สศช.ตั้ง 5 ทีมเอกชนร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19

กรุงเทพฯ 13 เม.ย. – สภาพัฒน์เรียกประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศบค.พร้อมแบ่ง 5 กลุ่มสรุปแนวทางเยียวยาภาคธุรกิจที่ต้องการเสนอภาครัฐ โดยจะเร่งสรุปภายในสัปดาห์หน้าก่อนเสนอ ครม. เร็วที่สุด


นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า ที่ประชุมได้หารือเสนอข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนในหลายเรื่อง ดังนั้นทาง สภาพัฒน์จึงขอให้คณะที่ปรึกษาฯ ที่เกี่ยวข้องจัดทําข้อเสนอประเด็นเฉพาะด้าน เพื่อเสนอที่ประชุมพิจารณาหารือในรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไปสัปดาห์หน้า โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม และเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุดต่อไป

การแบ่งกลุ่มที่ปรึกษา 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สํานักงานเศรษฐกิจอุตสหากรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย  นำโดยนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย 2. กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่จัดทำโดยหอการค้าไทย นำโดยนายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  3.กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สมาพันธเอสเอ็มอีไทย สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย นำโดยนายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ 4.กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวง พาณิชย นำโดยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ และ5.กลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ประกอบด้วยนายศุภชัย เจียรวนนท ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะได้พิจารณาคู่ขนานกันไป เพื่อประกอบการพิจารณาในครั้งต่อไป 


นอกจากนี้ ระยะต่อไป สศช. จะได้ดําเนินการประมวลความต้องการจากทุกภาคส่วน รวมถึงการเปิดพื้นที่สาธารณะในการรับฟังความคิดเห็นผ่าน Facebook  “ร่วมด้วยช่วยคิด” ซึ่งจะได้รวบรวมประมวลและนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยเรื่องใดดำเนินการเสร็จก่อนก็จะนำเสนอก่อน

สำหรับข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการขอให้รัฐปรับลดค่าไฟฟ้า 5%  ทั่วประเทศและลดค่า ft ตามราคาน้ำมัน ขอให้เอกชนสามารถนําค่าใช้จ่ายสําหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า  ขอให้รัฐออกคําสั่งปิดกิจการโรงแรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม ขอให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีภาษี 2562-2563 กรณี SMEs เหลือไม่เกิน 10% และกรณีผู้ประกอบการอื่น เหลือไม่เกิน 20%  ขอรัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน และซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ  ผ่อนปรบการเข้าถึงสินเชื่อสําหรับผู้ประกอบการ  

นอกจากนี้ ยังขอให้มีการอนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ ค่าจ้างชม.ละ 40-41 บาท จ้าง 4-8 ชม/วัน  ขอลดเงินสมทบ ประกันสังคมของนายจ้างจากเดิม 4% เหลือ 1%  ขอให้รัฐช่วยเหลือแรงงานในระบบประกันสังคมจำนวนประมาณ 10 ล้านคนจากจำนวนรวม 18 ล้านคน โดยเฉพาะลูกจ้างที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท โดยภาครัฐช่วยจ่ายค่าจ้างให้ 50% และบริษัทจ่ายอีก 25% ของค่าจ้าง นอกจากนี้ ขอให้สามารถนำผลขาดทุนมาหักลดหย่อนภาษีจากเดิมทำได้ 5 ปี เพิ่มเป็นทำได้ในช่วง 7 ปีภาษี   ขอให้บริษัทสามารถนําค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงาน ในช่วง COVID-19 มาหักภาษีได้ 3 เท่า  ขอให้มีการผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิวสําหรับผู้ประกอบการขนส่ง สินค้าในเวลากลางคืน  การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองให้มีมาตรฐานเดียวกัน   


นอกจากนี้ ยังเสนอถึงปัญหาการเข้าถึงวงเงินสินเชื่อผ่อนปรนที่มีเงื่อนไขค่อนข้างรัดกุมทําให้ภาคเอกชนไม่สามารถเข้าถึงได้ การกําหนดหลักเกณฑ์การค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงให้กับสถาบันการเงิน  การช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถจ้างแรงงานโดยใช้ประโยชนจากกองทุนประกันสังคม และการกําหนดมาตรการช่วยเหลือ SMEs ที่ครอบคลุมทั้งระยะเร่งด่วน และระยะฟื้นฟู รวมถึงการปรับโครงสร้างภาคเกษตรไปสู่ การทําเกษตรที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประเด็นต่างๆ จะได้มีการหารือในรายละเอียดในครั้งต่อไป 

สำหรับคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ ภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบด้วยผู้แทนภาคเอกชน ได้แก่  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ เพื่อทําหน้าที่ให้คําปรึกษา ข้อเสนอแนะ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาของภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้เป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพ . – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้