำแม้ในวิกฤติโควิด-19 


ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ PISA 2018 ที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำด้านความรู้ระหว่างนักเรียนในเมืองกับนักเรียนในชนบทที่ต่างกันถึง 2 ปีการศึกษาจากคุณภาพของโรงเรียนที่ไม่เท่ากัน มีความแตกต่างทั้งด้านงบประมาณและทรัพยากร เมื่อมาเจอสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ทำให้นักเรียนยังไปโรงเรียนไม่ได้และมีแนวโน้มต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนใหม่แบบออนไลน์  โรงเรียนในชนบทห่างไกลย่อมได้รับผลกระทบนี้อย่างแน่นอน   กสศ. ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ 5 เครือข่ายด้านการศึกษา ได้แก่ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา  มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินหน้าโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (Teacher School Quality Program : TSQP) เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพได้ด้วยตนเอง เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้ เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนตามความถนัดและศักยภาพของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพชั้นเรียนให้เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถพัฒนาให้เกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยปีการศึกษา 2562 มีโรงเรียนขนาดกลางร่วมโครงการ 290 แห่ง ใน 35 จังหวัด และกำลังขยายรุ่นที่ 2 อีก 560 โรงเรียนในปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 850 โรงเรียน ทั่วประเทศ  

เป้าหมายคือให้ 850 โรงเรียน เหล่านี้หรือประมาณร้อยละ 10 ของโรงเรียนขนาดกลาง ให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่  โดยคำนึงถึงบริบทของแต่ละโรงเรียนในสถานการณ์ของโควิด-19 ด้วย เช่น สามารถปรับวิธีการเรียนรู้เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการช่วยเหลือครูและนักเรียนได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในขณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและครูเสนอแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้นักเรียนไม่หยุดการเรียนรู้แม้ในสภาวะที่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้  รวมถึงการดูแลสุขอนามัยทั้งนักเรียนและผู้ปกครองให้ผ่านพ้นวิกฤติช่วงนี้ไปให้ได้อีกด้วย  ส่วนครู อาจจะต้องมีการเพิ่มทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านการออกแบบแผนการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล  และช่วยให้นักเรียนด้อยโอกาสได้รับการดูแลและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้วย 


 

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หนึ่งในเครือข่ายร่วมพัฒนาโรงเรียน TSQP กสศ.  กล่าวว่า ในสถานการณ์ COVID-19 ในมิติของการจัดการเรียนรู้ที่ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ใน virtual classroom ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงมากนัก ส่วนใหญ่มุ่งประเด็นไปที่เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ยังมิใช่หัวใจสำคัญของการศึกษา

การจัดการเรียนออนไลน์แบบ Active Learning ให้เป็น ห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้นั้น องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ครูทำงานง่ายขึ้น ควรเริ่มจาก การศึกษาธรรมชาติผู้เรียน สภาพแวดล้อม และบริบทต่างๆ ที่พวกเขาโตมา และสถานการณ์ของโลกที่เด็กต้องเจอ จะช่วยให้ครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ง่ายและตรงโจทย์ความต้องการมากขึ้น วิชาที่สอนอาจไม่ใช่วิชาสามัญแต่เป็น “Life Project” ที่มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง ให้เด็กๆลงมือทำเกิดการเรียนรู้เองได้จริง เป็นการควบรวมวิชาแบบบูรณาการ มีทั้ง สัมมนา วิชาค้นคว้าอิสระ  และวิชาการสร้างสรรค์  ซึ่งกระบวนการเรียนรู้และมอบหมายงานจะไม่ได้มีนักเรียนแค่ 1 คนอีกต่อไป แต่จะนับรวมพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วย นั่นหมายความว่าครอบครัวของนักเรียนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะเป็นตัวกลางระหว่างคุณครูและนักเรียน รับรู้ว่าบุตร หลานกำลังเรียนอะไร ทำอะไรอยู่ 


ส่วนการสร้าง Active Learning บนโลกออนไลน์ ประกอบด้วย  การเปิดเวทีให้เด็ก แชร์เรื่องราวตัวเอง /เรียนในออนไลน์ แล้วไปต่อในชีวิตจริง /ติดตามผลงานไปพร้อมกัน และ  รีวิวบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อก้าวต่อไป  ซึ่งครูจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยให้ห้องเรียนออนไลน์เกิดความ Active Learning ได้อย่างต่อเนื่องและเกิดเป็นห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ และครูจะต้องปรับตัวเองจากการเป็นนักบรรยาย มาเป็นนักออกแบบสื่อประสมที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา

อย่างไรก็ตามมากกว่า 50% ของนักเรียนในไทยมีภาวะยากลำบากในการเรียนรู้ออนไลน์ ขาดแคลนอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน จึงจำเป็นต้องพิจารณาการเรียนรู้ทางไกล  เช่น รายการโทรทัศน์ทางการเรียนรู้ที่เป็น Multimedia จริงๆ ไม่ใช่แค่การบรรยาย หรือถ้าเป็นกรณีที่ห่างไกลไม่มีสัญญาณโทรทัศน์หรือไฟฟ้า ก็ต้องใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง  ที่เป็น Paper-based ตามแนวทางการจัดการศึกษาแบบ Self-Directed Learning ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ผ่านชุดเครื่องมือดังกล่าวสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองโดยมีครูเป็นผู้แนะนำอยู่ห่างๆ ผ่านทางไปรษณีย์ หรือผ่านศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่เป็นตัวประสาน.-สำนักข่าวไทย                

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง