“เราไม่ทิ้งกัน “ ยกเลิกลงทะเบียนพุ่งกว่า 610,000 คน

กรุงเทพฯ 11 เม.ย.- ชาญกฤช
เผยยอดขอยกเลิกลงทะเบียนเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com พุ่งกว่า 610,000 คน
เหตุคลังเอาจริงโพสต์ข้อมูลเท็จโพสต์ป่วน มีโทษหนัก


นายชาญกฤช เดชวิทักษ์
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) กล่าวว่า
ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังปรับแก้ไขระบบเว็บไซต์ 
www.เราไม่ทิ้งกัน.com
เพิ่มปุ่มยกเลิกลงทะเบียน
เพื่อให้โอกาสกับประชาชนที่อาจจะไม่ได้ตั้งใจกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จให้สามารถไปยกเลิกการลงทะเบียนได้
โดยปุ่มยกเลิกลงทะเบียนเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่
4
เม.ย. จนถึงขณะนี้วันที่
11 เม.ย. รวมเวลา 8
วัน
มียอดผู้ขอลงทะเบียนยกเลิกเข้าร่วมมาตรการรับเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-
19
แล้ว จำนวนกว่า
610,000 คน หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยมีประชาชนเข้าใช้บริการปุ่มยกเลิกกว่า
76,000 คนต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างสูง
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกระทรวงการคลังได้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
โดยสั่งการทีมกฎหมายของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
และล่าสุดเมื่อวันที่
10 เม.ย.
ทางกระทรวงการคลังได้ยื่นเอกสารหลักฐานประสานความร่วมมือไปยังศูนย์ปราบปรามอาชญกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินการเอาผิดกับผู้โพสต์ข้อความลงสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการเงินเยียวยาโควิด-
19
จำนวน
5,000 บาท ทั้งหมด 5
ราย ซึ่งยิ่งทำให้ตัวเลขขอยกเลิกการลงทะเบียนพุ่งสูงถึง
5,000
ราย ภายในเวลาเพียง
2 ชั่วโมง ตั้งแต่ 20.00-22.00 น.ของวานนี้ 


นอกจากนี้
กระทรวงการคลังได้ตั้งทีมกฎหมายเพื่อติดตามการเผยแพร่ข้อมูลของบุคลลต่างๆ ในโลกออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการแจกเงิน
5,000 บาทในทางที่ไม่สมควร โดยแบ่งเป็น 2
กรณี คือ กรณีที่
1 คนที่ได้รับเงิน 5,000
บาทจริง และมีการไปโพสต์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ว่า ได้เงินมาอย่างที่ไม่ควรได้
ซึ่งทางกระทรวงการคลังจะทำการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ หากพบว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติจริงก็จะทำการระงับการจ่ายเงินในเดือนต่อไป
และให้ส่งเงินที่ได้รับ
5,000 แรกคืนให้กับรัฐบาล
โดยที่รัฐบาลจะไม่ดำเนินคดี ส่วนกรณีที่
2
ผู้โพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ว่าได้รับเงิน
5,000
บาท แต่ไม่ได้รับจริง ถือเป็นการสร้างความปั่นป่วนกับสังคม
กระทรวงการคลังจะดำเนินคดีทางกฎหมายเอาผิดต่อไป
การนำเข้าข้อมูลเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป


โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
(ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) ได้อ้างอิงข้อมูลทางกฎหมายที่ประชาชนควรรู้ จากเพจ
ทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ระบุ
การตั้งใจกรอกข้อมูลหลอกลวงรัฐเพื่อหวัง ลงทะเบียนรับเงิน
5,000 บาทจากรัฐบาล
เข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกง มาตรา
341 มีโทษขั้นสูงจำคุก
3 ปี หรือปรับ 60,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา
137 มีโทษขั้นสูงจำคุก
6 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่โพสต์หมิ่นรัฐบาล มีความผิดตามมาตรา
136 มีโทษขั้นสูงจำคุก
1 ปี หรือปรับ 20,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นผู้ที่จะโพสต์ข้อความเกี่ยวกับเงินเยียวยา
5,000
บาทบนโลกออนไลน์ควรตระหนักผลที่จะตามมาด้วย.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ